อว. 3 ปีกับการปฏิรูปการอุดมศึกษา การปรับปรุงมาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2565 “จัดการการอุดมศึกษาที่มีความยืดหยุ่น รองรับการเปลี่ยนแปลง ส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิต”
ในปี 2565 คณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา ได้มีการประกาศเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรทั้งระดับอนุปริญญา ปริญญาตรี และ บัณฑิตศึกษา รวม 3 ฉบับ เพื่อสนับสนุนให้มีการจัดการการอุดมศึกษาที่มีความยืดหยุ่น รองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างทันท่วงที มุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพของบัณฑิตให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลก เป็นกำลังคนที่มีคุณภาพ และส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดการศึกษาตลอดชีวิต (Lifelong Learning) รวมถึงการให้ความเป็นอิสระแก่สภาสถาบันอุดมศึกษาในการบริหารจัดการการศึกษามากยิ่งขึ้น โดยสอดคล้องกับแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษาของชาติ และมาตรฐานวิชาการและวิชาชีพที่เป็นสากล
สาระสำคัญที่เปลี่ยนแปลงและแตกต่างไปจากเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรปี 2558
? อาจารย์ประจำ อาจารย์ประจำหลักสูตร และอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร ไม่จำเป็นต้องเป็น บุคลากรสายวิชาการ (อาจารย์ ผศ. รศ. ศ.) ของสถาบันอุดมศึกษานั้นเท่านั้น
? สภาสถาบันอุดมศึกษา สามารถกำหนดคุณวุฒิที่สัมพันธ์กับสาขาวิชาของหลักสูตรได้
? คุณสมบัติของ อาจารย์พิเศษ เปิดกว้างมากขึ้น โดยคุณสมบัติสามารถขึ้นกับความรู้และประสบการณ์เป็นที่ยอมรับซึ่งตรงหรือสัมพันธ์กับวิชาที่สอน โดยผ่านความเห็นชอบของสภาสถาบันอุดมศึกษา ทั้งนี้ไม่กำหนดวุฒิการศึกษาเหมือนที่กำหนดไว้ในเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรปี 2558 นอกจากนี้อาจารย์พิเศษ สามารถมีชั่วโมงการสอนไม่จำกัด
วิชาศึกษาทั่วไปในหลักสูตรอนุปริญญา และปริญญาตรี ลดลงจาก 30 หน่วยกิต (ตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร 2558) เหลือ 24 หน่วยกิต
? และเปิดกว้างให้สถาบันอุดมศึกษาสามารถออกแบบรายวิชาศึกษาทั่วไปได้เอง ดังนี้
- สภาสถาบันอุดมศึกษา สามารถให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม อาจารย์ผู้สอบวิทยานิพนธ์ โดยที่ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกนั้นไม่จำเป็นต้องมีคุณวุฒิหรือผลงานทางวิชาการ แต่มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์สูงเป็นที่ยอมรับซึ่งตรงหรือสัมพันธ์กับหัวข้อวิทยานิพนธ์หรือการค้นคว้าอิสระ นักวิจัยประจำในสถาบันอุดมศึกษา (ไม่ได้เป็นตำแหน่ง อาจารย์ ผศ. รศ. ศ.) สามารถเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาร่วมและอาจารย์ผู้สอบวิทยานิพนธ์ได้
- ผลงานที่ใช้เพื่อสำเร็จการศึกษาของนักศึกษาระดับปริญญาโทและปริญญาเอก จะไม่จำกัดเฉพาะผลงานตีพิมพ์เท่านั้น เหมือนเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร ปี 2558 แต่สามารถใช้ผลงานนวัตกรรม สิทธิบัตร หรือผลงานสร้างสรรค์มาทดแทนได้ ตามที่สภาสถาบันอุดมศึกษากำหนด
- สภาสถาบันอุดมศึกษา สามารถกำหนดระบบการประกันคุณภาพหลักสูตรที่เหมาะสมได้ (ไม่ได้กำหนดด้านองค์ประกอบในการประกันคุณภาพ เช่น เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร ปี 2558)
- สภาสถาบันอุดมศึกษาสามารถออกแบบระบบการจัดการศึกษา ที่เหมาะสมได้ อาทิเช่น ภาคการศึกษา การจัดการศึกษาเป็นชุดวิชา (Module) ระยะเวลาการศึกษา และเกณฑ์การจบการศึกษา เป็นต้น
- สถาบันอุดมศึกษาสามารถเลือกจัดการการศึกษาระดับอนุปริญญาโดยมีระเวลาการศึกษา 2 ปี หรือ 3 ปี
เผยแพร่โดย : นางสาวสุวดี เหมือนอ้น
กลุ่มสื่อสารองค์กร (สอ.)
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3880
E-mail : pr@mhesi.go.th
Facebook : @MHESIThailandth
Instagram : mhesi_thailand
Tiktok : mhesi_thailand
Twitter : @MHESIThailand
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.