ข่าวรัฐมนตรี

KIT 5640

วันที่ 25 สิงหาคม 2563 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ครั้งที่ 2/2563 (ครม.สัญจร) โดย ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (รมว.อว.) เข้าร่วมการประชุมฯ ณ ห้องประชุมสุนทรภู่ ชั้น 2 โรงแรมสตาร์ คอนเวนชั่น ตำบลท่าประดู่ อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง ซึ่งได้พิจารณาโครงการของกระทรวงการอุดมศึกษาฯ แล้วมีมติ ดังนี้

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ

1. เห็นชอบในหลักการให้ดำเนินโครงการศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน (Sustainable Manufacturing Center: SMC) ในเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก : เมืองนวัตกรรม ระบบอัตโนมัติ หุ่นยนต์ และระบบอัจฉริยะ (EECi-ARIPOLIS for BCG) ระยะเวลาดำเนินการ 5 ปี (พ.ศ. 2564 – 2568) 

2. อนุมัติกรอบวงเงินในการจัดสรรงบประมาณแผ่นดินเพื่อดำเนินโครงการศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน (Sustainable Manufacturing Center: SMC) ในเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก : เมืองนวัตกรรม ระบบอัตโนมัติ หุ่นยนต์ และระบบอัจฉริยะ (EECi-ARIPOLIS for BCG) จำนวน 5,408.77 ล้านบาท

โครงการศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน (Sustainable Manufacturing Center: SMC) ในเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก : เมืองนวัตกรรม ระบบอัตโนมัติ หุ่นยนต์ และระบบอัจฉริยะ (EECi-ARIPOLIS for BCG) มีระยะเวลาดำเนินงาน 5 ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 – 2568) วงเงินลงทุนรวม 5,408.77 ล้านบาท โดยแบ่งเป็น 3 ระยะ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแพลตฟอร์มที่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมการผลิต ผู้พัฒนาระบบ (SI) นักนวัตกร  ตลอดจนนักศึกษาในสาขาที่เกี่ยวข้องให้สามารถเข้ามาใช้ประโยชน์ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งในรูปแบบการสาธิต การเรียนรู้ และการทดลองปฏิบัติจริง ซึ่งครอบคลุม Industry Assessment Tools, Learning Station/Line และ testbed/sandbox และรวมไปถึงกิจกรรมวิจัยเพื่อการสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีระบบอัตโนมัติ หุ่นยนต์ และระบบอัจฉริยะ โดยมีสถานที่ตั้งโครงการ บนพื้นที่เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEci) วังจันทร์วัลเลย์โซน E (ARIPOLIS Pilot Plant) อำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง

