กระทรวง อว.

search

navmobiletoggle
  • About us
    • History
    • Vision Mission
    • Policy / Strategy
    • เครื่องหมายราชการ และ ตราสัญลักษณ์กระทรวง
    • Mission Structure
    • Executive
    • Government Division
    • Government Weblink
    • Legal
    • CIO
  • Flagship Project
  • Scholarships
    • ทุนกระทรวงทั้งหมด
    • ทุนพัฒนาอาจารย์
    • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
    • ทุนวิจัย
  • Service
    • บริการทั้งหมด
    • สถาบันอุดมศึกษา
    • นิสิต/นักศึกษา
    • อาจารย์
    • นักวิทยาศาสตร์/นักวิจัย
    • ผู้ประกอบการ
    • ภาครัฐ
  • News
    • ประมวลภาพกิจกรรม "น้อมรำลึก ในหลวง ร.9"
    • ภาพข่าวและกิจกรรม
      • ข่าวรัฐมนตรี
      • ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
      • ข่าวสารหน่วยงาน
    • ข่าวสารและประกาศ
      • ข่าวประกาศ
      • ประกาศงานบุคลากร
      • ข่าวประชุม อบรม สัมนา
      • ข่าวสารน่าสนใจ [พรบ.ข่าวสาร]
  • Data Repository
    • เอกสารเผยแพร่กระทรวง
    • เอกสารเผยแพร่จากภายนอก
    • e-Book เพราะเธอเป็นลมหายใจ
    • e-Book S&T Series
    • Infographic
    • วีดิทัศน์
    • Mobile Application
  • ศูนย์บริการร่วม
--
+
A
กระทรวง อว.
  • About us
    • History
    • Vision Mission
    • Policy / Strategy
    • เครื่องหมายราชการ และ ตราสัญลักษณ์กระทรวง
    • Mission Structure
    • Executive
    • Government Division
    • Government Weblink
    • Legal
    • CIO
  • Flagship Project
  • Scholarships
    • ทุนกระทรวงทั้งหมด
    • ทุนพัฒนาอาจารย์
    • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
    • ทุนวิจัย
  • Service
    • บริการทั้งหมด
    • สถาบันอุดมศึกษา
    • นิสิต/นักศึกษา
    • อาจารย์
    • นักวิทยาศาสตร์/นักวิจัย
    • ผู้ประกอบการ
    • ภาครัฐ
  • News
    • ประมวลภาพกิจกรรม "น้อมรำลึก ในหลวง ร.9"
    • ภาพข่าวและกิจกรรม
      • ข่าวรัฐมนตรี
      • ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
      • ข่าวสารหน่วยงาน
    • ข่าวสารและประกาศ
      • ข่าวประกาศ
      • ประกาศงานบุคลากร
      • ข่าวประชุม อบรม สัมนา
      • ข่าวสารน่าสนใจ [พรบ.ข่าวสาร]
  • Data Repository
    • เอกสารเผยแพร่กระทรวง
    • เอกสารเผยแพร่จากภายนอก
    • e-Book เพราะเธอเป็นลมหายใจ
    • e-Book S&T Series
    • Infographic
    • วีดิทัศน์
    • Mobile Application
  • ศูนย์บริการร่วม

extenmenu

เมนู
  • Thai University Consortium
  • ห้องสมุด อว.
  • Search
  • คำถามที่พบบ่อย
  • แบบฟอร์มร้องเรียน
  • Contact
  • Sitemap
  • สถิติการเข้าชมเว็บไซต์
  • เข้าสู่ระบบ/ออกจากระบบ
Rectangle 150
  • Home
  • ภาพข่าวและกิจกรรม
  • ข่าวรัฐมนตรี

สอวช. เคาะแผนด้านการอุดมศึกษา และแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ปี 66-70 เสนอเพิ่มความท้าทายช่วยขยับไทยก้าวสู่ประเทศพัฒนาแล้วในปี 2570

  • Facebook
  • Twitter
  • Line
16 Sep 2021

LINE ALBUM ประชุมสภานโยบาย 210916 28

           (15 กันยายน 2564)  สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สนอว.) จัดการประชุม ครั้งที่ 3/2564 ผ่านระบบการประชุมออนไลน์ ตามมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยมีรองนายกรัฐมนตรี (ดร.วิษณุ เครืองาม) เป็นประธาน และมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) (ศาสตราจารย์พิเศษ ดร. เอนก เหล่าธรรมทัศน์) เป็นรองประธาน พร้อมด้วยรัฐมนตรี ผู้บริหารจากกระทรวงฯ หน่วยงานต่างๆ และผู้ทรงคุณวุฒิ เข้าร่วม

