"อว. เผยฉีดวัคซีนของไทย ณ วันที่ 26 มิถุนายน ฉีดวัคซีนแล้ว 8,981,478 โดส และทั่วโลกแล้ว 2,859 ล้านโดส ใน 201 ประเทศ/เขตปกครอง ส่วนอาเซียนฉีดแล้วทุกประเทศ รวมกันกว่า 84.689 ล้านโดส โดยจังหวัดของไทยที่ฉีดมากที่สุด คือ จังหวัดภูเก็ต โดยฉีดวัคซีนเข็มแรกกว่า 64.38%”
➡️(26 มิถุนายน 2564) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เผยข้อมูลสถิติการฉีดวัคซีนโควิด-19 ทั่วโลกแล้ว 2,859 ล้านโดส ใน 201 ประเทศ/เขตปกครอง โดยขณะนี้อัตราการฉีดล่าสุดรวมกันทั่วโลกที่ 43.1 ล้านโดสต่อวัน และมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เมื่อพิจารณารายประเทศพบว่าอิสราเอลได้ฉีดวัคซีนครอบคลุมเกินครึ่งของประชากรแล้ว ในขณะที่สหรัฐอเมริกามีจำนวนการฉีดวัคซีนสูงที่สุดที่ 321 ล้านโดส โดยมีชาวอเมริกันกว่า 152 ล้านคนได้รับวัคซีนครบ 2 โดสแล้ว"
ด้านอาเซียนขณะนี้ทุกประเทศได้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 แล้ว มียอดรวมกันที่ประมาณ 84.689 ล้านโดส โดยสิงคโปร์ฉีดวัคซีนในสัดส่วนประชากรมากที่สุดในภูมิภาค (50.5% ของประชากร) ในขณะที่อินโดนีเซียฉีดวัคซีนในจำนวนมากที่สุดที่ 39.395 ล้านโดส สำหรับประเทศไทยข้อมูล ณ วันที่ 26 มิถุนายน 2564 ได้ฉีดวัคซีนแล้วกว่า 8,981,478 โดส โดยฉีดให้กับประชาชนในพื้นที่เสี่ยงมากที่สุดในสัดส่วนกว่า 46.6%
? ในการฉีดวัคซีน จำนวน 2,859 ล้านโดสนี้ อว. ขอรายงานสถิติที่สำคัญ คือ
1. ข้อมูลการฉีดวัคซีนล่าสุดของประเทศไทย ณ วันที่ 26 มิถุนายน 2564
จัดสรรวัคซีนแล้วทั้งหมด 10,600,000 โดส
จำนวนการฉีดวัคซีนสะสม 8,981,478 คน ใน 77 จังหวัด แบ่งเป็น
-เข็มแรก 6,435,308 โดส (9.7% ของประชากร)
-เข็มสอง 2 2,546,170 โดส (3.8% ของประชากร)
2. จำนวนวัคซีนตั้งแต่ 28 ก.พ.-26 มิ.ย. 64 พบว่า ประเทศไทยฉีดวัคซีนแล้ว 8,981,478 โดส (อัตราการฉีดล่าสุดเฉลี่ย 3 วันย้อนหลัง ตั้งแต่วันที่ 7 มิ.ย. 64 ซึ่งเป็นการฉีดวัคซีนวาระแห่งชาติ 277,714 โดส/วัน ประกอบด้วย
วัคซีน AstraZeneca
- เข็มที่ 1 2,955,958 โดส
- เข็มที่ 2 57,078 โดส
วัคซีน Sinovac
- เข็มที่ 1 3,478,938 โดส
- เข็มที่ 2 2,489,092 โดส
3. รายงานผู้มีอาการข้างเคียงภายหลังได้รับการฉีดวัคซีน
- 93.48% ไม่มีผลข้างเคียง
- 6.52% มีผลข้างเคียงไม่รุนแรง ประกอบด้วย
- ปวดกล้ามเนื้อ 1.57%
- ปวดศีรษะ 1.16%
- ปวด บวม แดง ร้อน บริเวณที่ฉีด 0.84%
- เหนื่อย อ่อนเพลีย ไม่มีแรง 0.76%
- ไข้ 0.51%
- คลื่นไส้ 0.35%
- ท้องเสีย 0.23%
- ผื่น 0.19%
- ปวดกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้ออ่อนแรง 0.15%
- อาเจียน 0.10%
- อื่น ๆ 0.67%
4. การฉีดวัคซีนโควิด-19 แยกตามกลุ่มเป้าหมาย
- บุคลากรการแพทย์/สาธารณสุข เข็มที่1 105.1% เข็มที่2 93.3%
- อสม เข็มที่1 27.8% เข็มที่2 14.6%
- ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป เข็มที่1 9.6% เข็มที่2 0.5%
- ผู้ที่มีโรคเรื้อรัง 7 กลุ่มโรค เข็มที่1 11.5% เข็มที่1 2.6%
- เจ้าหน้าที่ด่านหน้า เข็มที่1 31.3% เข็มที่2 19%
- ประชาชนทั่วไป เข็มที่1 10.5% เข็มที่2 4.1%
รวม เข็มที่1 12.9% เข็มที่2 5.1%
5. จังหวัดที่ฉีดวัคซีน เข็มที่ 1 และเข็มที่ 2 แบ่งเป็น 2 ชุดข้อมูล
กรุงเทพฯ และปริมณฑล เข็มที่1 20.37% เข็มที่2 7.25% ประกอบด้วย
- กรุงเทพฯ เข็มที่1 27.83% เข็มที่2 9.52%
- สมุทรสาคร เข็มที่1 17.83% เข็มที่2 11.63%
- นนทบุรี เข็มที่1 15.96% เข็มที่2 6.50%
- สมุทรปราการ เข็มที่1 13.74% เข็มที่2 3.29%
- ปทุมธานี เข็มที่1 8.59% เข็มที่2 3.16%
- นครปฐม เข็มที่1 5.17% เข็มที่2 1.46%
จังหวัดอื่นๆ 71 จังหวัด เข็มที่1 5.23% เข็มที่2 2.02%
- ภูเก็ต เข็มที่1 64.38% เข็มที่2 51.31%
- ระนอง เข็มที่1 22.37% เข็มที่2 6.37%
- สุราษฎร์ธานี เข็มที่1 10.33% เข็มที่2 5.10%
- เกาะสมุย เข็มที่1 46.03% เข็มที่2 35.06%
- เกาะเต่า เข็มที่1 19.70% เข็มที่2 11.82%
- เกาะพะงัน เข็มที่1 10.46% เข็มที่2 6.16%
6. ในภูมิภาคอาเซียน ได้ฉีดวัคซีนแล้วครบ 10 ประเทศ รวมจำนวน 84,168,928 โดส ได้แก่