IMG 20200825103317000000  IMG 20200825103331000000

โครงการศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน หรือ SMC มีเป้าหมาย เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ภาคอุตสาหกรรม โดยกำหนดกลยุทธ์การดำเนินงานให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ EECi และผสมผสานกับแนวคิดการพัฒนาอุตสาหกรรม 4.0 ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งประกอบด้วย 2 ส่วนงานหลักคือ  
1. ส่วนงานด้านพัฒนาผลงานวิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านระบบการผลิต (Manufacturing Management and Process Development) เพื่อรองรับการถ่ายทอดเทคโนโลยี วิจัย พัฒนาและทดสอบในด้านกระบวนการพัฒนาต้นแบบการผลิตให้กับผู้ประกอบการ 
2. ส่วนงานด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้แก่ผู้ประกอบการ (Manufacturing Product Development) เพื่อรองรับการถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยี และทดสอบศักยภาพ ในด้านกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ก่อนออกสู่ตลาดให้กับผู้ประกอบการ
โครงการ SMC จะดำเนินการใน 5 กิจกรรม ได้แก่
 (1) Reference Architecture and Standards หมายถึง งานบริการทดสอบและจัดทำมาตรฐาน  
 (2) Service & Industry Promotion หมายถึง งานบริการและสนับสนุนอุตสาหกรรม : สร้างผู้ประกอบการเทคโนโลยีใหม่และสนับสนุนการประกอบธุรกิจเทคโนโลยีด้วยบริการครบวงจร  
 (3) Workforce Development หมายถึง งานด้านการพัฒนาคน : เตรียมความพร้อมและยกระดับทักษะแรงงาน สร้างและพัฒนาทักษะและความสามารถของบุคลากรในภาคเอกชน 
(4) Pilot Line หมายถึง ศูนย์สาธิต ด้านอุตสาหกรรมอัจฉริยะ ได้แก่ 1) Re-Manufacturing 2) Warehouse 3) Smart Energy & utility 4) Command unit 5) Maintenance 
(5) Industry 4.0 Testlabs/Tested bed and R&I หมายถึง งานบริการทดสอบต้นแบบและผลิตภัณฑ์ งานวิจัยพัฒนาร่วมกับภาคอุตสาหกรรม รวมถึงการร่วมวิจัยและนวัตกรรมกับภาคอุตสาหกรรม  
ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดระบบนิเวศนวัตกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน ในการดำเนินงานจำเป็นต้องมีกลุ่มพันธมิตรสำคัญในการขับเคลื่อน SMC ซึ่งมีองค์ประกอบหลัก 3 กลุ่มสมาชิก ซึ่งแต่ละกลุ่มจะได้รับสิทธิพิเศษในการเข้าถึงข้อมูลและบริการลดหลั่นกันไปตามลำดับ ได้แก่ 
 Tier 1 ได้แก่ กลุ่มร่วมทุน (Anchor) โดยมีเป้าหมายสำคัญในการก่อตั้งศูนย์ฯ เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับประเทศไทยตลอดห่วงโซ่ธุรกิจที่เกี่ยวข้อง อาทิ ผู้ผลิตบอร์ดอิเล็กทรอนิกส์ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ ตลอดจนผู้ใช้งานที่เกี่ยวข้องทั่วไป  

Tier 2 ได้แก่ กลุ่มสมาชิก (member) ผู้ประกอบการในธุรกิจที่เกี่ยวข้อง แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 
 (1) ผู้ประกอบการที่นำผลิตภัณฑ์มาร่วมวาง/สาธิต/ทดสอบ ในศูนย์
  (2) ผู้ประกอบการที่ใช้บริการเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ 
โดยกลุ่มนี้มีบทบาทสำคัญ คือ การพัฒนาต่อยอดผลงานบนฐานนวัตกรรมสู่การสร้างโอกาสทางธุรกิจรวมถึงการเผยแพร่ผลงาน เพื่อให้บริการในเชิงธุรกิจแก่กลุ่มอุตสาหกรรมและการบริการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง  
Tier 3 ได้แก่ กลุ่มเครือข่าย (Partners) เช่น กลุ่มเมกเกอร์ นักศึกษา บุคคลทั่วไป โดยมีบทบาทสำคัญ คือ การร่วมส่งเสริมให้มีการขยายผลการใช้งานและแลกเปลี่ยนข้อมูลให้เป็นไปอย่างแพร่หลาย ซึ่งจะทำให้เกิดการส่วนร่วมในระบบนิเวศนวัตกรรมอุตสาหกรรม
สำหรับ ขั้นตอนและแผนการดำเนินงาน โครงการ SMC ได้แบ่งการดำเนินงานออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้ 

  1. ระยะที่ 1 เริ่มปีงบประมาณ 2564 กลุ่มปฏิบัติการมุ่งเน้นด้านกระบวนการวางพื้นฐานองค์ความรู้ และองค์ประกอบสำหรับกระบวนการผลิตในภาคอุตสาหกรรมอัจฉริยะ
    2. ระยะที่ 2 เริ่มปีงบประมาณ 2565 – 2567 กลุ่มปฏิบัติการมุ่งเน้นด้านยกระดับกระบวนการการวางพื้นฐานทดสอบต้นแบบผลิตภัณฑ์ รวมถึงปรับปรุงประสิทธิภาพในกระบวการผลิตของภาคอุตสาหกรรมอัจฉริยะ
     3. ระยะที่ 3 เริ่มปีงบประมาณ 2568 กลุ่มปฏิบัติการมุ่งเน้นด้านการพัฒนากระบวนการผลิตก้าวหน้า สู่การวางพื้นฐานและเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตขั้นสูงของภาคอุตสาหกรรมอัจฉริยะ