          ดร.วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงระเบียบวาระแห่งชาติการพัฒนาเศรษฐกิจ Bio-Circular-Green Economy (BCG) ว่า รัฐบาลให้ความสำคัญกับระเบียบวาระแห่งชาติ บีซีจี โมเดล เป็นอย่างมาก และยังยกให้เป็นหัวข้อในการประชุม APEC ที่ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพในปีหน้า ซึ่งกระทรวง อว. เป็นหน่วยงานหลักที่ดูแลเรื่องนี้ โดยมีความก้าวหน้าในการดำเนินงานตามลำดับ ทั้งการพัฒนาประเทศสู่ Carbon Neutrality ตามโมเดลเศรษฐกิจบีซีจี  การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนด้วยโมเดลเศรษฐกิจบีซีจี รวมถึงการสื่อสารให้เกิดการรับรู้เกี่ยวกับโมเดลเศรษฐกิจบีซีจี  

           นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้หารือถึงการแยกหน่วยบริหารและจัดการทุนเฉพาะด้านออกจากสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ซึ่งที่ประชุมเห็นว่าจะเป็นคานงัดสำคัญที่จะช่วยเพิ่มการลงทุนวิจัยและนวัตกรรมจากภาคเอกชน รวมไปถึงการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชนเพื่อกระตุ้นให้เกิดการลงทุนวิจัยและนวัตกรรมในภาคเอกชนสูงขึ้น โดยหลังจากที่ที่ประชุมเห็นชอบต่อข้อเสนอการแยกหน่วยบริหารและจัดการทุนเฉพาะด้าน เพื่อเปลี่ยนสถานะ เป็นองค์การมหาชน แล้วนั้น ได้มอบหมายให้ สอวช. ดำเนินงานแบบคู่ขนานเพื่อเตรียมความพร้อมในการตั้งองค์การมหาชน และให้รายงานที่ประชุมสภานโยบายทราบความก้าวหน้าเป็นระยะ

LINE ALBUM ประชุมสภานโยบาย 210916 26  LINE ALBUM ประชุมสภานโยบาย 210916 4

           สำหรับความก้าวหน้าระเบียบวาระแห่งชาติการพัฒนาเศรษฐกิจ Bio-Circular-Green Economy (BCG) ที่ประชุมได้มีการรายงานความก้าวหน้าระเบียบวาระแห่งชาติการพัฒนาเศรษฐกิจ Bio-Circular-Green Economy (BCG) ซึ่ง อว. โดย สํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ในฐานะเลขานุการของคณะกรรมการบริหารฯ ได้จัดทําร่างแผนปฏิบัติการด้านการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทยด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG พ.ศ. 2564 - 2570 เพื่อใช้เป็นกรอบการทํางานสําหรับหน่วยงานต่างๆ ในการร่วมขับเคลื่อนวาระแห่งชาตินี้ ให้เกิดผลเป็นรูปธรรมโดยเร็วและยั่งยืนและได้นําเสนอร่างแผนปฏิบัติการด้านการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทยด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG พ.ศ. 2564 - 2570 ต่อสํานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พิจารณาให้ความเห็นก่อนนําเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป นอกจากนี้ ยังมีการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG โดยหน่วยงานต่าง ๆ  และคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจ BCG Model รายสาขา ได้แก่ 1. การพัฒนาประเทศสู่ Carbon Neutrality ตามโมเดลเศรษฐกิจ BCG โดยเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2564 ได้มีการหารือแนวทางการขับเคลื่อนเพื่อบรรลุเป้าหมาย Carbon Neutrality โดยมีนายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานการประชุม ซึ่งมีการมอบหมายกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(ทส.) หารือร่วมกับกระทรวงพลังงานเพื่อกําหนดเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากร้อยละ 20 จากกรณีปกติภายในปี 2573 ให้ท้าทายมากยิ่งขึ้น รวมถึงให้องค์การบริหารก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) (อบก) การไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ) ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สํานักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศยุทธศาสตร์ชาติและการสร้างความสามัคคีปรองดอง (ปยป.) หารือเพื่อกําหนดหลักเกณฑ์การซื้อขายคาร์บอนในประเทศและมาตรการสนับสนุนผู้ประกอบการไทยและนักลงทุนต่างประเทศ 2. การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG อว.โดย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ของ สวทช. และ ทส. โดย กรมทรัพยากรธรณี (ทธ.) ได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “การสร้างเครือข่ายการวิจัยและพัฒนาเพื่อขับเคลื่อนการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการสนับสนุนหน่วยงานในยุคดิจิทัลและ BCG Model” ด้วยการใช้ Big DATA จัดการท่องเที่ยวอุทยานธรณีหนุนเศรษฐกิจฐานรากให้ยั่งยืน นอกจากนี้ สํานักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ร่วมกับ สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอจัดโครงการส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการใหม่ และยกระดับศักยภาพของผู้ประกอบการ SMEs พื้นที่ 10 จังหวัดในภาคเหนือ ในกลุ่มเสื้อผ้าและสิ่งทอ พร้อมจัดแสดงนิทรรศการและส่งเสริมการออกตลาดจําหน่ายผลิตภัณฑ์ ภายใต้ชื่อ“ไทยช้อป SMEs ไทย 2021” BCG Connext เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงวิกฤตโควิด-19 สําหรับผลิตภัณฑ์ที่ผลิตภายใต้โมเดลเศรษฐกิจ BCG 3. การสื่อสารให้เกิดการรับรู้เกี่ยวกับโมเดลเศรษฐกิจ BCG โดย อว. และหน่วยงานพันธมิตรต่างๆ ได้ร่วมกันประชาสัมพันธ์เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนแบบ Social Movement อาทิ www.facebook. com/BCGinThailand และ https://twitter.com/ BCGinThailand เพื่อนําเสนอความเคลื่อนไหวที่เกี่ยวข้องกับ BCG ของประเทศไทย รายการ “โฆษก อว” ของกระทรวง อว. รายการโทรทัศน์ The next คลื่นอนาคต รายการ  Spokesman ของกระทรวงการต่างประเทศ รวมถึงวารสารภาษาอังกฤษ โดย บีโอไอ เป็นต้น

