ธนาคารทรัพยากรชีวภาพแห่งชาติ สนับสนุนการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทรัพยากรชีวภาพอย่างยั่งยืน
ช่วงปีที่ผ่านมามีข่าวที่น่าตื่นเต้นในวงการอนุรักษ์ทรัพยากรชีวภาพ เช่น นักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกันสามารถโคลนนิงเฟอร์เรตตีนดำ (Black-footed Ferret) สัตว์ใกล้สูญพันธุ์จากตัวอย่างเนื้อเยื่อที่เก็บรักษาไว้นานกว่า 30 ปี และนักวิทยาศาสตร์ชาวรัสเซียสามารถคืนชีวิตให้ต้น ไซลีน สเต็นโอฟิลลา (Silene stenophylla) ที่สูญพันธุ์ไปแล้วจากเมล็ดที่ผ่านการแช่แข็งตามธรรมชาติมานานนับหมื่นปี
'แล้วจะดีหรือไม่หากประเทศไทยจะมีโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสนับสนุนการอนุรักษ์ทรัพยากรชีวภาพของประเทศในระยะยาวได้เช่นกัน'
สวทช. ก่อตั้งธนาคารทรัพยากรชีวภาพแห่งชาติ (National Biobank of Thailand: NBT) เพื่อเป็นโครงสร้างพื้นฐานของประเทศในการสนับสนุนการอนุรักษ์ทรัพยากรชีวภาพแบบระยะยาว (Long-term Conservation) และเป็นคลังทรัพยากรชีวภาพสำรองให้แก่ประเทศ (Long-term Biobanking Facility) สำหรับรับมือกับวิกฤติการณ์ต่างๆ ที่อาจทำให้เกิดการสูญเสียทรัพยากรชีวภาพไปอย่างถาวร
โดย NBT ได้พัฒนาองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องและใช้เทคโนโลยีมาตรฐานเพื่อยกระดับการอนุรักษ์ในประเทศไทยให้มีประสิทธิภาพสูง เพื่อให้เกิดการนำข้อมูลทรัพยากรชีวภาพที่จัดเก็บไปใช้ประโยชน์ต่อยอดในภาคส่วนต่างๆ อย่างยั่งยืน
อ่านต่อได้ที่: https://www.nstda.or.th/.../national-biobank-of-thailand.../
ข้อมูล : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
เผยแพร่โดย : นางสาวสุวดี เหมือนอ้น
กลุ่มสื่อสารองค์กร (สอ.)
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3880
E-mail : pr@mhesi.go.th
Facebook : @MHESIThailandth
Instagram : mhesi_thailand
Tiktok : mhesi_thailand
Twitter : @MHESIThailand
Call Center โทร.1313
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.