ขึ้นชื่อว่า “อาหารฉายรังสี” หลายคนอาจจะนึกกลัวว่าอาจเป็นอันตรายต่อร่างกายแต่ในความเป็นจริงแล้วอาหารฉายรังสีไม่น่ากลัวอย่างที่คิด อาหารฉายรังสีอาจมีอีกหลายอย่างที่คุณไม่เคยรู้มาก่อน
เปิด 6 เรื่องควรรู้เกี่ยวกับอาหารฉายรังสี ดังนี้
- อาหารฉายรังสี เป็นกระบวนการถนอมอาหารรูปแบบหนึ่ง โดยผ่านพลังงานไปยังอาหาร เพื่อทำลายเชื้อโรคที่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค และยืดอายุอาหาร โดยไม่มีการปนเปื้อนสารกัมมันตรังสี อาหารฉายรังสีจึงไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค และได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
- ประเภทของอาหารที่ต้องนำมาฉายรังสี ต้องได้รับการอนุญาตจากองค์กรอาหารและยา (อย.) ก่อน จึงจะสามารถนำมาฉายรังสีได้และต้องฉายรังสีในปริมาณที่เหมาะสมตามที่กฏหมายกำหนด
- ทำไมต้องฉายรังสีในอาหาร เพราะการฉายรังสีในอาหาร ช่วยยับยั้งการงอกระหว่างการเก็บรักษา, ชะลอการสุกของผักและผลไม้, ควบคุมการแพร่พันธุ์ของแมลง, ลดปริมาณของปรสิต, ช่วยยืดอายุในการเก็บรักษา และช่วยลดปริมาณจุลินทรีย์รวมถึงกำจัดจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคอีกด้วย
- การฉายรังสีในอาหารมีผลช่วยในธุรกิจการส่งออกอาหารได้อีกด้วย เพราะสามารถยืดอายุวัตถุดิบได้ซึ่งเอื้อต่อการส่งออกที่ต้องใช้ระยะเวลานาน
- ในการเลือกซื้ออาหารฉายรังสี สามารถสังเกตง่ายๆ ได้จากสัญลักษณ์ ‘RADURA’ ที่จะติดอยู่เสมอ
- อาหารบางชนิด ไม่สามารถนำไปฉายรังสีได้เพราะอาจทำให้เกิดปัญหาในเรื่องของรสชาติและคุณสมบัติที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น อาหารประเภทนม หรืออาหารที่มีไขมันสูง เป็นต้น
จากเรื่องจริงของอาหารฉายรังสีที่ 6 ข้อนี้ สามารถช่วยยืนยันได้ว่า อาหารฉายรังสีนั้น ปลอดภัยต่อผู้บริโภคและหากต้องการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับความรู้เรื่องรังสีและนิวเคลียร์
สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.tint.or.th
ที่มา : สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (สทน.)
เผยแพร่โดย : นางสาวสุวดี เหมือนอ้น
กลุ่มสื่อสารองค์กร กองกลาง
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3880
Facebook : @MHESIThailand
Twitter : @MHESIThailand
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.