กระทรวง อว.

search

navmobiletoggle
  • About us
    • History
    • Vision Mission
    • Policy / Strategy
    • เครื่องหมายราชการ และ ตราสัญลักษณ์กระทรวง
    • Mission Structure
    • Executive
    • Government Division
    • Government Weblink
    • Legal
    • CIO
  • Flagship Project
  • Scholarships
    • ทุนกระทรวงทั้งหมด
    • ทุนพัฒนาอาจารย์
    • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
    • ทุนวิจัย
  • Service
    • บริการทั้งหมด
    • สถาบันอุดมศึกษา
    • นิสิต/นักศึกษา
    • อาจารย์
    • นักวิทยาศาสตร์/นักวิจัย
    • ผู้ประกอบการ
    • ภาครัฐ
  • News
    • ประมวลภาพกิจกรรม "น้อมรำลึก ในหลวง ร.9"
    • ภาพข่าวและกิจกรรม
      • ข่าวรัฐมนตรี
      • ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
      • ข่าวสารหน่วยงาน
    • ข่าวสารและประกาศ
      • ข่าวประกาศ
      • ประกาศงานบุคลากร
      • ข่าวประชุม อบรม สัมนา
      • ข่าวสารน่าสนใจ [พรบ.ข่าวสาร]
  • Data Repository
    • เอกสารเผยแพร่กระทรวง
    • เอกสารเผยแพร่จากภายนอก
    • e-Book เพราะเธอเป็นลมหายใจ
    • e-Book S&T Series
    • Infographic
    • วีดิทัศน์
    • Mobile Application
  • ศูนย์บริการร่วม
--
+
A
กระทรวง อว.
  • About us
    • History
    • Vision Mission
    • Policy / Strategy
    • เครื่องหมายราชการ และ ตราสัญลักษณ์กระทรวง
    • Mission Structure
    • Executive
    • Government Division
    • Government Weblink
    • Legal
    • CIO
  • Flagship Project
  • Scholarships
    • ทุนกระทรวงทั้งหมด
    • ทุนพัฒนาอาจารย์
    • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
    • ทุนวิจัย
  • Service
    • บริการทั้งหมด
    • สถาบันอุดมศึกษา
    • นิสิต/นักศึกษา
    • อาจารย์
    • นักวิทยาศาสตร์/นักวิจัย
    • ผู้ประกอบการ
    • ภาครัฐ
  • News
    • ประมวลภาพกิจกรรม "น้อมรำลึก ในหลวง ร.9"
    • ภาพข่าวและกิจกรรม
      • ข่าวรัฐมนตรี
      • ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
      • ข่าวสารหน่วยงาน
    • ข่าวสารและประกาศ
      • ข่าวประกาศ
      • ประกาศงานบุคลากร
      • ข่าวประชุม อบรม สัมนา
      • ข่าวสารน่าสนใจ [พรบ.ข่าวสาร]
  • Data Repository
    • เอกสารเผยแพร่กระทรวง
    • เอกสารเผยแพร่จากภายนอก
    • e-Book เพราะเธอเป็นลมหายใจ
    • e-Book S&T Series
    • Infographic
    • วีดิทัศน์
    • Mobile Application
  • ศูนย์บริการร่วม

extenmenu

เมนู
  • Thai University Consortium
  • ห้องสมุด อว.
  • Search
  • คำถามที่พบบ่อย
  • แบบฟอร์มร้องเรียน
  • Contact
  • Sitemap
  • สถิติการเข้าชมเว็บไซต์
  • เข้าสู่ระบบ/ออกจากระบบ
Rectangle 150
  • Home
  • ศูนย์บริการร่วม
  • สาระน่ารู้

ติดตาม- เฝ้าระวังไฟป่า ! ผ่าน “Disaster Platform”

  • Facebook
  • Twitter
  • Line
29 Jan 2025

     

474261023 1027023642797505 947265252847829502 n

       มาแล้ว... ฤดูกาลไฟป่า ! หนึ่งในภัยพิบัติที่ประเทศไทยต้องเผชิญอย่างต่อเนื่องในแต่ละปี ซึ่งไม่เพียงแต่สามารถสร้างความสูญเสียในชีวิต ทรัพย์สิน อาคารบ้านเรือน ป่าไม้ และชีวิตสัตว์ป่าแล้วยังทำลายความหลากหลายทางชีวภาพ ก่อมลพิษให้กับสภาพแวดล้อม เกิดก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์และถือเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดฝุ่น PM 2.5 ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้คน

       ปัจจุบันการแก้ปัญหาไฟป่าได้มีการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาช่วยในการเตรียมความพร้อมในการรับมือทั้งด้านการบริหารจัดการพื้นที่เสี่ยงภัย การเฝ้าระวัง และเป็นตัวช่วยในการดับไฟที่สามารถเพิ่มความปลอดภัยให้กับเจ้าหน้าที่ อย่างเช่น โดรนดับเพลิง หุ่นยนต์ ระบบเซ็นเซอร์ ไอโอที (IoT) และเทคโนโลยีอวกาศ โดยเฉพาะข้อมูลจุดความร้อนจากดาวเทียมที่ช่วยชี้เป้าในการเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดไฟป่า

