อนุรักษ์ ‘พันธุ์ฟักทองไข่เน่า’ พืชอัตลักษณ์เมืองน่าน
ไข่เน่า คือ ชื่อฟักทองพันธุ์ท้องถิ่นที่คนน่านปลูกกันรุ่นต่อรุ่นนานกว่า 3 ช่วงอายุคน ชื่อไข่เน่ามีที่มาจาก ‘สีเขียวขี้ม้าแลคล้ายไข่เน่า’ ของเนื้อฟักทองที่แสนอร่อย เหนียว หนึบ และหวานมันกำลังดี อย่างไรก็ตามแม้คนน่านจะยืนยันในความอร่อยกันมากเท่าไหร่ แต่ที่ผ่านมา 'ฟักทองพันธุ์ไข่เน่า' ก็ไม่ได้เป็นที่รู้จักแพร่หลายนอกจังหวัดนัก เพราะฟักทองพันธุ์ไข่เน่าเป็นพันธุ์ท้องถิ่นที่มีการการกลายพันธุ์สูง การที่เกษตรกรจะปลูกให้ได้ผลผลิตที่มีลักษณะและรสชาติคงที่ทำได้ยากเหมือน ‘เสี่ยงดวง’ กระทั่งช่วง 6 ปีที่ผ่านมา เกษตรจังหวัดน่านเล็งเห็นโอกาสหยิบยกเอาฟักทองสายพันธุ์ท้องถิ่นนี้มาพัฒนายกระดับการผลิตแบบครบวงจรตั้งแต่ต้นน้ำสู่ปลายน้ำ ด้วยหวังว่าการยกระดับครั้งนี้จะเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญสู่การทำเกษตรอินทรีย์อย่างยั่งยืน การมีรายได้ที่มั่นคงและมั่งคั่ง และที่สำคัญคือการได้ฟื้นคืนเขาหัวโล้นสู่ป่าต้นน้ำอีกครั้ง ความร่วมมืออย่างเข้มแข็งของทุกภาคส่วนนำมาซึ่งการอนุรักษ์และสร้างมูลเพิ่มให้ฟักทองพันธุ์ไข่เน่าแบบครบวงจร และยังส่งผลให้เริ่มเกิดการฟื้นฟูป่าต้นน้ำจังหวัดน่านอย่างเห็นผลเป็นรูปธรรม การดำเนินงานนี้นับเป็นหนึ่งในตัวอย่างสำคัญของการนำโมเดลเศรษฐกิจ BCG มาใช้ยกระดับการทำเกษตรตั้งแต่ฐานราก เป็น Impact Value Chain ที่เป็นต้นแบบการยกระดับการทำการเกษตรแก่ชุมชนอื่นๆ ของประเทศไทยได้
อ่านต่อได้ที่: https://www.nstda.or.th/.../bcg-delight-fak-thong-kai-na
ที่มา : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
เผยแพร่โดย : นางสาวสุวดี เหมือนอ้น
กลุ่มสื่อสารองค์กร (สอ.)
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3880
E-mail : pr@mhesi.go.th
Facebook : @MHESIThailandth
Instagram : mhesi_thailand
Tiktok : mhesi_thailand
Twitter : @MHESIThailand
Call Center โทร.1313
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.