LINE ALBUM ประชุมสภานโยบาย 210916 0  LINE ALBUM ประชุมสภานโยบาย 210916 2

 

แผนด้านการอุดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากําลังคนของประเทศ พ.ศ. 2564 - 2570 ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2566 – 2570และแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ พ.ศ. 2566 – 2570

ศาสตราจารย์พิเศษ ดร. เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง อว. เปิดเผยว่า ที่ประชุมให้ความเห็นชอบในหลักการของแผนด้านการอุดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากําลังคนของประเทศ พ.ศ. 2564 - 2570 ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2566 – 2570 และแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ พ.ศ. 2566 – 2570 ซึ่งมีความสอดคล้องและเชื่อมโยงกัน และให้เพิ่มเติมข้อเสนอแนะของที่ประชุมเพื่อให้แผนมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ทั้งในส่วนแผนการผลิตกำลังคนที่ต้องมีความชัดเจนในการผลิตและใช้ประโยชน์ และการตั้งเป้าหมายแผนให้มีความท้าทายมากขึ้น

“การจัดทำแผนทั้งด้านการอุดมศึกษา และแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ต้องมีการจัดทำแผนที่เพิ่มความท้าทาย ตั้งเป้าหมาย มีสิ่งเดิมพันให้ชัดว่า เมื่อสิ้นสุดปี 2570 แผนดังกล่าวจะช่วยขยับให้ประเทศไทยก้าวสู่ประเทศที่พัฒนาแล้ว หรือดีดตัวเองออกจากกับดักประเทศรายได้ปานกลางได้ ซึ่งเมื่อตั้งเป้าหมายเช่นนี้ ทั้งแผนด้านการอุดมศึกษา และแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ก็ต้องเป็นแผนของประเทศที่พัฒนาแล้วด้วยเช่นกัน” ศาสตราจารย์พิเศษ ดร. เอนก กล่าว

