วช. นำคณะนักประดิษฐ์/นักวิจัยไทยคว้ารางวัลจากการประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมระดับนานาชาติ ในงาน “2022 Shanghai International Invention and Innovation Exhibition” ในรูปแบบออนไลน์ ณ นครเซี่ยงไฮ้ สาธารณรัฐประชาชนจีน
ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เปิดเผยว่า ด้วยความร่วมมือกับหน่วยงานเครือข่ายพันธมิตร สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม นำคณะนักประดิษฐ์/นักวิจัยไทยจาก 13 หน่วยงานคว้ารางวัลระดับนานาชาติจากงาน “2022 Shanghai International Invention and Innovation Exhibition” กำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 14 - 16 เมษายน 2565 ณ นครเซี่ยงไฮ้ สาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งเป็นการประกวดและนำเสนอผลงานในรูปแบบออนไลน์ โดยในปีนี้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 6 โดย World Invention Intellectual Property Associations (WIIPA) หน่วยงานนานาชาติด้านการส่งเสริมสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมแห่งไต้หวัน โดยมีนักวิจัย/นักประดิษฐ์จากนานาประเทศนำผลงานเข้าร่วมประกวดและจัดแสดงในงานดังกล่าว
ซึ่งในปีนี้ เป็นที่น่ายินดีเป็นอย่างยิ่งที่นักวิจัย/นักประดิษฐ์ไทย สามารถคว้ารางวัลพิเศษของงาน คือ WIIPA SPECIAL AWARD ได้ถึง 3 รางวัล รวมถึงรางวัลเหรียญทอง จำนวน 9 รางวัล รางวัลเหรียญเงิน จำนวน 9 รางวัล และรางวัลเหรียญทองแดง จำนวน 8 รางวัล โดยมีรายละเอียดดังนี้
รางวัลเหรียญทอง จำนวน 9 ผลงาน ดังนี้
1. “การสังเคราะห์อนุภาคทอง ขนาดนาโนโดยใช้คลื่นไมโครเวฟ จากสารสกัดเพกา เพื่อใช้ในงานสิ่งแวดล้อม” โดย รองศาสตราจารย์ ดร.สุภกร บุญยืน และคณะ แห่ง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ได้รับรางวัล WIIPA SPECIAL AWARD
2. “เคพีเอส ชีวภัณฑ์กำจัดวัชพืชแบบเลือกทำลายเพื่อควบคุมผักตบชวา” โดย รองศาสตราจารย์ ดร.จินตนา อันอาตม์งาม และ ดร.อาร์ม อันอาตม์งาม แห่ง คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสนได้รับรางวัล WIIPA SPECIAL AWARD
3. “นวัตกรรมอนุภาคนาโนพอลิเมอร์ฐานชีวภาพหลายหน้าที่สำหรับเป็นสารลดแรงตึงผิวชนิดอนุภาคต้านเชื้อจุลชีพและลดการเกิดฟอง” โดย รองศาสตราจารย์ ดร.อมร ไชยสัตย์ แห่ง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
4. “การผลิตและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพจากแป้งกล้วยดิบและขมิ้นชัน สำหรับผู้ที่มีภาวะ metabolic syndrome และเพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็ง” โดย รองศาสตราจารย์ ดร.รัชดา เครสซี่ และคณะ แห่ง คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
5. “การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์จากมะม่วงหิมพานต์ในรูปอาหารสุขภาพ” โดย ศาสตราจารย์ ดร.จินตนาภรณ์ วัฒนธร และคณะ แห่ง คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
6. “การพัฒนาผลิตภัณฑ์สเปรย์พ่นปากผสมสารสกัดฟ้าทะลายโจรป้องกันการติดเชื้อไวรัส” โดย รองศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกรเนติ วระนุช และคณะ แห่ง สถานวิจัยเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ มหาวิทยาลัยนเรศวร
7. “การพัฒนายาทางชีวภาพในการรักษาภาวะเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังอักเสบด้วยระบบนำส่งสารในรูปแบบนาโนเจลของ Hyaluronic acid polymers บรรจุสารสกัดจากพลูคาว (Houttuynia cordata Thunb.)” โดย นางสาวพรพรรณ โฉมวงษ์ และคณะ แห่ง โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ปทุมธานี
8. “การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันอย่างง่ายในการจำแนกโรคที่มีความอันตรายในมันสำปะหลังโดยใช้เทคนิคการเรียนรู้เชิงลึก” โดย นายขุนทอง คล้ายทอง และคณะแห่ง โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ปทุมธานี
9. “การเสริมฤทธิ์ของสารสกัดสมุนไพรสาบเสือร่วมกับกะเม็งต่อกระบวนการแข็งตัวของเลือดและการสมานแผล เพื่อเป็นข้อมูลในการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ห้ามเลือดและสมานแผล” โดย นางสาวช่อรัก วงศ์สวรรค์ และคณะ แห่ง โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ปทุมธานี ได้รับรางวัล WIIPA SPECIAL AWARD
