1. ยกระดับประเทศไทยพ้นจากกับดักรายได้ปานกลาง
การสร้างระบบนิเวศและปัจจัยเอื้อเพื่อสนับสนุนการพัฒนาวิสาหกิจฐานนวัตกรรม (Innovation-Driven Enterprises: IDEs) ที่มีศักยภาพเติบโตได้อย่างก้าวกระโดดอย่างยั่งยืน อาทิ ส่งเสริมให้เกิดการร่วมลงทุนของสถาบันอุดมศึกษา/สถาบันวิจัย กับภาคเอกชน โดยใช้กลไก University Holding Company เพื่อส่งเสริมการสร้างธุรกิจนวัตกรรมและ Deep-tech Startups การพัฒนา E-Commercial and Innovation Park เพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการนวัตกรรมให้สามารถขยายการผลิตและส่งสินค้าสู่ตลาดทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงจัดทำมาตรการและกลไกส่งเสริมผู้ประกอบการวิสาหกิจฐานนวัตกรรมสู่การเติบโตแบบก้าวกระโดด ด้วยการสร้างต้นแบบเครือข่ายที่ปรึกษาทางด้านธุรกิจนวัตกรรมและการลงทุนสำหรับผู้ประกอบการนวัตกรรมให้สามารถเข้าถึงตลาดโลกได้
การเตรียมความพร้อมรองรับอุตสาหกรรมแห่งอนาคตที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม
ผ่านการส่งเสริมอุตสาหกรรม Future Food การสร้างมูลค่าจากเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ส่งเสริมให้ไทยมีฐานการผลิตและบริการ รวมถึงยกระดับศักยภาพของผู้ประกอบการและบุคลากรด้าน Creative Content ตลอดจนสนับสนุน EV Conversion เพื่อแก้ปัญหาพลังงาน และเร่งเป็นประเทศที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์
2. ยกระดับเศรษฐกิจฐานรากและลดความเหลื่อมล้ำด้วย อววน.
การออกแบบกลไกสนับสนุนการเลื่อนสถานะทางสังคม ในประชากรฐานราก 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มเยาวชนจากกลุ่มฐานราก ให้มีหลักประกันโอกาสทางการศึกษาและเข้าสู่เส้นทางอาชีพ 2) กลุ่มคนวัยทำงานกลุ่มฐานราก ให้เข้าถึงตำแหน่งงานทักษะกลาง-สูง โดยเน้นยกระดับศักยภาพแรงงานเชื่อมโยงสู่การจ้างงาน และ 3) กลุ่มผู้ประกอบการชุมชน ส่งเสริมการสร้างผู้ประกอบการชุมชน เช่น การ Empower ชุมชนสู่ผู้ประกอบการท้องถิ่นฐานนวัตกรรม (Local Entrepreneurs) เป็นต้น
3. ลดก๊าซเรือนกระจก 10 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า
สร้างเมืองต้นแบบ : สระบุรี แม่เมาะ และระยอง
ให้เป็นจังหวัดต้นแบบที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ สร้างระบบเมืองน่าอยู่เชิงนิเวศน์ เพื่อลดปัญหาหมอกควันไฟป่า และสนับสนุนการทำงานของวิสาหกิจชุมชน
Green Campus
การพัฒนาเครือข่ายมหาวิทยาลัยในบทบาท Service Provider สนับสนุนการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของภาคส่วนต่างๆ โดยใช้ทรัพยากรของมหาวิทยาลัยในการลดก๊าซเรือนกระจกภายในมหาวิทยาลัย และการให้บริการ และ outreach สู่สังคมเพื่อบรรลุเป้าหมาย Net Zero Emission
4. สัดส่วนแรงงานทักษะสูง เพิ่มขึ้นเป็น 25% ในปี 2570
การพัฒนากำลังคนสมรรถนะสูงรองรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย
ผ่านการสร้างแพลตฟอร์มบูรณาการนโยบายพัฒนากำลังคนสมรรถนะสูงตอบการลงทุนภาคการผลิตและบริการ โดยออกแบบระบบสนับสนุนการพัฒนาแพลตฟอร์ม Upskill/Reskill/New Skill (URN): STEM One Stop Service (STEM-OSS) ระบบการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศไทย (E-Workforce Ecosystem (EWE) Platform) รวมทั้งจัดทำมาตรการส่งเสริมการพัฒนากำลังคนสมรรถนะสูง (บุคลากรทักษะขั้นสูง) และพัฒนาข้อเสนอกลไกการพัฒนาผู้มีความสามารถพิเศษด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ
?พลิกโฉมระบบการอุดมศึกษาให้ตอบโจทย์อนาคต
ปรับบทบาทของสถาบันอุดมศึกษาให้ตอบโจทย์การจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 แนวโน้มเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมในอนาคต ผ่านกลไก Higher education sandbox และจะนำร่องแพลตฟอร์มการพัฒนากำลังคนทักษะสูงในสาขาที่เป็นความต้องการของประเทศ ผ่านการจัดการศึกษารูปแบบใหม่ (Strategic sandbox) โดยจะศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลความต้องการกำลังคนทักษะสูง ในสาขาที่เป็นความต้องการสูงแบบเร่งด่วนของประเทศ และทดลองนำร่องกลไกในรูปแบบ Co-creation ระหว่างภาคการศึกษา ภาคผู้ประกอบการ และภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
5. ปฏิรูประบบการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
การจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาเฉพาะทางด้านศิลปะ สุนทรียะ อารยะ เพื่อเศรษฐกิจสร้างสรรค์
เพื่อทำหน้าที่บ่มเพาะวัฒนธรรมไทย ทั้งระดับชาติและระดับท้องถิ่น ศิลปะและการช่างชั้นสูง อนุรักษ์มรดกทางศิลปะและวัฒนธรรมของชาติ และสร้างมูลค่าเพิ่มจากผลงานเศรษฐกิจสร้างสรรค์ โดยมุ่งเน้นการสร้างคุณค่าและรักษารากวัฒนธรรมของชาติ
National Quality Infrastructure (NQI) : System Alignment
เพื่อการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศ รวมถึงการพัฒนาการบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพ การปรับปรุงการให้บริการ การปรับปรุงมาตรฐาน และการกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
เพราะทุกก้าวของประเทศสําคัญ เราจึงมุ่งมั่นสร้างสรรค์ผลลัพธ์ ด้วยพลังจากนโยบาย อววน.
ที่มา : สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.)
https://www.nxpo.or.th/th/15727/
เผยแพร่โดย : นางสาวสุวดี เหมือนอ้น
กลุ่มสื่อสารองค์กร (สอ.)
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3880
E-mail : pr@mhesi.go.th
Facebook : @MHESIThailandth
Instagram : mhesi_thailand
Tiktok : mhesi_thailand
Twitter : @MHESIThailand
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.