 LINE ALBUM ประชุมสภานโยบาย 210916 22    LINE ALBUM ประชุมสภานโยบาย 210916 7

สำหรับแผนด้านการอุดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากําลังคนของประเทศ สํานักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้ทบทวนและปรับปรุงแผนด้านการอุดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากําลังคนของประเทศ พ.ศ. 2564 - 2570 ให้สอดรับกับบริบทสังคมที่สําคัญในช่วงการพัฒนา พ.ศ. 2566 – 2570 และกรอบนโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2566 – 2570 โดยจัดทําคู่ขนานไปกับแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2566 – 2570 เพื่อให้เกิดการบูรณาการภาพแนวคิดระหว่างอุดมศึกษาและวิทยาศาสตร์ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น รวมถึงปรับกลไกงบประมาณทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ให้สามารถใช้ประโยชน์ได้จริงและมีความคล่องตัว โดยสามารถถ่ายทอดไปสู่แผนปฏิบัติราชการ และการจัดทํางบประมาณรายจ่ายประจําปี ทั้งนี้ กระบวนการทบทวนแผนได้ดําเนินการเสร็จสิ้นและจัดทําเป็นแผนด้านการอุดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากําลังคนของประเทศ พ.ศ. 2564 - 2570 ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2566 – 2570 พร้อมทั้งผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการการอุดมศึกษา เมื่อในวันที่ 17 สิงหาคม 2564 โดยได้มีมติเห็นชอบกรอบแผนด้านการอุดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากําลังคนของประเทศ ตามข้อเสนอคณะอนุกรรมการด้านนโยบายและแผน

โดยยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาอุดมศึกษา เป็นการพัฒนาอุดมศึกษาระยะ 5 ปี ประกอบด้วย 3 ยุทธศาสตร์ คือ ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาศักยภาพคน ประกอบด้วย การจัดการศึกษาเพื่อการเรียนรู้ตลอดช่วงชีวิต (Lifelong Learning) การยกระดับคุณภาพการศึกษาและสมรรถนะของกําลังคน และการสร้างเสริมบุคลากร ยุทธศาสตร์ที่ 2 ส่งเสริมระบบนิเวศวิจัยอุดมศึกษา (Research Ecosystem Building) ประกอบด้วย การวิจัย นวัตกรรมและการถ่ายทอดเทคโนโลยี  และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานหรือปัจจัยเอื้อภายในสถาบันอุดมศึกษาที่ส่งเสริมการพัฒนาผู้ประกอบการนวัตกรรม ยุทธศาสตร์ที่ 3 จัดระบบอุดมศึกษาใหม่ (Higher  Education Transformation ประกอบด้วย การบริหารจัดการและธรรมาภิบาล การพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาตามอัตลักษณ์ที่หลากหลาย ความมั่นคงทางการเงินในระบบอุดมศึกษา และการอุดมศึกษาดิจิทัล ทั้งนี้ ได้กำหนดหมุดหมายของการพัฒนาการอุดมศึกษา ระยะ 5 ปี จาก 3 ยุทธศาสตร์ข้างต้น ออกเป็น 2 ช่วง ได้แก่ ช่วงที่ 1 การอุดมศึกษาเป็นปัจจัยสนับสนุนการพลิกโฉมประเทศไทยหลังวิกฤตโควิด-19 โดยตั้งเป้า ด้านกําลังคน องค์ความรู้ และกลไกหลักในระบบอุดมศึกษาจะพัฒนาแบบก้าวกระโดดและยั่งยืนโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ภายในปี พ.ศ. 2566 เกิดความเข้มแข็งทางนิเวศอุดมศึกษาสู่การผลักดันภาคเศรษฐกิจและสังคม ภายในปี พ.ศ. 2567 และเกิดศูนย์กลางความเชี่ยวชาญในระดับนานาชาติ ภายในปี พ.ศ. 2568 สำหรับช่วงที่ 2 การอุดมศึกษาเพื่อความยั่งยืนของไทย โดยตั้งเป้าให้เกิดการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรอุดมศึกษาอย่างเต็มศักยภาพ ภายในปี พ.ศ. 2569 และการอุดมศึกษาและสังคมไทยพัฒนาอย่างยั่งยืน ภายในปี พ.ศ. 2570

  

นอกจากแผนด้านการอุดมศึกษาแล้ว ที่ประชุมยังได้นำเสนอแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ โดยสํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ได้นํากรอบนโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2566 - 2570 มาจัดทํา (ร่าง) แผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ปี พ.ศ. 2566 - 2570 พร้อมกับจัดให้มีกระบวนการมีส่วนร่วมกับหน่วยงานและผู้เกี่ยวข้องในภาคส่วนต่างๆ ตลอดจนการจัดประชุมเพื่อพิจารณา Objective and Key Results (OKRs) ของแผนงานร่วมกับหน่วยบริหารและจัดการทุน ที่เกี่ยวข้องเพื่อนําไปสู่การร่วมขับเคลื่อนแผนไปสู่การปฏิบัติการบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ คือ ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาเศรษฐกิจไทยด้วยเศรษฐกิจสร้างคุณค่าและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ให้มีความสามารถในการแข่งขัน และพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน พร้อมสู่อนาคต โดยใช้วิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม ยุทธศาสตร์ที่ 2 การยกระดับสังคมและสิ่งแวดล้อม ให้มีการพัฒนาอย่างยั่งยืน สามารถแก้ไขปัญหาท้าทายและปรับตัวได้ทันต่อพลวัตการเปลี่ยนแปลงของโลก โดยใช้วิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและนวัตกรรมระดับขั้นแนวหน้าที่ก้าวหน้าล้ํายุค เพื่อสร้างโอกาสใหม่และความพร้อมของประเทศในอนาคต และยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนากําลังคน สถาบันอุดมศึกษา และสถาบันวิจัยให้เป็นฐานการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศแบบก้าวกระโดดและอย่างยั่งยืน โดยใช้วิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม

