COVID Knowledge

“สุวิทย์ เมษินทรีย์” รมว.การอุดมศึกษาฯ แก้วิกฤติโควิด – 19 แก่คนตกงาน ผุดโครงการ “อว.สร้างงาน” จ้างงานประชาชน 1 หมื่นคน ไม่จำกัดวุฒิการศึกษา อายุ สาขาวิชาที่จบ ไม่เกี่ยงประสบการณ์ ให้ค่าตอบแทนเดือนละ 9 พันบาท ระยะเวลา 5 เดือน แถมทำแล้วอยากพัฒนาทักษะไปประกอบอาชีพใหม่ เปิดโครงการการบ่มเพาะธุรกิจให้ฟรี

95191503 1913067648999956 7296565565164879872 o

เมื่อวันที่ 29 เม.ย. ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) แถลง “โครงการ อว. สร้างงาน” ว่า กระทรวงการอุดมศึกษาฯ จัดทำโครงการสร้างงาน เพื่อเป็นการช่วยเหลือประชาชนที่ว่างงาน อันเนื่องจากสถานการณ์โควิด -19 ซึ่งจะเป็นการจ้างงานประชาชน จำนวน 10,000 คน เป็นระยะเวลา 5 เดือน มีค่าตอบแทนให้เดือนละ 9,000 บาท ไม่ได้จำกัดวุฒิการศึกษา อายุ สาขาวิชาที่สำเร็จการศึกษาและประสบการณ์การทำงาน

รมว.อว.กล่าวต่อว่า โครงการสร้างงานสำหรับประชาชน จำนวน 10,000 คน จะเข้ามาทำงานภายใต้หน่วยงานของ อว. จำนวน 42 หน่วยงาน ซึ่งจะเป็นหน่วยงานจ้างงาน ที่จะจ้างงานประชาชนให้มาทำงานภายใต้ภารกิจของหน่วยงานนั้นๆ โดยผู้ได้รับการจ้างงาน นอกจากจะได้งานทำแล้วยังจะได้รับการพัฒนาทักษะทางวิชาการในด้านต่างๆ แตกต่างกันไป ทั้งนี้ หน่วยงานจ้างงานทั้ง 42 แห่งของ อว. จะทำหน้าที่รับสมัคร การมอบหมายงาน การให้คำปรึกษาแนะนำแก่ผู้ได้รับการจ้างงาน การฝึกทักษะที่จำเป็นต่อการทำงาน การติดตามและประเมินผล เป็นต้น ที่สำคัญ โครงการนี้ หากผู้ที่ได้รับการจ้างงานต้องการนำทักษะ ที่ได้รับการจากการทำงานไปประกอบอาชีพใหม่ สามารถเข้าร่วมโครงการการบ่มเพาะธุรกิจของหน่วยงานของ อว.ได้เลย แต่ทั้งนี้ผู้ที่เข้าร่วมโครงการจะต้องไม่ซ้ำซ้อนกับสิทธิ์ที่ได้รับจากมาตรการเยียวยาอื่นๆของรัฐ เพื่อเป็นการกระจายความช่วยเหลือให้ทั่วถึงได้มากขึ้น โดยหน่วยงานจ้างงานประกอบด้วย

* สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ ทั่วประเทศ 39 แห่งจะครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศ โดยงานที่ผู้ที่ได้รับการจ้าง จะไปทำงานกระจายอยู่ในท้องถิ่น หรือชุมชนต่างๆ มากกว่า 1,500 ชุมชน โดยจะทำงานเน้นหนักการพัฒนาชุมชนเมือง ชุมชนชนบท อาทิเช่น การพัฒนาระบบเฝ้าระวังโรคติดต่อชุมชน การพัฒนาระบบ Smart Farming ในชุมชน การจัดการขยะชุมชน การส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ จัดทำฐานข้อมูลในด้านที่เกี่ยวข้อง การบริหารจัดการน้ำชุมชน การพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชน การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ เป็นต้น

* สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (สทอภ.) จะจ้างงานในภารกิจ โครงการคืนผืนป่าให้ประชาชน ซึ่งผู้ที่ได้รับการจ้างงาน จะต้องปฏิบัติงานในการสำรวจพื้นที่ การจัดทำเขตหมู่บ้าน การจัดทำแผนจัดการทรัพยากรที่ดินป่าไม้ การสำรวจข้อมูลรายแปลง เป็นต้น ซึ่งจะครอบคลุมการทำงานในพื้นที่ 2,324,037 ไร่ 16 จังหวัด

* สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) จะจ้างงานในภารกิจ โครงการช่วยเหลือการผลิตแก่ SMEs และ OTOP ในโรงงานบริการนวัตกรรมอาหาร ซึ่งผู้ที่ได้รับการจ้างงาน จะต้องปฏิบัติงานได้แก่ การวางแผนการผลิต การใช้เครื่องมือในการผลิต การควบคุมการผลิต การตรวจสอบมาตรฐานและคุณภาพผลิตภัณฑ์ การวิเคราะห์ต้นทุนการผลิต

* กองทุนส่งเสริม วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จะเป็นภารกิจช่วยเหลือเกษตรกร โดยการนำองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ไปช่วยเหลือเกษตรกร ซึ่งผู้ที่ได้รับการจ้างงาน จะต้องปฏิบัติงานได้แก่ การช่วยในเทคโนโลยีการแปรรูปมะม่วง เทคโนโลยีการจัดเก็บและยืดอายุของผลผลิตมะม่วง การช่วยผลิตชุดปลูกผัก การช่วยแปรรูปผลไม้ในรูปผลไม้แช่แข็ง เป็นต้น

โครงการ อว.สร้างงาน แม้จะเป็นมาตรการระยะสั้นระยะเวลา 5 เดือน แต่จะเป็น 5 เดือนที่มีค่าหากผู้เข้าร่วมโครงการนำไปต่อยอดหรือนำทักษะ ที่ได้รับการจากการทำงานไปประกอบอาชีพใหม่ ซึ่ง อว.พร้อมที่จะเปิดรับให้ทุกคนสามารถเข้าร่วมโครงการการบ่มเพาะธุรกิจของหน่วยงานของ อว.ได้และในระยะต่อไป อว.ก็ได้เตรียมเสนอของบประมาณในส่วนของ พ.ร.ก.เงินกู้ 1 ล้านล้าน เพื่อการจ้างงาน รวมถึงการปรับเปลี่ยนหรือเพิ่มทักษะที่จำเป็นต่อการประกอบอาชีพ ซึ่งจะเป็นการช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจจากการสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน เกษตรกร ตลอดจนผู้ประกอบการรายย่อยได้อีกด้วยครับ

สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กลุ่มงานกิจการเลขาธิการ สป.อว. โทร 02-6105330-31

สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม และหน่วยงานที่เข้าร่วม โครงการ สามารถ download ได้ที่

https://drive.google.com/open?id=1efVl2SFkbi-Q6mVENLuflAeIDywgopWu

https://drive.google.com/open?id=1AweI42xZnoxE1SUiwbDWdqNrJSkczc91

 

ที่มา : https://www.facebook.com/drsuvitpage/posts/1913067668999954

 

ดร. สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม แนะนำแบ่งปัน ชุดความรู้ เศรษฐกิจสร้างสรรค์ โอกาสรอเราอยู่หลังโควิด-19 ผ่านเฟสบุ๊กส์

96079758 1916957301944324 1297337477832376320 n

เศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) เป็นอีกหนึ่งแนวคิดที่จะช่วยให้เราสามารถนำทุนทางวัฒนธรรมที่เรามี มาช่วยสร้างสรรค์ให้เกิดมูลค่าเพิ่มขึ้นได้อย่างมากมาย หลังจากช่วงโควิดผ่านพ้นไป เศรษฐกิจสร้างสรรค์ถือว่าเป็นอีกหนึ่งโอกาสที่น่าสนใจ ที่จะช่วยสร้างรายได้ให้กับผู้คนจำนวนมากได้

ชุดความรู้เหล่านี้จัดทำขึ้นในรูปแบบ E-Book โดย สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ โดยมีการนำเสนอทั้งแนวโน้มสำคัญ สถานการณ์ของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ การพัฒนาทักษะ และตัวอย่างของการสร้างมูลค่า ที่จะช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้กับหลายๆ คนได้ ประกอบไปด้วย

