วช. สรุปผลงานวิจัยและนวัตกรรมเด่น ที่ วช. ได้สนับสนุนการวิจัย ในรอบปีงบประมาณ 2564
ประกอบด้วยกัน 10 ด้าน ดังนี้
1️⃣ ด้านโควิด-19
? ศูนย์ปฏิบัติการด้านนวัตกรรมการแพทย์ และการวิจัยและพัฒนา ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ : เป็นเว็บไซต์ที่นำเสนอข้อมูลทางวิชาการ รวมถึงงานวิจัยทางการแพทย์ต่าง ๆ ในรูปแบบสื่อ Infographic เพื่อถ่ายทอดข้อมูลความรู้ สร้างความเข้าใจกับประชาชน ได้รู้เท่าทันสถานการณ์ COVID-19
? mRNA Vaccine เพื่อป้องกันการรักษาการติดเชื้อไวรัสโคโรนาSARS-CoV-2 : ทีมนักวิจัยคาดว่าจะสำเร็จและนำใช้ได้ในเดือนเมษายน 2565
? ชุดหน้ากาก PAPR ฝีมือนักวิจัยไทย ชุดเกราะพร้อมสู้โควิด-19 : ส่งมอบให้เครือข่ายโรงพยาบาลกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (UHostNet) กระทรวงสาธารณสุข และสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร
? เครื่องผลิตละอองไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์สำหรับฆ่าเชื้อ : ส่งมอบให้กองอำนวยการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคโควิด-19
? นวัตกรรมเตียงเคลื่อนย้ายผู้ป่วยความดันลบ : ได้นำไปติดตั้งให้กับโรงพยาบาล และโรงพยาบาลสนาม ในหลายพื้นที่ของกรุงเทพมหานคร และพื้นที่ปริมณฑล
? เครื่องฟอกอากาศผลิตออกซิเจนบวก-ลบ : ส่งมอบให้ศูนย์บริการทางการแพทย์ โรงพยาบาลและหน่วยงานส่วนหน้า มากกว่า 140 เครื่อง
? ถอดรหัสพันธุกรรมและการกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ในประเทศไทย : พบการกลายพันธุ์ของเชื้อ COVID-19 ได้ 3 สายพันธุ์ คือ สายพันธุ์อังกฤษ สายพันธุ์แอฟริกาใต้ และสายพันธุ์บราซิล ที่พบว่าระบบภูมิคุ้มกันของมนุษย์จับไวรัสสายพันธุ์นี้ได้น้อยลง
? ห้อง ICU ความดันลบเคลื่อนที่” รับมือโควิด-19 :ได้นำไปติดตั้งให้กับโรงพยาบาล และโรงพยาบาลสนาม ในหลายพื้นที่ของกรุงเทพมหานคร และพื้นที่ปริมณฑล
2️⃣ ด้านการแพทย์และสาธารณสุข
? ชุดตรวจปัสสาวะสำเร็จรูป สำหรับตรวจวินิจฉัยโรคพยาธิใบไม้ตับในชุมชน : วช. ร่วมกับ มข. พัฒนาชุดตรวจการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับในปัสสาวะ ซึ่งเป็นวิธีที่ทำได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว พร้อมใช้ตรวจได้ในชุมชนที่ไม่ต้องส่งตัวอย่าง ปัสสาวะมาตรวจที่โรงพยาบาล เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงการรักษาได้ง่ายขึ้
? แผ่นดามกระดูกและสกรูทางออร์โธปิดิกส์ : เป็นนวัตกรรมวัสดุฝังในเพื่อฟื้นฟูกระดูก มีคุณสมบัติทางกลที่ดี มีความยืดหยุ่นทำให้เกิดความเสียหายแก่กระดูกน้อยลง ไม่เป็นพิษต่อร่างกาย ทนการกัดกร่อนได้ดี อีกทั้งมีความเข้ากันได้ดีทางชีวภาพ (Biocompatibility) ขณะนี้ได้นำไปใช้ในโรงพยาบาลและโรงพยาบาลสนาม ในหลายพื้นที่ของกรุงเทพมหานครและพื้นที่ปริมณฑล
? นวัตกรรมชุดที่นอนยางพารา : นวัตกรรมที่ต่อยอดมาจากโครงการวิจัยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตหมอนยางพาราระดับชุมชน รองรับผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 เนื่องด้วยคุณสมบัติที่มีความนุ่มและยืดหยุ่นสูง รองรับสรีระการนอน สามารถระบายอากาศได้ดี ไม่สะสมฝุ่นและเชื้อโรค
3️⃣ ด้านการรองรับสังคมสูงวัย
