ปัจจุบันปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่ได้รับผลกระทบจากบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่กลายมาเป็นขยะพลาสติกย่อยสลายยาก หรือไม่ย่อยสลายเลยในธรรมชาติ กลายมาเป็นปัญหาใหญ่ที่ทุกหน่วยงานต้องหันมาสนใจกันอย่างจริงจัง
ดังนั้นบริษัทใหญ่ๆ หลายบริษัทจึงได้หันมามองหาการผลิตภาชนะบรรจุที่สามารถย่อยสลายได้ง่าย ในเวลาอันรวดเร็ว พร้อมทั้งยังสามารถทนความร้อนได้และมีความคงทนมากพอในการใช้บรรจุทางสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (สทน.) จึงได้ทำการจัดตั้งห้องปฏิบัติการปรับปรุงคุณสมบัติของพอลิเมอร์ด้วยรังสี ซึ่งเป็นการนำรังสีมาประยุกต์ใช้ในการปรับปรุงคุณสมบัติของพอลิเมอร์ไม่ว่าจะเป็นพอลิเมอร์ธรรมชาติ หรือ พอลิเมอร์สั่งเคราะห์ โดยมีเครื่องมือที่สำคัญพร้อมสำหรับการวิจัยทั้งเครื่องวัดที่ใช้ในการผสมเม็ดพลาสติก และเครื่องฉายรังสีแกมมาเพื่อผลิตพอลิเมอร์ที่มีคุณสมบัติ เพียงพอตามความต้องการในภาคอุตสาหกรรมนั่งเอง
สำหรับงานวิจัยที่สำเร็จไปแล้วได้แก่ โครงการ “การขยายขอบเขตของการนำพอลิแลกติกแอซิด (polylactic acid) พลาสติกชีวภาพที่ทรงศักยภาพที่สุด ไปประยุกต์ใช้ทางอุตสาหกรรม โดยกรรมวิธีทางรังสี” ซึ่งพอลิเมอร์ PLA หรือ Polylactic acid เป็นพอลิเมอร์ที่ได้รับความสนใจ จากนักวิจัยเป็นอย่างมาก เพราะสามารถย่อยสลายได้ทางชีวภาพและยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ทางทีมวิจัยของ สทน. จึงมีการนำเอา PLA ไปทดลองต่อยอดความเป็นไปได้ในการผลิตภาชนะ พอลิเมอร์ทนความร้อนสูงและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมต่อไป โดยผู้ที่สนใจในเรื่องรังสีและนิวเคลียร์ รวมทั้งการให้บริการของทาง สทน. สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.tint.or.th
ที่มา : สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (สทน.)
เผยแพร่โดย : นางสาวสุวดี เหมือนอ้น
กลุ่มสื่อสารองค์กร (สอ.)
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3880
E-mail : pr@mhesi.go.th
Facebook : @MHESIThailandth
Instagram : mhesi_thailand
Tiktok : mhesi_thailand
Twitter : @MHESIThailand
Call Center โทร.1313
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.