ซึ่งแผนดังกล่าวมีเป้าประสงค์เพื่อให้คนไทยมีสมรรถนะและทักษะสูง เพียงพอในการพลิกโฉมประเทศให้ยกระดับความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจและการพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน เศรษฐกิจไทยมีความสามารถในการแข่งขันด้วยเศรษฐกิจสร้างคุณค่าและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เพิ่มความมั่นคงของเศรษฐกิจฐานราก และพึ่งพาตนเองได้ ยั่งยืน พร้อมสู่อนาคต ตลอดจนมีเป้าหมายให้สังคมไทย มีการพัฒนาอย่างยั่งยืนสามารถแก้ปัญหาท้าทายของสังคมและสิ่งแวดล้อม ปรับตัวได้ทันต่อพลวัตการเปลี่ยนแปลงของโลก

LINE ALBUM ประชุมสภานโยบาย 210916 23  LINE ALBUM ประชุมสภานโยบาย 210916 14

แนวทางการขับเคลื่อนการดําเนินงานอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค

ศาสตราจารย์ นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวง อว. ในฐานะกรรมการและเลขานุการของ สนอว. เปิดเผยว่า ที่ประชุม สนอว. ยังได้เห็นชอบต่อแนวทางการขับเคลื่อนการดําเนินงานอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค โดยที่ประชุมเห็นร่วมกันว่าอุทยานวิทยาศาสตร์เป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สําคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ ที่จัดตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรี มีหน้าที่ในการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา ตลอดจนบ่มเพาะผู้ประกอบการและเทคโนโลยีใหม่ๆ สู่ระบบเศรษฐกิจ รวมถึงเป็นตัวกลางเชื่อมโยงระหว่างภาคอุตสาหกรรม ภาครัฐ ภาคการศึกษา และภาคชุมชนท้องถิ่น โดยดําเนินการต่อเนื่องมาจนมีการจัดตั้งกระทรวง อว. และออกกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการใน สป.อว. ซึ่งมีผลให้อุทยานวิทยาศาสตร์อยู่ภายใต้การกํากับดูแลของ สป.อว. ทาง สป.อว. จึงได้จัดทําแนวทางการขับเคลื่อนการดําเนินงานอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคกําหนดให้ สป.อว. ทําหน้าที่เป็น Commissioning Body ในภาพรวมของการดําเนินงาน และกําหนด Strategic Position ของอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคให้เป็นกลไกพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมทั้งในระดับพื้นที่ ระดับภาค และระดับประเทศ เป็นกลไกในการเชื่อมโยงธุรกิจทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ กับความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและธุรกิจในมหาวิทยาลัยต่างๆ เข้าด้วยกัน โดยกําหนดบทบาทของอุทยานวิทยาศาสตร์ระดับภูมิภาคให้เป็นกลไกของกระทรวง อว. ในระดับภาคเชื่อมโยงการทํางานร่วมกับโครงการและหน่วยงานอื่นเพื่อตอบโจทย์คลัสเตอร์อุตสาหกรรม และการพัฒนาระดับพื้นที่ภายใต้ความเชี่ยวชาญเฉพาะ และการพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรและยกระดับการให้บริการของอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ทั้งนี้แนวทางการขับเคลื่อนอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคจะเป็นกลไกการทํางานในรูปแบบใหม่รองรับการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมและการจัดตั้งกระทรวง อว. เพื่อกําหนดบทบาทภารกิจและความรับผิดชอบของหน่วยงานใน อว. ให้มีความชัดเจน รวมทั้งเป็นแนวทางในการสร้างศักยภาพให้บุคลากร และยกระดับการให้บริการทั้งองค์ความรู้และการประกอบธุรกิจขนาดเล็กและขนาดใหญ่ในพื้นที่รับผิดชอบ รวมทั้งเป็นแนวทางในการจัดการโครงสร้างพื้นฐานของอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคให้มีมาตรฐานเดียวกันอีกด้วย

