"อว. เผยฉีดวัคซีนของไทย ณ วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2565 ฉีดวัคซีนแล้ว 116,878,247 โดส และทั่วโลกแล้ว 10,224 ล้านโดส ใน 205 ประเทศ/เขตปกครอง ส่วนอาเซียนฉีดแล้วทุกประเทศ รวมกันกว่า 911.8 ล้านโดส โดยกรุงเทพฯ ยังเป็นพื้นที่ฉีดวัคซีนเข็ม 1 มากสุด (111.9%)
➡️(6 กุมภาพันธ์ 2565) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เผยข้อมูลสถิติการฉีดวัคซีนโควิด-19 ทั่วโลกแล้ว 10,224 ล้านโดส ใน 205 ประเทศ/เขตปกครอง โดยขณะนี้อัตราการฉีดล่าสุดรวมกันทั่วโลกที่ 26.7 ล้านโดสต่อวัน และมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่สหรัฐอเมริกามีจำนวนการฉีดวัคซีนสูงที่สุดที่ 542 ล้านโดส โดยมีชาวอเมริกันกว่า 212 ล้านคนได้รับวัคซีนครบ 2 โดสแล้ว"
ด้านอาเซียนขณะนี้ทุกประเทศได้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 แล้ว มียอดรวมกันที่ประมาณ 911.8 ล้านโดส โดยบรูไนฉีดวัคซีนในสัดส่วนประชากรมากที่สุดในภูมิภาค (94.8% ของประชากร) ในขณะที่อินโดนีเซียฉีดวัคซีนในจำนวนมากที่สุดที่ 322.9 ล้านโดส สำหรับประเทศไทยข้อมูล ณ วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2565 ได้ฉีดวัคซีนแล้วกว่า 116,878,247 โดส โดยฉีดให้กับประชาชนมากที่สุดในสัดส่วนกว่า 64.72%
? ในการฉีดวัคซีน จำนวน 10,224 ล้านโดสนี้ อว. ขอรายงานสถิติที่สำคัญ คือ
1. ข้อมูลการฉีดวัคซีนล่าสุดของประเทศไทย ณ วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2565
จำนวนการฉีดวัคซีนสะสม 116,878,247 โดส ใน 77 จังหวัด แบ่งเป็น
-เข็มแรก 52,495,750 โดส (79.3% ของประชากร)
-เข็มสอง 48,922,790 โดส (73.9% ของประชากร)
-เข็มสาม 15,459,707 โดส (23.4% ของประชากร)
2. อัตราการฉีดวัคซีนตั้งแต่ 28 ก.พ. 64-6 ก.พ. 65 พบว่า ประเทศไทยฉีดวัคซีนแล้ว 116,878,247 โดส ฉีดเพิ่มขึ้น 250,182 โดส (อัตราการฉีดล่าสุดเฉลี่ย 3 วันย้อนหลัง ตั้งแต่วันที่ 7 มิ.ย. 64 ซึ่งเป็นการฉีดวัคซีนวาระแห่งชาติ 274,567 โดส/วัน
3. อัตราการฉีดวัคซีน ประกอบด้วย
วัคซีน Sinovac
- เข็มที่ 1 22,880,725 โดส
- เข็มที่ 2 3,597,103 โดส
- เข็มที่ 3 0 โดส
วัคซีน AstraZeneca
- เข็มที่ 1 13,767,160 โดส
- เข็มที่ 2 28,292,103 โดส
- เข็มที่ 3 4,308,944 โดส
วัคซีน Sinopharm
- เข็มที่ 1 7,518,902 โดส
- เข็มที่ 2 7,205,770 โดส
- เข็มที่ 3 0 โดส
วัคซีน Pfizer
- เข็มที่ 1 7,620,556 โดส
- เข็มที่ 2 9,060,253 โดส
- เข็มที่ 3 8,882,035 โดส
วัคซีน Moderna
- เข็มที่ 1 708,407โดส
- เข็มที่ 2 767,284 โดส
- เข็มที่ 3 2,268,728 โดส
4. การฉีดวัคซีนโควิด-19 แยกตามกลุ่มเป้าหมาย
- บุคลากรการแพทย์/สาธารณสุข เข็มที่1 114.2% เข็มที่2 112% เข็มที่3 111.5%
- อสม เข็มที่1 80% เข็มที่2 78.2% เข็มที่3 40%
- ผู้ที่มีโรคเรื้อรัง 7 กลุ่มโรค เข็มที่1 105.8% เข็มที่2 100.8% เข็มที่3 34.2%
