ดาวน์โหลด วารสารวิทย์ปริทัศน์ จากกรุงวอชิงตัน ประจำเดือนมีนาคม 2564 ฉบับที่ 3/2564
Foresight คืออะไร และอะไรที่ไม่ใช่ Foresight
การจะสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดผล จำเป็นจะต้องใช้หลากหลายทักษะประกอบกันเริ่มต้นตั้งแต่การเข้าใจปัญหาอย่างลึกซึ้งไปถึงรากของปัญหา เห็นความคิด ประสบการณ์และความเชื่อที่ทำให้เกิดปัญหานั้น การมองเห็นผู้เล่น ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และระบบที่เชื่อมโยงกันอยู่กับปัญหา บวกกับความมุ่งมั่นตั้งใจไม่ย่อท้อที่จะเอาชนะอุปสรรคที่กั้นขวางบนเส้นทางที่จะพาไปถึง "การเปลี่ยนแปลง"
ทั้งนี้ เพียงการเข้าใจปัญหา การมองอย่างเป็นระบบ และการเชื่อศรัทธาในสิ่งที่กำลังลงมือทำ อาจยังไม่เพียงพอที่จะทำให้สิ่งที่ต้องการแก้ไขกลายเป็นจริงได้ สิ่งที่ฝันนั้นต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริงในปัจจุบัน ความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และกำหนดภาพที่ชัดเจนว่าอนาคตที่จะสร้างนั้นมีหน้าตาเป็นอย่างไรอีกด้วย
Foresight หรือ Foresight Study คือคือการอธิบายวิเคราะห์ และคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงในอนาคต โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเตรียมความพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงในอนาคตหรือเพื่อออกแบบอนาคตที่อยากให้เกิดขึ้น
เผยแพร่ข่าว : นายธัชนนท์ บุญหล้า
กลุ่มสื่อสารองค์กร กองกลาง
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3728 - 3732 โทรสาร 0 2333 3834
Facebook : @MHESIThailand
Twitter : @MHESIThailand
Call Center โทร.1313
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.