ในการนี้โครงการ SMC จะส่งผลให้เกิด  
1. โครงสร้างพื้นฐานและกำลังคนเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีเพื่อยกระดับการพัฒนาสู่อุตสาหกรรมอัจฉริยะ พร้อมให้บริการแก่หน่วยงานภาคเอกชน สถาบันการศึกษา และสถาบันวิจัยตลอดห่วงโซ่การผลิต (Value chain) 
2. ภาคอุตสาหกรรมการผลิตและบริการ รวมถึงหน่วยงานวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องสามารถทดสอบการขยายผลการวิจัยพัฒนาไปสู่การลงทุนต่อยอดผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ด้วยความพร้อมทั้งทางเทคนิคและศักยภาพการแข่งขัน
3. ศูนย์กลางเครือข่ายองค์ความรู้และโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีเพื่อการยกระดับการผลิตสินค้าและบริการของเขตนวัตกรรมอุตสาหกรรมเกิดใหม่แบบครบวงจรแห่งแรกของประเทศไทยและพร้อมสู่ระดับสากล ซึ่งจะเป็นปัจจัยดึงดูดนักวิจัยรุ่นใหม่ นักวิจัยต่างชาติ และนักลงทุน


ยิ่งไปกว่านั้น การดำเนินโครงการ SMC คาดว่าจะสร้างรายได้รวมของโครงการและผลตอบแทนจากการลงทุนด้านวิจัยและพัฒนาใน EECi ในระยะ 10 ปี อันจะส่งผลดังนี้
1. เกิดรายได้สำหรับการพึ่งพาตนเองลดภาระรายจ่ายงบประมาณภาครัฐของโครงการ SMC จะมุ่งเน้นการบริการในกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ประกอบการรายใหญ่และกลุ่มผู้ประกอบการ SME ในธุรกิจที่เกี่ยวข้องที่จะช่วยให้เกิดระบบนิเวศนวัตกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนรวม 2,349.25 ล้านบาท  
2. เกิดโครงสร้างพื้นฐานด้านนวัตกรรมที่จะมีผลต่อการขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่เศรษฐกิจ BCG โดยคาดว่าจะเป็นส่วนสำคัญในการสร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคม เสริมมศักยภาพความเข้มแข็งทางการแข่งขันของผู้ประกอบการและภาคอุตสาหกรรมให้สามารถใช้ทรัพยากรที่มีเชื่อมต่อกับห่วงโซ่อุปทานการผลิต รวมถึงก่อให้เกิดมูลค่าการลงทุนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิตและพัฒนาคุณค่าผลิตภัณฑ์และบริการด้วยเทคโนโลยีนวัตกรรมอัจฉริยะทั้งการปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิต รวมถึงการผลิตสินค้าและบริการใหม่ให้เกิดมูลค่าเพิ่มมากขึ้น โดยคาดว่าการลงทุนดังกล่าวจะก่อให้เกิดประโยชน์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2565 จึงนับได้ว่าเป็นโครงการที่มีความคุ้มค่าในการลงทุน  
 3. เกิดมูลค่าเงินลงทุนเพิ่มเติมของผู้ประกอบการที่เข้ารับบริการจากโครงการ ศูนย์ฯ คาดว่าจะมีการปรับปรุงพัฒนากระบวนการ ผลิตอัจฉริยะเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ คิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้นรวม 26,136.84 ล้านบาท

นอกจากนี้ คณะรัฐมนตรีมติเห็นชอบตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอแต่งตั้ง นายสำราญ รอดเพชร เป็นกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่นายกรัฐมนตรีลงนามในประกาศแต่งตั้งและมอบหมายให้เป็นผู้ช่วยรัฐมนตรี

IMG 20200825103323000000  IMG 20200825103427000000

ภาพและข้อมูลโดย สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี

ข่าว : นางสาวพจนพร แสงสว่าง

ส่วนสื่อสารองค์กร กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

โทร. 02 333 3727 – 3732 โทรสาร 02 333 3834

E-Mail: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. Facebook: MHESIThailand