? เตียงพลิกตะแคง ป้องกันแผลกดทับ : พัฒนาคิดค้นและออกแบบเตียงสำหรับผู้ป่วยอัมพาตและป้องกันแผลกดทับ หลอมรวมความเป็น dynamic support surface ของเตียงในการพลิกเปลี่ยนจุดกด กับ static support surface ของเบาะเจลยางพารา ทำให้ประสิทธิภาพในการป้องกันแผลกดทับมีสูงขึ้น เกิดนวัตกรรมทางการแพทย์เทียบชั้นเครื่องมือทางการแพทย์ระดับโลกได้
? เปลี่ยนเกษียณเป็นพลัง : หนึ่งในประเด็นของนโยบายการวางแผนเชิงรุกในระยะสั้น (Quick Wins) สนับสนุนการเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุหรือผู้เกษียณได้รับโอกาสและสร้างแรงจูงใจให้เข้าสู่สังคมการเรียนรู้ตลอดชีวิต คาดว่าในปี 2564-2565 จะมีผู้สูงวัยเข้าร่วมโครงการต่าง ๆ ราว 60,000 คน จากนั้นในปี 2566 จะถึงเป้าหมาย 100,000 คน
4️⃣ ด้านการเกษตร
? ยืดอายุ “มะม่วงน้ำดอกไม้” ส่งออกต่างประเทศ : สามารถยืดอายุการเก็บรักษามะม่วงน้ำดอกไม้สีทองได้เป็นระยะเวลา 33 วัน ซึ่งเพิ่มขึ้นจากเดิมที่สามารถเก็บรักษามะม่วงได้เพียง 15 วัน ซึ่งมีขั้นตอนที่สะดวกและเหมาะสมกับสภาพปัญหาแรงงานที่หายากและมีราคาแพงในประเทศปลายทาง
? ยืดอายุทุเรียนเพื่อการส่งออก : กล่องที่บรรจุทุเรียนบรรจุสารดูดซับก๊าซเอททิลินเพื่อชะลอให้ทุเรียนสุกช้าลง จึงไม่มีสินค้าเหลือตกค้าง
? ส่งเสริมการปลูกองุ่นพันธุ์ “ไชน์มัสแคท” เกรดพรีเมี่ยม : ถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการผลิต ละจัดการปรับปรุงคุณภาพเพื่อเพิ่มศักยภาพในตลาดส่งออก
5️⃣ ด้านสิ่งแวดล้อม
? เครื่องตรวจวัดฝุ่น PM2.5 : วช. สนับสนุนทุนวิจัยและนวัตกรรมตามแผนงานสำคัญของประเทศ เพื่อเสริมประสิทธิภาพการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5
? วัสดุก่อสร้างจากขยะพลาสติกใช้แล้ว : แผนงานวิจัยท้าทายไทย : ทะเลไทยไร้ขยะ” สร้างความตระหนักต่อปัญหาการจัดการขยะในวงกว้าง ลดปัญหาผลกระทบสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะขยะพลาสติก
? ปูทางสู่อุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพครบวงจร : สร้างพื้นฐานความรู้ และการพัฒนาเทคโนโลยีที่เป็นของไทยให้สามารถพึ่งพาตนเองได้
? ประเทศไทยไร้หมอกควัน : แก้ไขปัญหาหมอกควันและบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้นจากภาวะหมอกควันภายในประเทศไทย นำไปสู่การสร้างแนวทางและมาตรการที่เหมาะสมต่อไป ด้วยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน เพื่อให้ประเทศไทยฟ้าใสไร้ฝุ่นควัน
? การจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์และของเสียอันตรายชุมชน
? จัดทำระบบฐานข้อมูลขยะอิเล็กทรอนิกส์และของเสียอันตรายชุมชน
?พัฒนารูปแบบการจัดการรวบรวมและขนส่งขยะอิเล็กทรอนิกส์ และของเสียอันตรายชุมชน
? พัฒนาแนวทางและรูปแบบในการเสริมสร้างความตระหนักด้านสิ่งแวดล้อมจากการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์และของเสียอันตรายชุมชนอย่างถูกต้อง
?ออกแบบผลิตภัณฑ์ เพื่อลดผลกระทบจากพื้นที่เสี่ยง
6️⃣ ด้านสัตว์เศรษฐกิจ
? ธนาคารปูม้าชุมชนเพื่อความยั่งยืน : โครงการธนาคารปูม้า ผลการดำเนินโครงการในระยะแรกประสบความสำเร็จ ประชาชนเห็นถึงความสำคัญของทรัพยากรปูม้า และช่วยกันฟื้นฟูระบบนิเวศชายฝั่งทะเล
