ตามที่ คณะกรรมการพิเศษเฉพาะเรื่อง ด้านการส่งเสริมนวัตกรรมการอุดมศึกษา สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ได้อนุมัติข้อเสนอฉบับสมบูรณ์สำหรับการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษา (Higher Education Sandbox) หรือหลักสูตรแซนด์บ็อกซ์ เพิ่มเติมอีก 2 ข้อเสนอ เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม ที่ผ่านมา ทำให้ล่าสุดมีข้อเสนอที่กระทรวง อว. อนุมัติให้จัดการศึกษาแบบแซนด์บ็อกซ์รวมแล้ว 11 ข้อเสนอ ซึ่งมีเป้าหมายผลิตกำลังคนสมรรถนะสูงรวมมากกว่า 19,000 คน
สอวช. จะพามาอัปเดตกันว่า หลักสูตรแซนด์บ็อกซ์ทั้ง 11 หลักสูตรที่ผ่านการอนุมัติไปแล้ว มีหลักสูตรอะไรบ้าง? และในแต่ละหลักสูตรดำเนินการไปถึงขั้นตอนไหนแล้ว ไปดูกันเลย
1. หลักสูตรการผลิตและพัฒนากำลังคนสาขาฉุกเฉินการแพทย์ โดย ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ร่วมกับสถาบันอุดมศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวม 10 แห่ง ตั้งเป้าผลิตกำลังคนสาขาฉุกเฉินการแพทย์ในระดับผู้ประกอบโรคศิลปะ จำนวน 15,000 คน ขณะนี้ อยู่ระหว่างการเสนอของบประมาณดำเนินการจัดการศึกษา
2. หลักสูตรการผลิตบุคลากร High-tech Entrepreneur โดย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ตั้งเป้าผลิตกำลังคนที่มีความรู้ Frontier Knowledge ด้านเทคโนโลยี จำนวน 400 คน ขณะนี้ ได้เริ่มจัดการศึกษาสำหรับนักศึกษารุ่นแรก
3. หลักสูตรการผลิตบุคลากรด้านวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์และดิจิทัล โดย มหาวิทยาลัยซีเอ็มเคแอล และสถาบันอุดมศึกษาอื่น ๆ รวม 6 แห่ง ตั้งเป้าผลิตกำลังคนด้านวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์และดิจิทัล จำนวน 1,880 คน ขณะนี้ ม. CMKL สจล. และ ม.อ. ได้รับสมัครนักศึกษาเข้าสู่หลักสูตรแล้ว
4. หลักสูตรการผลิตกําลังคนศักยภาพสูงที่มีความรู้เชิงลึกด้านวิทยาศาสตร์ และแนวคิดเชิงนวัตกรรม โดย วิทยสถานวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย ภายใต้สำนักงานปลัดกระทรวง อว. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ 4 แห่ง และมหาวิทยาลัยมหิดล ตั้งเป้าผลิตกําลังคนทักษะสูงที่มีความรู้เชิงลึกด้านวิทยาศาสตร์ (Frontier Knowledge) และแนวคิดเชิงนวัตกรรม จำนวน 175 คน อยู่ระหว่างการเตรียมการเปิดหลักสูตร
5. หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัล โดย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งเป้าผลิตกำลังคนวิศวกรคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัล จำนวน 1,200 คน ขณะนี้ เปิดรับนักศึกษารุ่นแรกได้ครบตามจำนวนแล้ว
6. หลักสูตรการจัดการบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการธุรกิจการบินนานาชาติ โดย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก ตั้งเป้าผลิตกำลังคน Flight Attendant จำนวน 300 คน ขณะนี้ ได้เปิดรับสมัครนักศึกษาเข้าสู่หลักสูตรแล้ว
7. หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม แขนงพลังงานทดแทนและยานยนต์ไฟฟ้า (ต่อเนื่อง) โดย คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา ตั้งเป้าผลิตกำลังคนด้านเทคโนโลยีพลังงานทดแทนและยานยนต์ไฟฟ้า จำนวน 300 คน ขณะนี้ ได้เปิดรับสมัครนักศึกษาเข้าสู่หลักสูตรแล้ว
8. หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาการเป็นผู้ประกอบการเชิงนวัตกรรม โดย คณะบริหารธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา ตั้งเป้าผลิตกำลังคนด้านผู้ประกอบการตามแนวทาง BCG จำนวน 90 คน ขณะนี้ ได้เปิดรับสมัครนักศึกษาเข้าสู่หลักสูตรแล้ว
9. หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาผู้นำธุรกิจสุขภาพเชิงสร้างสรรค์ โดย มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ตั้งเป้ากำลังคนด้านผู้นำธุรกิจในอุตสาหกรรมเวลเนส จำนวน 90 คน ขณะนี้ ได้เปิดรับสมัครนักศึกษาเข้าสู่หลักสูตรแล้ว
10. หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมบูรณาการระบบการผลิต (ต่อเนื่อง) โดย มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยบูรพา และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ตั้งเป้าผลิตวิศวกรบูรณาการระบบ (system integrator) จำนวน 60 คน ได้รับการอนุมัติให้จัดการศึกษาแบบแซนด์บ็อกซ์ ในเดือนกรกฎาคม 2566
11. หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพแบบองค์รวม (หลักสูตรสองภาษา) โดย วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยบูรพา ตั้งเป้าผลิตผู้บริหารระดับต้นและระดับปฏิบัติการในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพแบบองค์รวม จำนวน 200 คน ได้รับการอนุมัติให้จัดการศึกษาแบบแซนด์บ็อกซ์ ในเดือนกรกฎาคม 2566
ที่มา : สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.)
https://www.nxpo.or.th/th/
เผยแพร่โดย : นางสาวสุวดี เหมือนอ้น
กลุ่มสื่อสารองค์กร (สอ.)
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3880
E-mail : pr@mhesi.go.th
Facebook : @MHESIThailandth
Instagram : mhesi_thailand
Tiktok : mhesi_thailand
Twitter : @MHESIThailand
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.