112754352 4456894447654341 7876191667567597999 o

นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
พบผู้บริหาร อว.  ณ ห้องประชุมศาสตราจารย์วิจิตร ศรีสอ้าน อาคารอุดมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ถนนศรีอยุธยา 

109718957 4456894427654343 7037352831815481885 o112624248 4456894460987673 4717861986160068609 o

111256389 4456894697654316 8103123440738284714 o110717671 4456894744320978 95673679134968251 o

รัฐมนตรีฯ ณัฏฐพล กล่าวตอนหนึ่งว่า การพบปะหารือข้าราชการ อว. ในครั้งนี้เพื่อรับทราบแนวทางที่จะขับเคลื่อนในช่วงสั้นๆ ที่รักษาการ เพราะอยากให้ช่วงรอยต่อนี้มีความคล่องตัวและมีประสิทธิภาพมากที่สุด นอกจากนี้เราต้องให้ความสำคัญกับในเรื่องของการฟื้นฟูและวางแผนแก้ไขปัญหา ผ่อนคลายผลกระทบจากโควิด-19 ที่มีต่อนักเรียน/นักศึกษา

รมว. กล่าวต่ออีกว่า แนวคิดที่แลกเปลี่ยนกันคือตนมองว่า กระทรวงศึกษาธิการพร้อมจะบูรณาการกับมหาวิทยาลัยเพื่อประโยชน์ในการผลิตและพัฒนาครู รวมถึงแนวคิดในการ Re-Skill / Up-Skill ครูประจำการให้ทันกับรูปแบบของการเรียนรู้สมัยใหม่ โดยเฉพาะทักษะในการสอนควบชั้นเรียน ซึ่งครูในโรงเรียนขนาดเล็กต้องการการพัฒนาทักษะนี้เพื่อรับภาระงานสอน การผลิตครูเข้าทดแทนครูชาวต่างประเทศจำนวนมาก ที่เข้ามาสอนภาษาในประเทศไทย ซึ่งมหาวิทยาลัยต้องผลิตขึ้นทดแทนอย่างรวดเร็วทั้งด้านปริมาณและการมีคุณภาพที่เทียบเคียงกัน นอกจากนี้ควรสนับสนุนการวิจัยที่ตอบโจทย์การพัฒนาประเทศและเป็นงานวิจัยคุณภาพสูง ควรสร้างนักวิจัยในประเทศให้มากขึ้น และอาจดึงนักวิจัยไทยในต่างประเทศเข้ามาทำงานวิจัยสร้างประโยชน์ให้กับประเทศต่อไป อีกทั้งระบบสาธารณสุขของไทยที่ปัจจุบันมีความเข้มแข็งมากและจะต้องเข้มแข็งขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งต้องใช้มหาวิทยาลัยไทยเป็นฐานทั้งการสอนและการค้นคว้าวิจัย

109610196 4456895104320942 2574463586940689161 o110315110 4456894954320957 7319326548346799095 o110317081 4456894720987647 1031395197131360744 o
110320079 4456894967654289 856183393520043240 o110332487 4456894944320958 6525713853155705457 o

ในอนาคตกระทรวงศึกษาธิการอาจต้องร่วมมือกับ อว. ในการใช้งบประมาณร่วมกัน ใช้สถานที่และทรัพยากรรวมทั้งอาจารย์ในการเพิ่มทักษะให้กับบุคลากรทางการศึกษา ผ่านการใช้ประโยชน์จากเครือข่ายต่างๆ ประเทศเราจะได้บูรณาการการขับเคลื่อนการศึกษาเพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันทางการศึกษาของประเทศ ซึ่งหากวางแผนอย่างดี มีเป้าหมาย มีกรอบการทำงานที่ชัดเจน อาจได้รับการสนับสนุนงบประมาณในวงกว้าง” รมว.กล่าวในตอนท้าย

