GISTDA ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการอาเซียนว่าด้วยเทคโนโลยีอวกาศและการประยุกต์ใช้ หรือ ASEAN Sub-Committee on Space Technology and Applications: SCOSA จัดการประชุมคณะอนุกรรมการฯ ประจำปี สมัยที่ 31 ผ่านช่องทางออนไลน์ โดยมีผู้เเทนจากหน่วยงานด้านอวกาศของประเทศสมาชิกอาเซียนจำนวน 9 ประเทศ เข้าร่วมประชุมฯ
ทั้งนี้ มีการหารือการดำเนินกิจกรรมภายใต้ SCOSA และการต่อสถานะของโครงการต่างๆ ทั้งที่อยู่ระหว่างการดำเนินงาน รวมถึงแผนกิจกรรม/โครงการ ความร่วมมือสำคัญระดับภูมิภาคที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เช่น โครงการเศรษฐกิจสีน้ำเงิน (Blue Economy): การพัฒนาเศรษฐกิจฐานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอย่างยั่งยืน โครงการด้านการใช้เทคโนโลยีอวกาศในการเฝ้าระวังและติดตามปัญหามลพิษ/คุณภาพอากาศ และโครงการเฝ้าระวังสภาวะอวกาศ/การบริหารจัดการการจราจรทางอวกาศ (space situation awareness/space traffic management) เป็นต้น
โครงการเหล่านี้เป็นโครงการระดับภูมิภาคที่ประเทศไทย โดย GISTDA ได้เข้าไปมีบทบาทเป็นผู้นำในการขับเคลื่อน โดยใช้ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมอาเซียนด้านเทคโนโลยีอวกาศและการประยุกต์ใช้ หรือ ARTSA ของ GISTDA เป็นกลไกสำคัญในการผลักดันความร่วมมือให้เกิดผลสัมฤทธิ์ ต่อไป โดยเฉพาะการพัฒนากำลังคน การพัฒนางานวิจัย และการศึกษา เป็นต้น
อนึ่ง นอกจากประเทศสมาชิกอาเซียนที่ได้เข้าร่วมการประชุมฯ แล้ว ยังมีผู้แทนจากองค์การอวกาศแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา หรือ NASA เข้าร่วมนำเสนอโครงการประเมินสภาพสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยใช้เทคโนโลยีอวกาศ ให้ที่ประชุมฯ พิจารณาด้วย ซึ่งแสดงให้เห็นถึงภูมิรัฐศาสตร์ (Geo-politics) ที่สำคัญของความร่วมมือด้านอวกาศของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกด้วย
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.