1. เจาะเทรนด์โลก 2020 : Positive Power : หนังสือที่ทำการรวบรวม และวิเคราะห์แนวโน้มสำคัญในมิติต่างๆ ที่เกิดขึ้นบนโลก ไม่ว่าจะเป็นวัสดุ เทคโนโลยี สี พื้นที่ และไลฟ์สไตล์ของแต่ละเจเนอเรชั่น จากหนังสือรวบรวมเทรนด์โลกชั้นนำกว่า 20 เล่ม อาทิ Carlin, Nelly Rodi, Pantone, Viewpoint พร้อมการตีความ และนำเสนอให้เข้าใจง่าย
ดาวน์โหลด E-book ได้ที่: https://web.tcdc.or.th/th/Publication/Detail/Trend2020-Positive-Power

2. Made..From Thai Creativity : หนังสือที่รวบรวมตัวอย่างความสร้างสรรค์ที่เกิดขึ้นจากความคิดของคนไทย ผ่านกรณีศึกษาใน 4 ภูมิภาค ซึ่งเกิดขึ้นมาจากทั้งการใช้ชีวิตประจำวัน การแก้ไขปัญหา หรือจากความเชื่อและศรัทธา ที่สะท้อนศักยภาพของความเป็นนักสร้างสรรค์ของไทยได้อย่างแท้จริง
ดาวน์โหลด E-book ได้ที่: https://web.tcdc.or.th/th/Publication/Detail/MADE-From-Thai-Creativity

3. Eco Creator : เรื่องราวของ 10 ผู้ประกอบการได้รับความรู้ด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์เพื่อสิ่งแวดล้อมบนแนวคิดการออกแบบโดยตลอดวัฏจักรชีวิต (Life Cycle Design) ที่จะช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบ และมีประสิทธิภาพสูงสุด
ดาวน์โหลด E-book ได้ที่: https://web.tcdc.or.th/th/Publication/Detail/Free-ebook-ECO-Creator

4. คู่มือการออกแบบบริการ : ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะมัดใจลูกค้ายุคใหม่ เมื่อผู้บริโภควันนี้ไม่ได้เลือกซื้อผลิตภัณฑ์เพียงเพราะ “ประโยชน์ใช้สอย” หรือ “รูปลักษณ์” เท่านั้น แต่อยากได้ “บริการ” ที่เชื่อมโยงกับทุกความต้องการในชีวิต การออกแบบบริการ (Service Design) จึงกลายเป็นอีกกลยุทธ์หนึ่งที่กำหนดอนาคตของธุรกิจ หนังสือเล่มนี้จะนำเสนอความรู้พื้นฐาน กระบวนการ และเครื่องมือในการออกแบบบริการที่พร้อมให้คุณนำไปใช้ได้ทันที
ดาวน์โหลด E-book ได้ที่: https://web.tcdc.or.th/th/Publication/Detail/Free-eBook-คู่มือการออกแบบบริการ

5. CEA OUTLOOK จับกระแสอนาคตเศรษฐกิจสร้างสรรค์ สาขางานฝีมือและงานหัตถกรรม : นำเสนอกรณีศึกษาการพัฒนาอุตสาหกรรมงานฝีมือและหัตถกรรมของสหราชอาณาจักร ญี่ปุ่น และประเทศไทย รวมถึงแนวโน้มของอุตสาหกรรมงานฝีมีอและหัตถกรรมที่จะเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของไทยในอนาคต
ดาวน์โหลด E-book ได้ที่: https://web.tcdc.or.th/th/Publication/Detail/CEA-OUTLOOK-Creative-Economy-Prospects-Jan-June2019

6. CEA OUTLOOK จับกระแสอนาคตเศรษฐกิจสร้างสรรค์ สาขางานออกแบบ : นำเสนอข้อมูลสถานภาพและศักยภาพอุตสาหรรมการออกแบบของประเทศไทย การพัฒนาวิชาชีพการออกแบบ ซึ่งมีรากฐานมาจากกลุ่มวิชาชีพ “ช่าง” และกลุ่มสาขาวิชาชีพการออกแบบสาขาย่อย รวมถึงตัวอย่างการนำการออกแบบมาใช้ในการพัฒนากรุงเทพมหานครดาวน์โหลด E-book ได้ที่: https://web.tcdc.or.th/th/Publication/Detail/CEA-OUTLOOK-Creative-Economy-Prospects-July-December-2019

 

ที่มา : https://www.facebook.com/drsuvitpage/posts/1916925221947532

 

