ชวนคนกรุงสูดอากาศสะอาด ที่ ‘MagikFresh’ ต้นแบบสวนนันทนาการอากาศสะอาดเพื่อเมืองน่าอยู่ ณ สวนจตุจักร
PM2.5 เป็นปัญหาฝุ่นละอองที่คนไทยต้องเผชิญแทบทุกปี โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาว ซึ่งเป็นช่วง ‘อากาศปิด’ สภาวะอากาศแห้งและนิ่ง ทำให้ฝุ่นละอองแขวนลอยอยู่ในบรรยากาศได้นาน ส่งผลให้ PM2.5 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นและมีค่าเกินมาตรฐานอยู่ในระดับที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ ทำให้ผู้คนในหลายพื้นที่ไม่สามารถใช้ชีวิตกลางแจ้งเพื่อทำกิจกรรมต่าง ๆ อาทิ ออกกำลังกาย ทำกิจกรรมนันทนาการ ได้ตามปกติ
เนคเทค สวทช. ร่วมกับสำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร พัฒนา ‘ต้นแบบสวนนันทนาการอากาศสะอาดเพื่อเมืองน่าอยู่’ หรือ ‘MagikFresh (เมจิกเฟรช)’ สำหรับให้บริการแก่ผู้ใช้บริการสวนจตุจักร ในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2566 – พฤษภาคม 2567 เป็นเวลา 7 เดือน เพื่อใช้ประโยชน์ในการพักผ่อน ออกกำลังกาย และจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ต่าง ๆ มุ่งลดผลกระทบการเจ็บป่วยจากการสูดฝุ่น PM2.5 ในระดับที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ
โดย MagikFresh สามารถสร้างอากาศสะอาดที่มีค่า PM2.5 ต่ำกว่า 25 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (ระดับที่มีความปลอดภัยต่อสุขภาพ) ได้มากถึง 60,000 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง และทำให้เกิดการไหลเวียนของอากาศภายในอาคารได้ไม่ต่ำกว่า 10 รอบต่อชั่วโมง ช่วยให้ผู้ใช้บริการรู้สึกสบายตัว
หากวันไหน PM2.5 มาก แวะเวียนมาพักผ่อนหย่อนใจ ทำกิจกรรมกลางแจ้งได้ที่ MagikFresh ณ สวนจตุจักร ตลอดฤดูหนาวปีนี้ถึงฤดูร้อนปีหน้า
รายละเอียดเพิ่มเติม: https://www.nstda.or.th/r/lC119
ที่มา : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
https://www.facebook.com/NSTDATHAILAND
เผยแพร่โดย : นางสาวสุวดี เหมือนอ้น
กลุ่มสื่อสารองค์กร (สอ.)
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3880
E-mail : pr@mhesi.go.th
Facebook : @MHESIThailandth
Instagram : mhesi_thailand
Tiktok : mhesi_thailand
Twitter : @MHESIThailand
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.