- ประชาชนทั่วไป เข็มที่1 88.9% เข็มที่2 82% เข็มที่3 26.7%
- ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป เข็มที่1 66.1% เข็มที่2 62% เข็มที่3 18.9%
- นักเรียน/นักศึกษา อายุ 12-17 ปี เข็มที่1 72.1% เข็มที่2 69.7% เข็มที่3 0%
- เด็กอายุ 5-11 ปี เข็มที่1 0.8% เข็มที่2 0.1% เข็มที่3 0%
รวม เข็มที่1 75.5% เข็มที่2 70.3% เข็มที่3 22.2%
5. 10 จังหวัดที่มีการฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 ครอบคลุมประชากรสูงที่สุด
1. กรุงเทพมหานคร เข็มที่1 111.9% เข็มที่2 103.8%
2. ภูเก็ต เข็มที่1 89.8% เข็มที่2 87%
3. ปทุมธานี เข็มที่1 87% เข็มที่2 82%
4. สมุทรปราการ เข็มที่1 90.9% เข็มที่2 79.7%
5. ระนอง เข็มที่1 83.2% เข็มที่2 79.6%
6. ระยอง เข็มที่1 83% เข็มที่2 79.3%
7. ชลบุรี เข็มที่1 82% เข็มที่2 78.2%
8. นนทบุรี เข็มที่1 81.5% เข็มที่2 78%
9. พังงา เข็มที่1 78.3% เข็มที่2 75.9%
10. นครปฐม เข็มที่1 76% เข็มที่2 75.4%
10 จังหวัดที่มีการฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 ครอบคลุมประชากรต่ำที่สุด
1. นราธิวาส เข็มที่1 55.3% เข็มที่2 44.6%
2. ปัตตานี เข็มที่1 56.1% เข็มที่2 45.2%
3. แม่ฮ่องสอน เข็มที่1 57% เข็มที่2 45.4%
4. ตาก เข็มที่1 57.5% เข็มที่2 48.7%
5. ยะลา เข็มที่1 62.4% เข็มที่2 52.1%
6. กาญจนบุรี เข็มที่1 56.4% เข็มที่2 53.6%
7. ลพบุรี เข็มที่1 57.9% เข็มที่2 54%
8. บึงกาฬ เข็มที่1 62.8% เข็มที่2 55.3%
9. หนองบัวลำภู เข็มที่1 62.2% เข็มที่2 56.7%
10. สมุทรสงคราม เข็มที่1 62.9% เข็มที่2 57.8%
6. ในภูมิภาคอาเซียน ได้ฉีดวัคซีนแล้วครบ 10 ประเทศ รวมจำนวน 911,870,768 โดส ได้แก่
1. อินโดนีเซีย จำนวน 322,607950,180 โดส (67.6%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Sinovac, AstraZeneca, Moderna และ Sinopharm
2. เวียดนาม จำนวน 182,102,962 โดส (81%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca, Pfizer, Moderna และ Sinopharm
3. ฟิลิปปินส์ 127,617,088 โดส (54.6%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Sinovac, Pfizer, Sputnik V, Moderna, J&J และ AstraZeneca
4. ไทย จำนวน 116,878,247 โดส (79.3%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Pfizer, Sinovac, AstraZeneca และ Sinopharm
5. มาเลเซีย จำนวน 63,914,165 โดส (79.9%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Pfizer, AstraZeneca และ Sinovac
6. พม่า จำนวน 41,196,433 โดส (40.6%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca และ Sinopharm
7. กัมพูชา จำนวน 34,411,606 โดส (84.9%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Sinopharm, AstraZeneca, J&J และ Sinovac
8. สิงคโปร์ จำนวน 12,870,890 โดส (91%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Pfizer, Moderna และ Sinovac
