อว. พารู้จัก กระจูด คืออะไร จากโครงการ “กระจูดแก้จน” ที่ ม.ทักษิณ ได้พัฒนาพัทลุงโมเดล “กระจูดแก้จน” พัฒนาต่อยอดกระเป๋าสานลวดลายต่างๆ จากกระจูด สร้างรายได้ สร้างอาชีพให้กับชาวพัทลุง ว่าแต่ กระจูด คืออะไรกันนะ วันนี้ อว. จะพาไปรู้จักกับกระจูด พืชพื้นถิ่นของทางภาคใต้กันครับ
“กระจูด” เป็นวัชพืชที่เจริญเติบโตง่าย และแพร่พันธุ์ได้เร็ว พบมากแถบภาคตะวันออก และภาคใต้ของประเทศไทย ต้นกระจูด ชอบขึ้นในที่ ๆ มีน้ำขังอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะบริเวณริมทะเลสาบที่เป็นดินโคลน การเพาะปลูกต้องใช้ระยะเวลาประมาณ 3 ปี ต้นจึงจะโตได้ขนาดที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
เดิม “กระจูด ของจังหวัดพัทลุงถูกส่งออกไปขายต่างจังหวัดในรูป “วัตถุดิบ” ต่อมาเริ่มใช้กระจูดในการสานเสื่อ ทำใบเรือ ทำเชือก และทำกระสอบบรรจุสินค้าเกษตรและสิ่งของอื่นๆ
โดย ม.ทักษิณ มีการพัฒนา “พัทลุงโมเดล” ได้รับการสนับสนุนจากกระทรวง อว. ภายใต้ชื่อโครงการ “กระจูดแก้จน” เปิดโอกาสให้คนจนเข้าสู่กระบวนการของโครงการด้วยการสมัครใจเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาความรู้ คุณภาพชีวิต และสร้างรายได้เพิ่ม โดยมีศูนย์หัตถกรรมกระจูดวรรณีเป็นผู้ขับเคลื่อนหลัก
- มีการพัฒนาและสร้างผลิตภัณฑ์ต้นแบบเชิงสร้างสรรค์ (Production)
- การยกระดับการพัฒนาผลิตภัณฑ์แบบยั่งยืน (Design/ Branding)
- การพัฒนาการตลาดในยุคดิจิทัล (Marketing/ Selling)
เพิ่มทุนเศรษฐกิจ มีช่องทางการหารายได้ระหว่างทาง คือ สามารถนำกระเป๋ากระจูดที่สานที่บ้านมาฝึกทดลองขายผ่านออนไลน์ มีการนำความรู้ที่ผ่านการอบรมมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ของกลุ่มที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่โดดเด่นและสวยงาม เช่น ใช้สีธรรมชาติสำหรับกระบวนการย้อม การคิดค้นลวดลายใหม่ที่สอดคล้องกับบริบทพื้นที่ เช่น ลายเกลียวคลื่น ลายดอกบัว เป็นต้น
ช่องทาง Social Media ของเรา
✔️ Instagram : https://www.instagram.com/mhesi_thailand/
✔️ Tiktok : https://www.tiktok.com/@mhesi_thailand
✔️ Twitter : https://twitter.com/MHESIThailand
เผยแพร่โดย : นางสาวสุวดี เหมือนอ้น
กลุ่มสื่อสารองค์กร กองกลาง
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3880
Facebook : @MHESIThailand
Twitter : @MHESIThailand
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.