โครงสร้างพื้นฐานดาราศาสตร์ล่าสุดของไทย
กล้องโทรทรรศน์วิทยุแบบวีกอส (VGOS)
เพื่อการวิจัยด้านยีออเดซี และธรณีวิทยา เชื่อมต่อกับเครือข่ายกับนานาประเทศ
ที่ตั้ง : หอสังเกตการณ์ดาราศาสตร์วิทยุแห่งชาติ จ. เชียงใหม่
กล้องโทรทรรศน์วิทยุแบบวีกอส จะเป็นเครื่องมือหลักในการสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์วิทยุ และสามารถนำมาศึกษาด้านยีออเดซีได้อีกด้วย กล้องโทรทรรศน์วิทยุแบบวีกอส (VGOS: VLBI Geodetic Observing System Radio Telescope) สามารถวัดตำแหน่งที่ตั้งของกล้องโทรรศน์วิทยุได้อย่างแม่นยำ เมื่อเวลาผ่านไปจะทำให้ทราบถึงการเคลื่อนที่ของเปลือกโลก ณ ตำแหน่งที่กล้องโทรทรรศน์วิทยุตั้งอยู่ รวมถึงทิศทาง และความเร็วในการเคลื่อนที่ของเปลือกโลก เมื่อเทียบกับตำแหน่งกล้องโทรทรรศน์วิทยุที่ตั้งอยู่ในตำแหน่งอื่นๆ บนโลก
หลักการทำงานของกล้องโทรทรรศน์วิทยุแบบวีกอส จะรับสัญญาณย่านเอส และเอกซ์ (S-band, X-band) จากแหล่งกำเนิดคลื่นวิทยุในอวกาศ พิกัดที่ได้จากการสังเกตการณ์ด้วยเทคนิค VLBI (Very Long Baseline Interferometry) ของกล้องโทรทรรศน์วิทยุสองตัวขึ้นไปในเวลาเดียวกัน จะทำให้ได้พิกัดที่มีความถูกต้องสูงมาก ด้วยความแม่นยำนี้จึงสามารถนำไปใช้ตรวจสอบการเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลกได้ในระดับไม่กี่มิลลิเมตรต่อปี แม่นยำกว่าเทคนิคอื่นๆ ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน นอกจากนี้ ยังสามารถประมวลผลลัพธ์ต่อจนได้ตัวแปรต่าง ๆ ที่บ่งบอกการวางตัวของโลกในอวกาศ (Earth Orientation Parametres) ไปจนถึงความเร็วในการหมุนรอบตัวเองของโลก (UT1) เป็นข้อมูลสำคัญที่สามารถใช้ทำนายการเกิดแผ่นดินไหวของนักธรณีวิทยา และเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อวงการวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ ธรณีวิทยา และธรณีฟิสิกส์ประยุกต์ ฯลฯ
กล้องโทรทรรศน์วิทยุแบบวีกอส จะที่ติดตั้งในประเทศไทย ภายใต้โครงการพัฒนาเครือข่ายดาราศาสตร์วิทยุและยีออเดซี มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 13 เมตร จำนวน 2 แห่ง ได้แก่
1) บริเวณหอสังเกตการณ์ดาราศาสตร์วิทยุแห่งชาติ ภายในศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อ. ดอยสะเก็ด จ. เชียงใหม่
2) หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา สงขลา ต. เขารูปช้าง อ. เมือง จ. สงขลา
สำหรับ กล้องโทรทรรศน์วิทยุแบบวีกอส ณ บริเวณหอสังเกตการณ์ดาราศาสตร์วิทยุแห่งชาติ ภายในศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อ. ดอยสะเก็ด จ. เชียงใหม่ ได้รับการสนับสนุนจากหอดูดาวเซี่ยงไฮ้ (Shanghai Astronomical Observatory, SHAO) สาธารณรัฐประชาชนจีน
ที่มา :สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.)
https://www.facebook.com/NARITpage
เผยแพร่โดย : นางสาวสุวดี เหมือนอ้น
กลุ่มสื่อสารองค์กร (สอ.)
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3880
E-mail : pr@mhesi.go.th
Facebook : @MHESIThailand
Instagram : mhesi_thailand
Tiktok : mhesi_thailand
Twitter : @MHESIThailand
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.