1. อินโดนีเซีย จำนวน 39,395,532 โดส (9.5%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Sinovac และ AstraZeneca
2. ฟิลิปปินส์ จำนวน 9,542,612 โดส (6.6%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Sinovac, Pfizer, Sputnik V และ AstraZeneca
3. ไทย จำนวน 8,981,478 โดส (9.7%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Sinovac และ AstraZeneca
4. มาเลเซีย จำนวน 7,039,072 โดส (15.5%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Pfizer, AstraZeneca และ Sinovac
5. กัมพูชา จำนวน 6,616,277 โดส (22.7%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Sinopharm, AstraZeneca และ Sinovac
6. สิงคโปร์ จำนวน 5,029,006 โดส (50.5%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Pfizer และ Moderna
7. เวียดนาม จำนวน 3,087,580 โดส (3.0%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca
8. พม่า จำนวน 2,994,900 โดส (N/A* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca
9. ลาว จำนวน 1,408,531โดส (12,0%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Sinopharm, Sputnik V
10. บรูไน จำนวน 73,940โดส (13.9%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca และ Sinopharm
* คำนวณจากจำนวนฉีด/จำนวนประชากร/2 เหมือนกันทุกประเทศ
7. จำนวนการฉีดวัคซีนแยกตามภูมิภาค
1. เอเชียและตะวันออกกลาง 61.81%
2. อเมริกาเหนือ 14.63%
3. ยุโรป 15.61%
4. ลาตินอเมริกาและแคริบเบียน 6.01%
5. แอฟริกา 1.64%
6. โอเชียเนีย 0.3%
8. ประเทศที่ฉีดวัคซีนแล้วมากที่สุด 4 ประเทศลำดับแรกที่ฉีดวัคซีนมากกว่า 100 ล้านโดส รวมกันเกือบ 70% ของปริมาณการฉีดวัคซีนทั่วโลก
1. จีน จำนวน 1,120.64 ล้านโดส (40.0% ของจำนวนการฉีดทั่วโลก)
2. สหภาพยุโรป จำนวน 346.90 ล้านโดส (39.0%)
3. สหรัฐอเมริกา จำนวน 321.20 ล้านโดส (50.2%)
4. อินเดีย จำนวน 314.37 ล้านโดส (11.5%)
9. ประเทศที่ฉีดวัคซีนครอบคลุมประชากรมากที่สุด มี 10 ประเทศที่ฉีดวัคซีนให้กับประชากรอย่างน้อย 25% แล้ว ได้แก่ (เฉพาะประเทศที่มีประชากรมากกว่า 500,000 คน)
1. สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (69.5%) (ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca/Oxford, Pfizer/BioNTech, Sinopharm และ Gamaleya)
2. บาห์เรน (67.2%) (ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca/Oxford, Pfizer/BioNTech, Sinopharm และ Gamaley)
3. มัลดีฟส์ (67.2% ของประชากร) (ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca/Oxford และ Sinopharm)
4. อิสราเอล (59.1%) (ฉีดวัคซีนของ Pfizer/BioNTech และ Moderna)
5. ชิลี (58.1%) (ฉีดวัคซีนของ Pfizer/BioNTech และ Sinovac)
6. สหราชอาณาจักร (56.9%) (ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca/Oxford Moderna และ Pfizer/BioNTech)
7. มองโกเลีย (54.6%) (ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca/Oxford, Pfizer/BioNTech, Sinopharm และSputnik V )
8. กาตาร์ (53.5%) (ฉีดวัคซีนของ Pfizer/BioNTech)
9. อุรุกวัย (53.0%) (ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca/Oxford, Pfizer/BioNTech, Sinovac)
10. ฮังการี (52.1%) (ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca/Oxford, Pfizer/BioNTech, Sinopharm และ Gamaley)
แหล่งข้อมูล Bloomberg Vaccine Tracker, กระทรวงสาธารณสุข
ประมวลข้อมูลโดย กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
ข้อมูล : สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
เผยแพร่โดย : นางสาวสุวดี เหมือนอ้น
กลุ่มสื่อสารองค์กร กองกลาง
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3880 โทรสาร 0 2333 3834
Facebook : @MHESIThailand
Twitter : @MHESIThailand
Call Center โทร.1313
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.