6 งานวิจัยเด่นด้าน BCG เกษตรและอาหารมูลค่าสูง
มูลค่าของผลผลิตทางการเกษตรและอาหารของไทยมีมูลค่าค่อนข้างต่ำ เพราะเป็นสินค้าประเภทวัตถุดิบที่ไม่ผ่านการแปรรูป หรือแปรรูปแค่ขั้นตอนเดียวทำให้จำหน่ายได้ในราคาต่ำ จึงจำเป็นต้องนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้ามาช่วยเสริมเพื่อเพิ่มมูลค่าตลอดห่วงโซ่คุณค่าของผลิตภัณฑ์ สร้างความแตกต่าง มีมาตรฐาน ปลอดภัยและตอบโจทย์ผู้บริโภค
1.ข้าวสายพันธุ์ใหม่ : เช่นข้าวพันธุ์ กข 93 ที่มีคุณสมบัติบริการมีความคงตัว เรียงตัวสวยงามมีความนุ่มเมื่อหุงสุก ทนต่อโรคและแมลงตามงานให้ผลผลิตเฉลี่ยสูงถึง 934 กิโลกรัมต่อไร่ แต่ข้าวพันธุ์ กข 95 ที่มีเมล็ดขาวม้วนต้านทานโรคไหม้และเมียกระโดดสามารถให้ผลผลิตได้ถึง 1,213 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งพัฒนาโดยกรมการข้าว
2. ข้าวเจ้าหอมสยาม : เป็นข้าวสายพันธุ์ใหม่ซึ่งมีลักษณะคล้ายข้าวหอมมะลิลำต้นแข็งแรงทนแรงและต้านทานต่อโรคต่างๆ ลดระยะเวลาในการปรับปรุงพันธุ์ให้สั้นลงได้เมื่อเทียบกับการปรับปรุงพันธุ์แบบดั้งเดิม 799 กิโลกรัมต่อไร่และที่จังหวัดศรีสะเกษสามารถให้ผลผลิตได้ถึง 1,200 กิโลกรัมต่อไร่ พัฒนาโดยสวทช.
3. ผลิตภัณฑ์น้ำนมข้าวผง : มีเปปไทด์ต้านอนุมูลอิสระ มีคุณสมบัติกระตุ้นภูมิคุ้มกัน อุดมไปด้วยสารอาหารและวิตามินอื่น ๆ ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ปัจจุบันมีการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตให้แก่เอกชน มีการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์น้ำนมข้าวยาคูภายใต้แบรนด์ “Diamond Fresh” สร้างรายได้เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 35 ในขณะที่กลุ่มเกษตรกรที่ใช้ผลิตน้ำนมข้าวผงมีรายได้สุทธิเพิ่มขึ้น 134,000 บาทต่อปี พัฒนาและสนับสนุนโดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และสวก.
4. เทคโนโลยีการกำจัดแมลงวันผลไม้ในมะม่วง : ช่วยลดความเสียหายในผลมะม่วงและสามารถยกระดับมาตรฐานการส่งออกมะม่วงไทย มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้โรงงานอบไอน้ำทำให้ผู้ประกอบการสามารถส่งมะม่วงไปยังประเทศที่เข้มงวดการมากขึ้นส่งผลให้ราคามะม่วงเพิ่มขึ้นถึง 2 เท่าตัวสร้างรายได้ให้กับประเทศถึง 100 ล้านบาทต่อปี พัฒนาโดยกรมวิชาการเกษตร
5. เนื้ออกไก่ที่ผลิตจากพืช : บริษัท โอเพ่น เซซามี่ จำกัดได้นำไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ More Chick ที่อำนวยความสะดวกให้กับผู้บริโภคสามารถนำเนื้อไก่จากพืชไปผลิตอาหารได้เอง เกิดการลงทุนต่อยอดผลิตภัณฑ์จากการวิจัยเป็นมูลค่าไม่ต่ำกว่า 8 ล้านบาท ประมาณการรายได้ในปี 2566 ไม่ต่ำกว่า 2.8 ล้านบาท และมูลค่าผลกระทบทางเศรษฐกิจอย่างน้อย 30 ล้านบาท ภายใน 5 ปีสนับสนุนโดย NIA
6.ผลิตภัณฑ์ล้างผักและผลไม้ที่มีเอนไซม์สลายยาฆ่าแมลง : เป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีส่วนผสมของสารเคมีอันตรายสามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยมีการร่วมทุนต่อยอดงานวิจัยระหว่างบริษัท ไบโอม จำกัดและบริษัท บีบีจีไอ จำกัด (มหาชน) ประมาณมูลค่าประโยชน์ปัจจุบันสุทธิอยู่ที่ประมาณ 23 ล้านบาท สนับสนุนโดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ที่มา: หนังสือผลงานเด่น กองทุน ววน. ปี 2563-2566
ที่มา :https://researchcafe.tsri.or.th/nanoscale-composite-materials/
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)
เผยแพร่โดย : นางสาวสุวดี เหมือนอ้น
กลุ่มสื่อสารองค์กร (สอ.)
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3880
E-mail : pr@mhesi.go.th
Facebook : @MHESIThailandth
Instagram : mhesi_thailand
Tiktok : mhesi_thailand
Twitter : @MHESIThailand
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.