ในช่วงนี้ คำว่า Social Distancing หรือ ระยะห่างทางสังคม คงเป็นหนึ่งคำที่ติดหูของทุก ๆ คน แต่จะทำอย่างไรใน เมื่อเราก็ยังต้องเดินทาง ต้องทำงาน ต้องพบปะกับบุคคลอื่นอยู่ วันนี้จะแนะนำ 7 วิธีการ เว้นระห่างทางสังคม ในชีวิตประจำวัน แน่นอนว่าความสะดวกสบาย อาจจะลดลง แต่ถ้าเราร่วมมือกันและหยุดการแพร่กระจายได้ในเร็ววัน เราก็จะได้กลับมาใช้ชีวิตอย่างปกติ

92010957 126515862294127 2190649508138844160 o

1. วิธีการประชุม
- หลีกเลี่ยงการประชุมที่มีคนจำนวนมาก หรือ ปรับเปลี่ยนเป็นการประชุมแบบออนไลน์ ทุกวันนี้มีโปรแกรมหลากหลายที่สะดวกต่อการประชุมออนไลน์ เช่น Zoom , Google Hangout

2. เว้นระยะการนั่ง
- หากยังจำเป็นต้องไปนั่งทำงานรวมกับผู้อื่นให้นั่งเว้นระยะห่างและหลีกเลี่ยงการสัมผัสกัน
- ติดสติกเกอร์ห้ามนั่งระหว่างที่นั่งที่ติดกัน

91245693 125710562374657 6533122024355659776 o

3. การเดินทาง
- หลีกเลี่ยงการเดินทางที่ไม่จำเป็น เว้นแต่การออกไปทำงาน ไปโรงพยาบาล
- ออกจากบ้านให้น้อยที่สุด เพื่อลดโอกาสในการติดเชื้อจากผู้อื่น หรือ แพร่เชื้อไปยังบุคคลอื่น

4. เว้นระยะห่างระหว่างกัน
- หลีกเลี่ยงการไปในพื้นที่คนพลุกพล่าน หรือที่อากาสถ่ายเทน้อย เช่น สนามมวย สถานบันเทิง
- หากยังต้องพบปะบุคคลอื่น ให้ เว้นระยะห่างอย่างน้อย 1 เมตร เป็นระยะหลอดภัยจาก COVID-19

91980927 125710595707987 2217210195782664192 o

5. การรับประทานอาหาร
- หลีกเลี่ยงการทานอาหารร่วมกันผู้อื่น ไม่นั่งทานในโรงอาหาร หรือร้านที่มีคนเยอะๆ
- ทานอาหารจานเดียว และพกช้อนส้อมส่วนตัวเสมอ หากจำเป็นต้องทานอาหารจากจานกลาง ควรมีช้อนกลางส่วนตัว

6. ขนส่งสาธารณะ
- หลีกเลี่ยงการใช้ขนส่งสาธารณะ ในชั่วโมงเร่งด่วน มีความเสี่ยงในการติดต่อ และแพร่เชื้อสูง (มี social distancing น้อย)
- ในระยะทางใกล้ ๆ เปลี่ยนมาเดินหรือขี่จักรยานแทน ในกรณีต้องเดินทางระยะไกล ควรใช้รถยนต์ส่วนบุคคล แท็กซี่ หรือเดินทางในช่วงเวลาที่คนไม่พลุกพล่าน

91826911 126074875671559 6524881115986001920 o

7. การจัดกิจกรรม
- งดการจัดกิจกรรมที่อาจจะมีการสัมผัส หรือใกล้ชิดผู้อื่น เช่น คอนเสิร์ต การประชุมสัมนา เป็นต้น
- เลื่อนกิจกรรมในช่วงนี้ออกไปก่อน เพื่อลดการกระจายและการแพร่ระบาดของ COVID-19

91895083 125710705707976 8840162191278604288 o

ระยะห่างทางสังคม หรือ ระยะปลอดภัย เป็นการเพิ่มระยะห่างระหว่างบุคคล ป้องกันการสัมผัสและการติดต่อของโรค ซึ่งจะช่วยให้ทุกคนปลอดภัย และยับยั้งการแพร่กระจาย ของไวรัส COVID-19

ขอขอบคุณที่มาจาก https://www.shrm.org

บทความโดย   รู้สู้ COVID-19