ต้นกาบหอยแครง ช่วยควบคุมประชากรแมลงในธรรมชาติ
ความสัมพันธ์ระหว่างพืชกับแมลงนั้น นอกจากจะเป็นผู้ช่วยผสมเกสรให้ต้นพืชแล้ว ยังมีพืชบางกลุ่มที่ใช้ประโยชน์จากแมลงเป็นแหล่งธาตุอาหารให้แก่ตัวเองเรามาทำความรู้จักกับไม้กินแมลงที่เป็นพืชเด่นของศูนย์อนุรักษ์แมลงเขตร้อน สถานีวิจัยลำตะคอง วว. จังหวัดนครราชสีมา ที่ไม่ว่าใครมาเที่ยวชมก็ต้องถามถึงนั่นก็คือ "ต้นกาบหอยแครง"
ต้นกาบหอยแครง (Venus flytrap) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Tradescantia spathacea Stearn, Rhoeo spathacea, Tradescantia discolor
สรรพคุณและประโยชน์ ตำรายาแผนโบราณระบุว่า ใช้ต้นต้มน้ำดื่ม แก้ไอ แก้ร้อนใน และแก้ฟกช้ำได้
ต้นกาบหอยแครง เป็นพืชที่เติบโตในพื้นที่ที่มีธาตุอาหารไนโตรเจนต่ำและมีแหล่งน้ำท่วมขัง ลำต้นของกาบหอยแครงมีลักษณะเป็นหัวใต้ดิน มีดอกสีขาวส่วนของกับดักมีลักษณะคล้ายเปลือกหอยสองฝา มีซี่ฟันที่ขอบกาบเหมือนกรงขัง ภายในกาบมีขนรับความรู้สึกข้างละ 3-4 เส้น เมื่อแมลงบินมาเกาะหรือสัมผัสโดนขนเหล่านี้ ต้นกาบหอยแครงจะหุบกาบขังแมลงไว้ภายใน ก่อนปล่อยเอนไซม์ออกมาย่อยแมลงให้เป็นสารอาหารที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ หากกาบถูกกระตุ้นให้หุบบ่อยๆ จะทำให้พืชสูญเสียพลังงานอย่างมาก อาจทำให้ต้นอ่อนแอจนถึงตายได้ ถึงแม้แมลงจะถูกพืชย่อยเพื่อใช้เป็นธาตุอาหารให้แก่ไม้กินแมลง แต่ประโยชน์ที่ได้กลับคืนมาก็คือไม้กินแมลงเป็นตัวช่วยอีกทางหนึ่งในการควบคุมประชากรแมลงในธรรมชาติ เพื่อไม่ให้มีจำนวนมากจนเกินไป
เผยแพร่โดย : นางสาวสุวดี เหมือนอ้น
กลุ่มสื่อสารองค์กร (สอ.)
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3880
E-mail : pr@mhesi.go.th
Facebook : @MHESIThailandth
Instagram : mhesi_thailand
Tiktok : mhesi_thailand
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.