อว. 3 ปีกับการปฏิรูปวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม “ธัชชา” และ “ธัชวิทย์”
“บูรณาการข้ามศาสตร์ทั้งวิทย์ และศิลป์ ต่อยอดองค์ความรู้ สร้างมูลค่าเพิ่มให้เศรษฐกิจสร้างสรรค์ของประเทศ และด้านวิทยาศาสตร์ ของไทย แบบก้าวกระโดด ”
วิทยสถานสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทย (Thailand Academy of Social Sciences, Humanities and Arts: TASSHA) หรือ “ธัชชา” เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนการวิจัยและพัฒนาบุคลากรทางด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์ของประเทศ ไปสู่การสร้างคุณค่าและผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคมของชาติ โดยมุ่งเน้นให้เกิดผลต่อความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนของประเทศไทยด้วยเศรษฐกิจและวัฒนธรรมสร้างสรรค์ ในระยะแรกจะมุ่งดำเนินการใน 5 ประเด็น มุ่งเป้าที่สำคัญของประเทศไทย โดยมีสถาบันภายใน TASSHA ดังนี้
1) สถาบันสุวรรณภูมิศึกษา
2) สถาบันโลกคดีศึกษา
3) สถาบันเศรษฐกิจพอเพียง
4) สถาบันพิพิธภัณฑ์ศิลปกรรมแห่งชาติ
5) สถาบันช่างศิลป์ท้องถิ่น
ในปี 2565 ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการขับเคลื่อนการพัฒนาด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์ของประเทศกับสำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม และกรมศิลปากร และลงนามกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และหอการค้าไทย เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนโครงการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์สร้างสรรค์ การดำเนินการที่สำคัญ อาทิ การลงพื้นที่เพื่อทําการวิจัย ในพื้นที่ Land bridge คอคอดกระที่เชื่อมระหว่างซีกโลกตะวันออกและซีกโลกตะวันตก จังหวัดชุมพร ซึ่งจากการวิจัย ได้ค้นพบแหล่งผลิตลูกปัด ในระดับอุตสาหกรรมซึ่งมีอายุกว่า 2,000 ปี และเป็นการสืบค้นที่มีหลักฐานชัดเจน และมีการค้นพบเหรียญทองคําของโรมัน อายุประมาณ 2,000 ปี โดยใช้เทคโนโลยีทางด้านวิทยาศาสตร์แสงซินโครตรอนในการ
ดูธาตุประกอบ
โดยการดำเนินการของธัชชาในระยะต่อไป คือการนําวิทยาศาสตร์ในเรื่องของ DNA มาสืบค้นหา DNA จากวัตถุโบราณ มนุษย์โบราณที่ขุดค้นพบเพื่อที่จะสร้างเป็นฐานข้อมูลที่สำคัญของประเทศและส่วนภูมิภาค ซึ่งประเทศไทยเป็นหนึ่งในพื้นที่ของสุวรรณภูมิ
ทั้งนี้ อว. เห็นว่า จะต้องมีด้านวิทยาศาสตร์ควบคู่กันไป จึงจัดตั้ง "ธัชวิทย์" วิทยสถานวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย (Thailand Academy of Sciences : TAS) ขึ้นเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2565 เพื่อให้เป็นศูนย์กลาง (Hub) ในการเชื่อมโยงเครือข่ายนักวิจัยและนักวิทยาศาสตร์ สถาบันวิจัยแห่งชาติ และมหาวิทยาลัยมาทำงานร่วมกัน เพื่อให้ประเทศก้าวเข้าสู่การเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วภายใน พ.ศ. 2570
การวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแบบก้าวกระโดด นับเป็นกุญแจสำคัญต่อการพัฒนาประเทศทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ที่ต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วน เพราะปัจจุบันโลกการแข่งขันสูงขึ้น โดยให้มีรูปแบบการดำเนินงานใน 3 มิติ ได้แก่
มิติที่ 1 Frontline Think Tank การสร้างเครือข่ายคลังสมองทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาประเทศ
มิติที่ 2 Frontier Science Alliances กลุ่มริเริ่มงานวิจัยชั้นนำ
มิติที่ 3 Future Graduates Platform ผลิต และพัฒนากำลังคนที่มีศักยภาพสูงเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของโลก
เผยแพร่โดย : นางสาวสุวดี เหมือนอ้น
กลุ่มสื่อสารองค์กร (สอ.)
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3880
E-mail : pr@mhesi.go.th
Facebook : @MHESIThailandth
Instagram : mhesi_thailand
Tiktok : mhesi_thailand
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.