อว. 3 ปีกับการปฏิรูปวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอน ระดับพลังงาน 3 GeV “เครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนใหม่ แห่งแรกของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก”
“เครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอน” ถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์ที่สำคัญและได้รับการยอมรับจากประเทศที่พัฒนาแล้ว ประโยชน์ที่ประเทศได้รับจากการประยุกต์ใช้แสงซินโครตรอนไม่ว่าจะในแง่ของงานวิจัยขั้นพื้นฐาน งานด้านสิ่งแวดล้อม การวิจัยทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์ชีวภาพการพัฒนายารักษาโรค งานวิจัยเชิงอุตสาหกรรมและการเกษตร การพัฒนาทางด้านวัสดุศาสตร์ ด้านวิศวกรรมย้อนรอย ด้านนิติวิทยาศาสตร์ ด้านโบราณคดี ประกอบกับองค์ความรู้จากการพัฒนาเครื่องกำเนิดแสงสยาม จึงทำให้มีการต่อยอดสู่การออกแบบและพัฒนาเทตโนโลยีขึ้นเอง เพื่อยกระดับศักยภาพของเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอน สู่ระดับพลังงาน 3 GeV ด้วยฝีมือคนไทย โดยเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนที่จะจัดสร้างใหม่ มีค่าระดับพลังงาน 3 GeV ขนาดเส้นรอบวงประมาณ 321.3 เมตร โดยใช้เทคโนโลยี Double Triple Bend Achromat (DTBA) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย จะส่งผลให้แสงซินโครตรอนที่ได้มีความสว่างจ้าของแสงมากกว่าเดิม 1 ล้านเท่า รวมถึงสามารถรองรับระบบลำเลียงแสงได้สูงถึง 22 ระบบ จึงสามารถนำไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ด้านงานวิจัยได้หลากหลาย สถานที่ตั้งที่เหมาะสมทางยุทธศาสตร์ของเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนเครื่องใหม่นั้น จะตั้งอยู่ในพื้นที่เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor of Innovation: EECi) จังหวัดระยอง ด้วยเหตุผลทางด้าน
(1) ความมั่นคงทางธรณีวิทยา
(2) การเข้าถึงในแง่ของระบบขนส่งมวลชนและการคมนาคม
(3) ความใกล้เคียงกับเขตอุตสาหกรรม
(4) ความใกล้เคียงกับสถาบันวิจัยทางวิทยาศาสตร์และมหาวิทยาลัย และ
(5) ความร่วมมือและการร่วมทุน
ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่มุ่งเน้นโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก เป็นการผลักดันการลงทุนขนาดใหญ่ทำให้เศรษฐกิจไทยขยายตัว และก้าวสู่การเป็นประเทศพัฒนาแล้ว อย่างมั่นคงยั่งยืน
โครงการสร้างเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนระดับพลังงาน 3 GeV โดยสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน จะก่อให้เกิดผลประโยชน์ต่อประเทศ ซึ่งได้แก่ การสร้างคน สร้างงาน สร้างอาชีพ ตั้งแต่ขั้นตอนการก่อสร้างเครื่องฯ การออกแบบ การผลิตชิ้นส่วนต่างๆ ตลอดจนการดำเนินงานโครงการ นอกจากนี้เมื่อโครงการแล้วเสร็จยังสามารถให้บริการแก่ภาคเอกชนได้ อันจะก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจของประเทศ อีกไม่น้อยกว่าปีละ 6,000 ล้านบาท
เผยแพร่โดย : นางสาวสุวดี เหมือนอ้น
กลุ่มสื่อสารองค์กร (สอ.)
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3880
E-mail : pr@mhesi.go.th
Facebook : @MHESIThailandth
Instagram : mhesi_thailand
Tiktok : mhesi_thailand
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.