รางวัลเหรียญเงิน จำนวน 9 ผลงาน ดังนี้
1. “เครื่องสูบน้ำท่อเขย่าคู่พลังงานแสงอาทิตย์” โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ธนิท เรืองรุ่งชัยกุล และ นายกฤชนนท์ สวนจันทร์ แห่ง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
2. “ไอโซออเรียนติน จากสารสกัดใบไผ่ เพื่อพัฒนาเป็นครีมบารุงและครีมกันแดด” โดย รองศาสตราจารย์ ดร.สุภกร บุญยืน และคณะ แห่ง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
3. “สารยับยั้งการกินจากสารสกัดสะค้าน (Piper ribesioides) และ พลูคาว (Houttuynia cordata) ต่อหนอนกระทู้หอม” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐชยา คำรังษี และคณะ แห่ง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
4. “ออโรร่าเยลลี่: เยลลี่สารสกัดกลีบบัวหลวงเสริมภูมิคุ้มกัน” โดย ดร.รุ่งนภา ศรานุชิต และคณะ แห่ง คณะการแพทย์บูรณาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
5. “Begining Fresh (BF)” โดย ดร.เอนก หาลี และคณะ แห่ง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
6. “กล่องอัจฉริยะปรับยูนิตอินซูลินและแจ้งเตือนสำหรับผู้มีความบกพร่องทางการมองเห็น” โดย นายเปรม รักษ์ศิริวณิช และคณะ แห่ง โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย
7. “การพัฒนาถุงเพาะชำย่อยสลายได้สำหรับต้นมะเขือเทศพันธุ์ golden honey bunch ด้วยกากกาแฟร่วมกับเถ้าแกลบดำโดยมีแป้งมันสำปะหลังเป็นวัสดุประสาน” โดย นายขุนทอง คล้ายทอง และคณะ แห่ง โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ปทุมธานี
8. “การผลิตแบตเตอรี่สำรองแบบย่อยสลายได้โดยใช้กระบวนการผลิตกระแสไฟฟ้าจากเซลล์ กัลป์วานิ กระหว่างขั้วซิลิกาและน้ำขี้เถ้าจากแกลบกับขั้วโลหะทองแดงและสารละลายคอปเปอร์(II)ซัลเฟต” โดย นางสาววิริยา ตาสี และคณะแห่ง โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เลย
9. “การศึกษาประสิทธิภาพของตัวเก็บประจุที่ผลิตจากเส้นใยนาโนที่ได้จากแบคทีเรีย” โดย นางสาววิริยา ตาสี และคณะ แห่ง โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เลย
รางวัลเหรียญทองแดง จำนวน 8 ผลงาน ดังนี้
1. “ผลิตภัณฑ์จากรถม้า เอกลักษณ์เมืองลำปาง” โดย นางสาวนันทิยา สมสรวย และคณะ แห่ง มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
2. “เครื่องดักแมลงวันทองอัจฉริยะ แบบใช้ความร้อนกระจายกลิ่นเป็นตัวล่อ (ใช้การตั้งเวลาหรือใช้ความชื้นสัมพัทธ์ควบคุมการกระจายกลิ่น)” โดย เด็กชายโปรดปราน จันธรรมาพิทักษ์ และ เด็กหญิงเปรียบปราณ จันธรรมาพิทักษ์ แห่ง โรงเรียนอินเตอร์ทอทส์ไตรลิงกวล
3. “บีซีซี PBR แอปพลิเคชั่นฟื้นฟูสมรรถภาพทางกายสำหรับผู้ป่วยพาร์กินสัน“ โดย นายชัชพล อภิพัฒน์สกุล และคณะ แห่ง โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย
4. “ฆ้องวงใหญ่ไฟฟ้า” โดย นายศรุต อารีรัตนเวช และคณะ แห่ง โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย พิษณุโลก
5. “เครื่องดูดควันประหยัดพลังงาน” โดย นายเลิศดิลก แซ่ลก และคณะ แห่ง โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย พิษณุโลก
6. “การพัฒนาอุปกรณ์ช่วยในการกายภาพบำบัดเบื้องต้นด้วย Body Tracking สำหรับผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม” โดย นางสาวสุพรรษา เบ็ญมาศ และคณะ แห่ง โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ปทุมธานี
7. “การศึกษาและพัฒนาการค้นหาดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะด้วยวิธี Transit Photometry” โดย นายวิเชียร ดอนแรม และคณะ แห่ง โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ชลบุรี
8. “กินไรดี” โดย นางสาวพริ้วฝน เทียนศรี และคณะ แห่ง โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม
ที่มา : สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
เผยแพร่โดย : นางสาวสุวดี เหมือนอ้น
กลุ่มสื่อสารองค์กร กองกลาง
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3880
Facebook : @MHESIThailand
Twitter : @MHESIThailand
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.