โครงการผลิตแพทย์เพิ่มแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2561 - 2570 (ดําเนินการต่อเนื่องในระยะที่ 2 พ.ศ. 2565 - 2570)

นอกจากนี้ ที่ประชุมสภานโยบาย ยังได้มีการพิจารณาโครงการผลิตแพทย์เพิ่มแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นโครงการต่อเนื่องจากโครงการผลิตแพทย์เพิ่มแห่งประเทศไทย ปี พ.ศ. 2561 - 2570 (ระยะที่ 1) ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ดําเนินการ เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2562 โดยการดําเนินการมีความก้าวหน้ามาโดยตลอด โดยโครงการผลิตแพทย์เพิ่มเป็นโครงการที่จัดทําขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาขาดแคลนแพทย์ของประเทศแม้จะมีการผลิตแพทย์เพิ่มทั้งในภาครัฐและเอกชนก็ยังไม่เพียงพอ และการผลิตแพทย์ยังต่ำกว่าเกณฑ์ที่กระทรวงสาธารณสุขตั้งเป้าหมายไว้มาก โดยโครงการมีเป้าหมายเพื่อขยายศักยภาพการให้บริการด้านการแพทย์และสาธารณสุขของประเทศรองรับสังคมผู้สูงอายุและความซับซ้อนของโรคในอนาคต รวมถึงเพื่อแก้ไขและบรรเทาปัญหาการกระจายแพทย์สู่ชนบท ทั้งนี้ ได้มีการกำหนดเป้าหมายเพื่อผลิตแพทย์ให้กับระบบสาธารณสุขของประเทศเพิ่มขึ้น จํานวน 13,318 คน แบ่งเป็น โครงการผลิตแพทย์เพิ่มฯ อว. จํานวน 6,586 คน และโครงการผลิตแพทย์เพิ่มฯ สธ. จํานวน 6,732 คน โดยจะรับนักศึกษาจํานวนทั้งสิ้น 6 รุ่น (ตั้งแต่ปี พ.ศ.2565 -2570) เพื่อผลิตแพทย์ให้มีอัตราส่วนแพทย์ต่อประชากรที่ 1 : 1,200 และกระจายแพทย์ในแต่ละพื้นที่อย่างเหมาะสม ซึ่งที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบต่อโครงการดังกล่าว โดยทาง สป.อว. ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบโครงการจะได้นําเสนอโครงการดังกล่าวต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อขออนุมัติการดําเนินโครงการและกรอบงบประมาณดําเนินการต่อเนื่องในระยะที่ 2 (พ.ศ. 2565 - 2570) ต่อไป

 

ข้อเสนอการจัดระบบการบริหารและจัดการทุนด้านวิจัยและนวัตกรรมของประเทศ และ(ร่าง) ข้อเสนอรูปแบบการแยกหน่วยบริหารและจัดการทุนเฉพาะด้านออกจาก สอวช.

ดร.กิติพงค์ พร้อมวงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.)  กล่าวถึงข้อเสนอการแยกหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากําลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและสร้างนวัตกรรม (บพค.) และหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) ออกจาก สอวช. และไปตั้งเป็นสำนักงานภายใต้ชื่อ “สํานักงานสนับสนุนและเร่งรัดผลสัมฤทธิ์การวิจัยและนวัตกรรมเพื่ออุตสาหกรรมและการพัฒนาเชิงพื้นที่” (วอพ.) เป็นหนึ่งในแนวทางการปฏิรูประบบการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ที่ได้รับความเห็นชอบจากสภานโยบาย โดยให้ดําเนินงานในรูปแบบ Sandbox เป็นระยะเวลาไม่เกิน 3 ปี ซึ่งผลการดําเนินงานที่ผ่านมาประสบความสําเร็จด้วยดี สอวช. จึงได้จัดทําข้อเสนอฯ เพื่อเปลี่ยนสถานะหน่วยงานบริหารและจัดการทุนเฉพาะด้าน เป็นองค์การมหาชน ซึ่งมีวัตถุประสงค์ของการจัดทําข้อเสนอฯ เพื่อเป็นการพัฒนาและสร้างศักยภาพด้านเศรษฐกิจและสังคมของประเทศให้เติบโตและเข้มแข็ง ซึ่งจำเป็นต้องทำให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมด้านใหม่ และการพัฒนาปรับปรุงเทคโนโลยีทั้งที่เป็นเทคโนโลยีขั้นสูงและเทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิตและบริการ การพัฒนาเชิงพื้นที่ และการสร้างรากฐานไปสู่อุตสาหกรรมแห่งอนาคต โดยการสนับสนุนทุนและบริหารจัดการการวิจัยและนวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพและตอบโจทย์ความต้องการของภาคการผลิต บริการ ชุมชน และท้องถิ่น

