แก้ปัญหาน้ำท่วมในยุคโลกรวน ด้วยวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม
ในปี 2567 ประเทศไทยประสบปัญหาภัยพิบัติน้ำท่วมหลายจังหวัดทางภาคเหนือ และ ล่าสุด พื้นที่ภาคใต้ 7 จังหวัด 50 อำเภอ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change)
สกสว. ในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบในการจัดทำแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้จัดทำ (ร่าง) แผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2566-2570 และได้จัดสรรงบประมาณ เพื่อสนับสนุนการวิจัย เพื่อรับมือภัยพิบัติ น้ำท่วมและดินถล่มรวม 42 โครงการ (ข้อมูล ปี 2567 โดยระบบข้อมูลสารสนเทศวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ) ซึ่งส่วนนี้มีตัวอย่างงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ แก้ปัญหาภัยพิบัติที่เกิดขึ้น เช่น
1️⃣ การพัฒนานวัตกรรม
- Fon Faa Arkat ระบบปัญญาประดิษฐ์ที่ทำนายโอกาสในการเกิดฝนตกล่วงหน้าได้แม่นยำมากขึ้น โดยมีจุดเด่นคือ เป็น Edge AI ที่ใช้ได้ในอุปกรณ์ขนาดเล็ก ราคาไม่แพง ศักยภาพขยายผลได้ดี ทำงานได้แม้ไม่มีอินเตอร์เน็ต นอกจากนี้ยังใช้กระบวนการเรียนรู้เชิงลึกแบบใหม่ชนิด CNN ที่เหมาะสมกับการทำนายข้อมูลอนุกรมเวลาเหมาะสมกับการใช้ร่วมกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชนและเข้าถึงได้ง่าย
- Nature-based Solutions (NbS) การใช้ระบบนิเวศเป็นฐานในการจัดการน้ำท่วม ซึ่งมุ่งเน้นการฟื้นฟูธรรมชาติและการใช้พื้นที่สีเขียวเพื่อช่วยดูดซับน้ำฝนและลดความเสี่ยงจากน้ำท่วมในระยะยาว ลดความเสี่ยงจากอุทกภัยที่ใช้ระบบนิเวศเป็นฐาน โดยเลือกศึกษาพื้นที่ลุ่มน้ำปราจีนบุรีอันเป็นหนึ่งในลุ่มน้ำที่เผชิญความเสี่ยงสูงต่อการเกิดอุทกภัยของประเทศไทย
2️⃣ การจัดการน้ำอย่างบูรณาการ
ในการแก้ปัญหาน้ำท่วมในระยะยาวต้องอาศัยการจัดการทรัพยากรน้ำที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับพื้นที่ ได้แก่
การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ เช่น การพัฒนาและปรับปรุง ระบบชลประทาน และการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ
การสร้างโครงสร้างพื้นฐาน เช่น เขื่อนและทางระบายน้ำที่มีความทนทาน และระบบเตือนภัยน้ำท่วม
3️⃣ การสนับสนุนเชิงนโยบาย
แผนวิจัยและนวัตกรรม 2566-2570 ซึ่งจะมุ่งเน้นการพัฒนาอย่างยั่งยืน รวมถึงการสนับสนุนการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อจัดการภัยพิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ
วิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรม ไม่เพียงแค่เป็นเครื่องมือในการรับมือกับภัยพิบัติ แต่ยังเป็น หัวใจสำคัญ ของการสร้างความยั่งยืนและการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศอย่างมีประสิทธิภาพ
ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)
https://www.facebook.com/ThailandScienceResearchandInnovation
เผยแพร่โดย : นางสาวสุวดี เหมือนอ้น
กลุ่มสื่อสารองค์กร (สอ.)
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3880
E-mail : pr@mhesi.go.th
Facebook : @MHESIThailand
Instagram : mhesi_thailand
Tiktok : mhesi_thailand
Twitter : @MHESIThailand
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.