6 ส่วนประกอบสำคัญที่ช่วยให้ดาวเทียม THEOS-2A ทำงานเต็มศักยภาพ
THEOS-2A หรือ ‘ดาวเทียมเล็ก’ ที่อยู่ภายใต้โครงการระบบ THEOS-2 ซึ่งทีมวิศวกรดาวเทียมของไทยได้ร่วมออกแบบและพัฒนา คงเป็นอีกหนึ่งอย่างที่หลาย ๆ คนจับตามองเป็นพิเศษ แต่รู้หรือไม่ครับว่า กว่าดาวเทียมจะเป็นรูปร่างเสร็จสมบูรณ์มีส่วนประกอบหลัก ๆ 6 อย่างด้วยกัน
(1) สายอากาศแบบ Whip ที่ใช้ตรวจจับสัญญาณเรือ
(2) สายอากาศแบบ Patch สำหรับใช้ระบุตำแหน่งดาวเทียมจากสัญญาณดาวเทียม GNSS
(3) วงแหวนเชื่อมต่อระหว่างดาวเทียมกับจรวดนำส่ง
(4) เซนเซอร์วัดมุมแสงอาทิตย์ หาค่ามุมที่อ้างอิงกับทิศทางการเคลื่อนที่ของดาวเทียม
(5) แผงโซลาร์เซลล์ ที่ทำหน้าที่รับพลังงานจากแสงอาทิตย์และเก็บไว้ชาร์ตเข้าระบบแบตเตอรี่ของดาวเทียม
(6) กล้องถ่ายภาพ เป็นกล้องถ่ายภาพสีรายละเอียดสูง ขนาด 1.18 เมตรต่อพิกเซล ที่ความสูง 550 กิโลเมตรจากพื้นโลก ทำหน้าที่บันทึกภาพถ่ายดาวเทียมซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของภารกิจ
ส่วนประกอบทั้งหมดนี้เองที่เป็นส่วนช่วยให้ดาวเทียมเล็กสามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ และช่วยซัพพอร์ตให้ภารกิจในการติดตาม สำรวจ และตรวจสอบเชิงพื้นที่ สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี
ที่มา : สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (สทอภ.)
เผยแพร่โดย : นางสาวสุวดี เหมือนอ้น
กลุ่มสื่อสารองค์กร (สอ.)
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3880
E-mail : pr@mhesi.go.th
Facebook : @MHESIThailandth
Instagram : mhesi_thailand
Tiktok : mhesi_thailand
Twitter : @MHESIThailand
Call Center โทร.1313
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.