มองไม่เห็นแต่ มีอยู่จริง เรดอน รังสีธรรมชาติที่อาจอยู่ในบ้านเรา
“เรดอน” เป็นสารกัมมันตรังสีที่เป็นแก๊ส ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ทำให้เราไม่ทราบว่ามีแก๊สนี้ อยู่รอบ ๆ ตัวเรา นอกจากการตรวจโดยใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ และเมื่อเรดอนสลายจะให้ธาตุกัมมันตรังสีอื่น พร้อมกับให้รังสีแอลฟา และเมื่อเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ทางลมหายใจ เนื่องจากมีสถานะเป็นแก๊ส
ทำไมบ้านซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์จึงมีเรดอน? ก็เพราะ เรดอนมีอยู่ในดินและหิน จากงานวิจัยพบว่าเรดอนภายในบ้าน ที่ตรวจพบนั้น มีสาเหตุหลักมาจากดินหรือหินที่เราก่อสร้างอยู่ หรือหากบ้านมีรอยร้าวหรือรอยแตก ก็จะเป็นสาเหตุที่ทำให้เรดอนสามารถแพร่สู่ภายในบ้านได้ นอกจากนี้ยังพบว่า ยังมาจากวัสดุที่ใช้ก่อสร้างบ้านที่ทำมาจากทราย หินอ่อน หินแกรนิต และน้ำที่ใช้อุปโภคและบริโภคซึ่งมาจากน้ำใต้ดิน ซึ่งจากงานวิจัยพบว่า น้ำผิวดินมีปริมาณเรดอนน้อยกว่าน้ำใต้ดิน
โดยปกติแล้วเรดอนไม่ได้ส่งผลกระทบอะไรต่อสุขภาพร่างกาย แต่หากได้รับเรดอนในปริมาณที่มากเกินไปก็อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเราได้ ในระยะยาว หลายประเทศจึงมีการนำอุปกรณ์ที่ใช้ก่อสร้างบ้านไปรับการตรวจสอบปริมาณเรดอนเพื่อให้มั่นใจได้ว่าเรดอนในบ้านของเรา จะไม่ส่งผลกระทบอะไรต่อสุขภาพและชีวิตของเราอย่างแน่นอน
ติดตามข้อมูลเกี่ยวกับเทคโนโลยีนิวเคลียร์เพิ่มเติม คลิก www.tint.or.th
ที่มา : สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (สทน.)
เผยแพร่โดย : นางสาวสุวดี เหมือนอ้น
กลุ่มสื่อสารองค์กร กองกลาง
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3880 โทรสาร 0 2333 3834
Facebook : @MHESIThailand
Twitter : @MHESIThailand
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.