9. ลาว จำนวน 8,949,912 โดส (64.9%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Sinopharm, Sputnik V, Pfizer, J&J, Sinovac และ AstraZeneca
10. บรูไน จำนวน 979,285 โดส (94.8%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca และ Sinopharm
* คำนวณจากจำนวนฉีด/จำนวนประชากร อย่างน้อย 1 เข็ม
7. จำนวนการฉีดวัคซีนแยกตามภูมิภาค
1. เอเชียและตะวันออกกลาง 69.5%
2. ยุโรป 10.44%
3. อเมริกาเหนือ 8.79%
4. ลาตินอเมริกาและแคริบเบียน 7.14%
5. แอฟริกา 3.52%
6. โอเชียเนีย 0.62%
8. ประเทศที่ฉีดวัคซีนแล้วมากที่สุด 5 ประเทศลำดับแรกที่ฉีดวัคซีนมากกว่า 100 ล้านโดส รวมกันเกือบ 70% ของปริมาณการฉีดวัคซีนทั่วโลก
1. จีน จำนวน 3,009.90 ล้านโดส (212.8% ของจำนวนโดสที่ฉีดต่อประชากร)
2. อินเดีย จำนวน 1,694.51 ล้านโดส (122.9%)
3. สหรัฐอเมริกา จำนวน 542.04 ล้านโดส (161.7%)
4. บราซิล จำนวน 367.78 ล้านโดส (173.7%)
5. อินโดนีเซีย จำนวน 322.95 ล้านโดส (117.1%)
9. ประเทศที่ฉีดวัคซีนครอบคลุมประชากรมากที่สุด มี 10 ประเทศที่ฉีดวัคซีนให้กับประชากรอย่างน้อย 25% แล้ว ได้แก่ (เฉพาะประเทศที่มีประชากรมากกว่า 500,000 คน)
1. คิวบา (303.1%) (ฉีดวัคซีนของ Abdala และ Soberana02)
2. สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (255.3%) (ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca/Oxford, Pfizer/BioNTech, Sinopharm และ Gamaleya)
3. ชิลี (241%) (ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca/Oxford, CanSino, Pfizer/BioNTech และ Sinovac)
4. บาห์เรน (228.7%) (ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca/Oxford, Pfizer/BioNTech, Sinopharm และ Gamaley)
5. เกาหลีใต้ (225.4%) (ฉีดวัคซีนของ Pfizer/BioNTech J&J AstraZeneca/Oxford และ Moderna)
6. เดนมาร์ก (225.2%) (ฉีดวัคซีนของ Pfizer/BioNTech Moderna และ J&J)
7. มัลดีฟส์ (224.8%) (ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca/Oxford, Pfizer/BioNTech และ Sinopharm)
8. บรูไน (222.1%) (ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca/Oxford และ Sinopharm)
9. กาตาร์ (221.9%) (ฉีดวัคซีนของ Pfizer และ Moderma)
10. สิงคโปร์ (218.6%) (ฉีดวัคซีนของ Pfizer/BioNTech Moderna และ Sinovac)
แหล่งข้อมูล Bloomberg Vaccine Tracker, กระทรวงสาธารณสุข
ประมวลข้อมูลโดย กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
ที่มา : สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
เผยแพร่โดย : นางสาวสุวดี เหมือนอ้น
กลุ่มสื่อสารองค์กร กองกลาง
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3880
Facebook : @MHESIThailand
Twitter : @MHESIThailand
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.