? ไก่พื้นเมือง และไก่ลูกผสมพื้นเมือง สู่เชิงพาณิชย์ วิจัยปรับปรุงสายพันธุ์ “ไก่ลิกอร์” ไก่พื้นเมืองลูกผสม สายพันธุ์ใหม่ : การพัฒนาสายพันธุ์ไก่ที่สามารถสร้างอาชีพและรายได้ที่มั่นคงให้แก่เกษตรกรในระดับวิสาหกิจชุมชนและขยายฐานการเลี้ยงครอบคลุมทั้ง 14 จังหวัดในภาคใต้และทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทยในอนาคต
7️⃣ ด้านการศึกษา
? ระบบซอฟต์แวร์โดรนแปรอักษร รายแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ : จัดการอบรมเยาวชนทั่วประเทศ เพื่อให้สามารถพัฒนาซอฟท์แวร์ควบคุมฝูงโดรนแบบอัจฉริยะ และได้มอบรางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ระดับดีเด่น สาขาการศึกษา เรื่อง "ระบบซอฟต์แวร์โดรนแปรอักษร" ที่เป็นการพัฒนาของทีมหนูน้อยจ้าวเวหาไทยพีบีเอส กับ สมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ ที่ ทำสำเร็จเป็นเจ้าแรกในภูมิภาคอาเซียน
8️⃣ ด้านเทคโนโลยี AI
? ระบบปัญญาประดิษฐ์ในการประเมินการใส่หน้ากากอนามัย (AiMASK) : ระบบปัญญาประดิษฐ์ ประเมินการใส่หน้ากากอนามัย ใน 29 เขต 31 จุด ของกรุงเทพมหานคร พบว่าใส่หน้ากากอนามัยถึง 99.95% สามารถตรวจสอบการใส่หน้ากากอนามัยไม่ถูกวิธี เช่น ไปใส่ที่ใต้คางหรือไม่ปิดจมูกและปากได้ด้วย
9️⃣ ด้านเศรษฐกิจฐานราก
? มังคุดวิจัย : ใช้องค์ความรู้จากงานวิจัยเป็นเครื่องมือสนับสนุนเศรษฐกิจได้เดินหน้า ไปสู่ “นวัตกรรมขับเคลื่อนเศรษฐกิจ” เพื่อช่วยแก้ปัญหามังคุดล้นตลาด และราคาตกต่ำ ในการแปรรูป
? เศรษฐกิจฐานรากภาคเหนือตอนบน หวังเพิ่มมูลค่าหัตถกรรมชุมชนในยุค New Normal (KOYORI) : ยกระดับผลิตภัณฑ์หัตถกรรมชุมชนในภาคเหนือตอนบนด้วยนวัตกรรมสร้างสรรค์ และทุนทางวัฒนธรรมและทรัพยากรท้องถิ่นสู่การพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและการเพิ่มประสิทธิภาพห่วงโซ่มูลค่าของผลิตภัณฑ์
? ด้านการพัฒนาสังคมและชุมชน
? พัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านสาธารณสุขและแกนนำชุมชน เพื่อป้องกันโรคโควิด-19 บริเวณพื้นที่ชายแดน : ปัจจุบันโครงการที่ วช. ได้สนับสนุนทุนวิจัย มหาวิทยาลัยหลายแห่งสามารถผลิตนวัตกรรมทางการแพทย์ หรือเทคโนโลยีที่ช่วยในการปฏิบัติงาน และใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อตอบสนองการแก้ปัญหาของประเทศ เป็นการวางรากฐานงานวิจัยของไทยให้เกิดความเข้มแข็งในระยะยาว
? สร้างตำบลต้นแบบ 15 จังหวัดผ่านปราชญ์เพื่อความมั่นคงและเครือข่ายภาคประชาชน : บูรณาการความร่วมมือระหว่างภาคความมั่นคงพัฒนาชุมชนต้นแบบ นำสู่ตำบลมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน
นอกจากนี้ วช. ยังมีผลงานวิจัยที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติอีกมากมาย ซึ่งจะมุ่งเน้นผลักดันให้เกิดผลงานที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น เพื่อให้เกิดการพัฒนาประเทศและคุณภาพชีวิตประชาชนต่อไป
สามารถติดตามข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่: https://www.nrct.go.th/
สนับสนุนการวิจัย โดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
ที่มา : สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
เผยแพร่โดย : นางสาวสุวดี เหมือนอ้น
กลุ่มสื่อสารองค์กร กองกลาง
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3880 โทรสาร 0 2333 3834
Facebook : @MHESIThailand
Twitter : @MHESIThailand
Call Center โทร.1313
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.