110657873 4456895127654273 5650200563008149012 o

ถ่ายภาพ    : อินทิรา บัวลอย / วีนัส แก้วประเสริฐ
วีดีโอ         : วัชรพล วงษ์ไทย /จรัส เล็กเกาะทวด
เขียนข่าว    : ปิยาณี วิริยานนท์ 

เผยแพร่ข่าว : ปราณี ชื่นอารมณ์
กลุ่มงานประชาสัมพันธ์ สป.อว.(ภารกิจด้านการอุดมศึกษา)
ถนนศรีอยุธยา ราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
www.facebook.com/opsMHESI/

1

          วันนี้ (25 สิงหาคม 2563) รศ.ดร.จักษ์ พันธ์ชูเพชร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นประธาน และกล่าวปาฐกถาพิเศษในงานมอบรางวัล "BUSINESS+ PRODUCT INNOVATION AWARDS 2020" ในหัวข้อ "นวัตกรรมสร้างมูลค่าให้อุตสาหกรรมของชาติ" ณ หอประชุม C asean ชั้น 10 อาคารซีดับเบิ้ลยู (ไซเบอร์ เวิลด์) ทาวเวอร์ ถนนรัชดาภิเษก เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร

          นิตยสาร BUSINESS+ โดย บริษัท เออาร์ไอพี จำกัด (มหาชน) ได้ร่วมกับวิทยาลัยการจัดการมหาวิทยาลัยมหิดล จัดทำโครงการมอบรางวัลนวัตกรรมสินค้าและบริการแห่งปี "BUSINESS+ PRODUCT INNOVAION AWAD 2020" ขึ้น เพื่อมอบรางวัลสุดยอดนวัตกรรมให้แก่องค์กรที่มีสินค้าหรือบริการที่ได้รับการคัดเลือกจากผู้บริโภคให้เป็นสินค้าและบริการที่มีนวัตกรรมยอดเยี่ยม

4

697

1011

          รศ.ดร.จักษ์ ที่ปรึกษา รมว.อว. กล่าวว่า เรื่องของนวัตกรรมเป็นหัวใจสำคัญ ไม่มีประเทศไหนในโลกนี้ขึ้นมามีบทบาทได้ถ้าปราศจากนวัตกรรม ประเทศที่เป็นประเทศพัฒนาล้วนแล้วแต่ใช้นวัตกรรมทั้งสิ้น ซึ่งประเทศไทยก็ต้องส่งเสริม ขับเคลื่อนนวัตกรรมอย่างจริงจัง สำหรับโครงการนี้ต้องชื่นชมทั้งภาคเอกชนและมหาวิทยาลัยอย่างมากที่จัดทำขึ้น

          ประเทศไทยมีงานวิจัยและเทคโนโลยีอยู่มาก แต่ไม่ถูกนำมาใช้ให้เกิดเป็นนวัตกรรม เมื่อสังคมเปลี่ยนแปลงไปนวัตกรรมจะเข้ามามีบทบาทสำคัญใน 2 เรื่องหลักดังนี้ (1) นวัตกรรมจะเข้ามาสนับสนุน รองรับพฤติกรรมของประชาชน (2) นวัตกรรมจะชี้นำพฤติกรรมของประชาชน สำหรับบางเรื่องที่เป็นวิถีชีวิตในแบบเดิมที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้จำเป็นต้องนำนวัตกรรมเข้ามาปรับใช้เพื่อให้เกิดการพัฒนา เกิดสิ่งที่มีคุณค่าเพิ่มมากขึ้น

"ผมเชื่อว่าประเทศไทยมีจุดแข็งในเรื่องของนวัตกรรมเพียงแต่ว่า จะทำอย่างไรให้เกิดการปฏิวัติวิธีคิด วิธีการดำเนินชีวิตและมุมมองด้านธุรกิจ" รศ.ดร.จักษ์ กล่าว

3

เขียนข่าว : นางสาวพรนภา สวัสดี
ถ่ายภาพ : นายสกล นุ่นงาม
วิดีโอ : นายสุเมธ บุญเอื้อ
ส่วนสื่อสารองค์กร
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3728 - 3732 โทรสาร 0 2333 3834
Facebook : @MHESIThailand
Call Center โทร.1313