“การแยกหน่วยบริหารและจัดการทุนออกจาก สอวช. ไปเป็นสำนักงาน นอกจากการบรรลุเป้าหมายด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมที่กําหนดไว้ในกรอบนโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ซึ่งเกิดผลเชิงประจักษ์อย่างเป็นรูปธรรมในเวลาตามที่กําหนดแล้ว คาดว่าจะเกิดผลลัพธ์ในการเพิ่มการลงทุนวิจัยและนวัตกรรมจากภาคเอกชน และกระตุ้นให้เกิดการลงทุนทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อการวิจัย รวมไปถึงการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชนเพื่อกระตุ้นให้เกิดการลงทุนวิจัยและนวัตกรรมในภาคเอกชนสูงขึ้น (เป้าหมายร้อยละ 2 ของ GDP ในปี 2570) และยังช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมไทย พัฒนาให้เกิดผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่มีการใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์และการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจที่สูง  พัฒนาเศรษฐกิจ ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ และลดความเหลื่อมล้ำ โดยเพิ่มศักยภาพของมหาวิทยาลัย ในการใช้กระบวนการการวิจัยและนวัตกรรมเป็นเครื่องมือในการสร้างการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่ และสร้างขีดความสามารถการบริหารจัดการตนเองของชุมชนท้องถิ่น  เพิ่มขีดความสามารถทางเทคโนโลยีขั้นแนวหน้าให้กับประเทศ รองรับอุตสาหกรรมอนาคต เพื่อสร้าง Growth Engine ชุดใหม่ รองรับการเติบโตของประเทศในระยะยาว ตลอดจนช่วยขับเคลื่อนการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมตลอดทั้ง Value-chain ของ Sector สําคัญตามยุทธศาสตร์และความต้องการของประเทศ เพื่อสร้างการเติบโตของเศรษฐกิจและสังคม สร้างงาน รายได้ พัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น สร้างผลกระทบจากการบริหารและจัดการทุนผ่านโปรแกรม/แผนงานวิจัยเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Funding) โดยการบริหารจัดการงานวิจัยและนวัตกรรมอย่างมีประสิทธิภาพ และขยายผลให้เกิดประโยชน์ สามารถตอบโจทย์ความต้องการของประเทศ” ดร.กิติพงค์ กล่าว

ทั้งนี้ ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบร่างข้อเสนอการแยกหน่วยบริหารและจัดการทุนออกจาก สอวช. และการติดตามและประเมินผลการดําเนินงานของหน่วยบริหารและจัดการทุนเฉพาะด้านตามที่ฝ่ายเลขานุการเสนอ พร้อมมอบหมายให้ สอวช. จัดทําพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสํานักงานกําหนดสนับสนุนและเร่งรัดผลสัมฤทธิ์การวิจัยและนวัตกรรมเพื่ออุตสาหกรรมและการพัฒนาเชิงพื้นที่ และข้อเสนอตามแบบการขอจัดตั้งองค์การมหาชน เพื่อเสนอคณะอนุกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชน (อ.กพม.) และคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป พร้อมให้รายงานความคืบหน้าให้ที่ประชุมสภานโยบายทราบเป็นระยะ

ข่าวโดย : สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.)

เผยแพร่ข่าวและถ่ายภาพ : ปวีณ ควรแย้ม
กลุ่มสื่อสารองค์กร กองกลาง
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2610 5241-47 0 2333 3700 ต่อ 3728 - 3732 โทรสาร 0 2333 3834
e-mail : pr@mhesi.go.th
Facebook : @MHESIThailand
Twiiter : @MHESIThailand
Call Center โทร.1313

นายกรัฐมนตรี ตรวจเยี่ยม GISTDA - อว. ติดตามความก้าวหน้าโครงการดาวเทียมและศูนย์กลางขับเคลื่อนอุตสาหกรรมอวกาศ อว. สรุปครบจบในหน้าเดียว ส่งความรู้ถึงมือประชาชน กับเสวนาวิชาการ “พิพิธภัณฑ์ศิลปกรรมแห่งชาติกับการพัฒนาประเทศ”

เรื่องล่าสุด

“วราภรณ์” รองปลัดกระทรวง อว. ม ...
ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
“วราภรณ์” รองปลัดกระทรวง อว. มอบวุฒิบัตรและปิดการฝึกอบรม "หลักสูตรการบริหารงานอุดมศึกษาสายสนับสนุนระ...
16 May 2025
“ศุภมาส” ร่วมงาน “กระตุก GDP ไ ...
ข่าวรัฐมนตรี ศุภมาส
“ศุภมาส” ร่วมงาน “กระตุก GDP ไทยด้วยกองทุนวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.)“ ผลักดันกำลังคนสมรรถนะ...
16 May 2025
“ศุภมาส” เปิดตัวโครงการ TNA ฉบ ...
ข่าวรัฐมนตรี ศุภมาส
“ศุภมาส” เปิดตัวโครงการ TNA ฉบับที่ 2 รองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของไทย ผลักดันเทคโนโลยีสู้วิก...
15 May 2025

กระทรวงการ อว.

  • อว.พารับส่วนลด
    • รวมรายการสินค้าและบริการ
    • ท่องเที่ยว
    • อาหาร
    • บริการ
    • ชอปปิง
  • User Menu (Discount)
    • เนื้อหาของฉัน
    • แก้ไขข้อมูลส่วนตัว
    • ออกจากระบบ
  • เมนูหลัก
    • Home
    • About us
      • History
      • Vision Mission
      • Policy / Strategy
      • เครื่องหมายราชการ และ ตราสัญลักษณ์กระทรวง
      • Mission Structure
      • Executive
      • Government Division
      • Government Weblink
      • Legal
      • CIO
    • Flagship Project
    • Scholarships
      • ทุนกระทรวงทั้งหมด
      • ทุนพัฒนาอาจารย์
      • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
      • ทุนวิจัย
    • Service
      • บริการทั้งหมด
      • สถาบันอุดมศึกษา
      • นิสิต/นักศึกษา
      • อาจารย์
      • นักวิทยาศาสตร์/นักวิจัย
      • ผู้ประกอบการ
      • ภาครัฐ
    • News
      • ประมวลภาพกิจกรรม "น้อมรำลึก ในหลวง ร.9"
      • ภาพข่าวและกิจกรรม
        • ข่าวรัฐมนตรี
        • ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
        • ข่าวสารหน่วยงาน
      • ข่าวสารและประกาศ
        • ข่าวประกาศ
        • ประกาศงานบุคลากร
        • ข่าวประชุม อบรม สัมนา
        • ข่าวสารน่าสนใจ [พรบ.ข่าวสาร]
    • Data Repository
      • เอกสารเผยแพร่กระทรวง
      • เอกสารเผยแพร่จากภายนอก
      • e-Book เพราะเธอเป็นลมหายใจ
      • e-Book S&T Series
      • Infographic
      • วีดิทัศน์
      • Mobile Application
        • สำหรับ iOS
        • สำหรับ Andriod
    • ศูนย์บริการร่วม
      • ความเป็นมาศูนย์บริการประชาชน
      • รางวัลและผลงานเด่น
      • ติดต่อศูนย์บริการร่วม
      • สาระน่ารู้
  • แนะนำหน่วยงาน
    • ความเป็นมา
    • Vision and Mission
    • นโยบาย/ยุทธศาสตร์กระทรวง
    • โครงสร้างภารกิจกระทรวง
    • ผู้บริหารกระทรวง
    • การแบ่งส่วนราชการ
    • ลิงก์หน่วยงาน
    • กฏหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
    • เกี่ยวกับซีไอโอ
  • ทุนกระทรวง
    • ทุนกระทรวงทั้งหมด
    • ทุนพัฒนาอาจารย์
    • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
    • ทุนวิจัย
  • ภาพข่าวและกิจกรรม
    • ภาพข่าวและกิจกรรม
    • ข่าวผู้บริหาร
    • ข่าวสารหน่วยงาน
  • เมนูอื่นๆ
    • Thai University Consortium
    • ห้องสมุด อว.
    • Search
    • คำถามที่พบบ่อย
    • แบบฟอร์มร้องเรียน
    • Contact
    • Sitemap
    • สถิติการเข้าชมเว็บไซต์
    • เข้าสู่ระบบ/ออกจากระบบ

map แผนที่และการเดินทาง

faqคำถามที่พบบ่อย

faqเสนอแนะ/ร้องเรียน

faqแผนผังเว็บไซต์

กระทรวง อว.

แอปพลิเคชั่นทั้งหมดของกระทรวง

ios app andriod app 

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป

© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.

WCAG 2.0 (Level AAA)

ติดตามเราได้ที่   facebook twitter youtube This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.