        วันนี้...จะพาไปรู้จักกับระบบให้บริการข้อมูลเชิงพื้นที่ ซึ่งเป็นการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดาวเทียมที่จะช่วยสนับสนุนการตัดสินใจเพื่อการบริหารจัดการปัญหาไฟป่าในประเทศไทย โดยสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA เปิดให้ผู้ที่สนใจสามารถใช้บริการและเข้าถึงข้อมูลได้แล้ว... ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ที่เรียกว่า “Disaster Platform” หรือ “ระบบสนับสนุนการตัดสินใจเพื่อการบริหารจัดการพื้นที่ภัยพิบัติ”

        โดย “Disaster Platform” เป็นระบบให้บริการข้อมูลเชิงพื้นที่ด้านน้ำท่วม ไฟป่า ภัยแล้ง และมลพิษทางอากาศ ผ่าน “เว็บแอพพลิเคชั่น https://disaster.gistda.or.th” ที่มีการนำเสนอภาพรวมสถานการณ์ภัยพิบัติล่าสุดของประเทศไทยในรูปแบบ Story Map ซึ่ง GISTDA ได้พัฒนาระบบดังกล่าวขึ้นเมื่อปี 2565 โดยปรับปรุงและยกระดับจากระบบเดิมที่ใช้งานมากว่า 15 ปี เพื่อให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีในปัจจุบัน

        ทั้งนี้การนำเสนอข้อมูลที่ได้จากเทคโนโลยีดาวเทียม ใน “Disaster Platform” นอกจากจะเป็นเครื่องมือให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำมาใช้ในการเฝ้าระวังภัยพิบัติให้กับสังคม ชุมชน และยังเป็นอีกหนึ่งช่องทางให้ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยง่าย สะดวกและรวดเร็วผ่านระบบออนไลน์ โดยระบบจะเน้นการให้บริการข้อมูลในหลากหลายรูปแบบมีการแสดงผลเป็นแบบ Dashboard หรือ หน้าจอที่สรุปข้อมูลทุกอย่างให้อยู่ในหน้าจอเดียว นอกจากนี้ยังมีการให้รายละเอียดข้อมูลของการเกิดภัยพิบัติทั้งน้ำท่วม ภัยแล้ง ไฟป่าหมอกควัน และมลพิษทางอากาศที่ได้จากเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ หากจะดาวน์โหลดข้อมูลสามารถลงทะเบียนยืนยันตัวตนครั้งแรก เพื่อใช้บริการได้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายแล้ว

         ขณะที่การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีอวกาศโดยใช้ดาวเทียมเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือ (tool) ในการบริหารจัดการปัญหา “ไฟป่า” ในประเทศไทย “ดร.สุรัสวดี ภูมิพานิช” นักภูมิสารสนเทศชำนาญการ ฝ่ายทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมและภัยพิบัติ สำนักประยุกต์และบริหารภูมิสารสนเทศ GISTDA บอกว่า GISTDA น่าจะเรียกได้ว่าเป็นหน่วยงานแรก ๆ ที่มีการนำข้อมูลที่ได้จากเทคโนโลยีอวกาศโดยการประยุกต์ใช้ข้อมูลจากภาพถ่ายดาวเทียมในด้านต่างๆ แล้วเผยแพร่ข้อมูลให้กับหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง และต่อมาเปิดเผยให้กับสาธารณชนและประชาชนทั่วไปได้เข้าถึงข้อมูล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สามารถติดตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น และนำไปสู่การวางแผนบริหารสถานการณ์ในภาพรวมได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ณ ขณะนั้น

         อย่างไรก็ดี ในเรื่องของ “ไฟป่า” GISTDA ได้พยายามพิสูจน์ให้เห็นถึงประโยชน์และความน่าเชื่อถือของข้อมูลที่ได้จากเทคโนโลยีดาวเทียม เช่น “จุดความร้อน หรือ Hotspot” ที่สามารถบ่งบอกได้ว่าเป็นจุดที่ค่าความร้อนสูงกว่าปกติเมื่อเทียบกับบริเวณข้างเคียง ซึ่งช่วยจำกัดขอบเขตของการตรวจสอบในพื้นที่จริงว่าพื้นที่ใดที่เกิดไฟป่าขึ้น และช่วยให้ลดภาระการทำงานและลดความเสี่ยงของเจ้าหน้าที่ที่เข้าไปดับไฟ นอกจากนี้ ข้อมูลนี้ยังสามารถนำมาบูรณาการร่วมกับข้อมูลสภาพอากาศเพื่อวิเคราะห์เชิงพื้นที่ในการเฝ้าระวังการลุกลามของไฟโดยเฉพาะในพื้นที่ติดต่อกับเขตชุมชนที่อาศัยอยู่ใกล้เคียงอีกด้วย

         เทคโนโลยีดาวเทียมที่ใช้ในการตรวจจับ “จุดความร้อน” มีหลากหลายดวง เมื่อปี 2557 ได้มีการนำข้อมูล MODIS (จากดาวเทียม Terra และ Aqua) มาใช้ในการติดตามสถานการณ์ไฟป่าในประเทศไทย จำนวน 4 ครั้งต่อวัน และเพิ่มประสิทธิภาพความถี่ในการติดตามด้วยข้อมูลระบบเวียร์ (VIIRS) จากดาวเทียม Suomi NPP จำนวน 2 ครั้งต่อวัน ซึ่ง ณ ปัจจุบัน เทคโนโลยีดาวเทียมได้มีการพัฒนาขึ้นเป็นอย่างมากโดยเฉพาะรายละเอียดเชิงพื้นที่ดีขึ้น ให้ข้อมูลที่มีความถูกต้อง แม่นยำสูง และมีหลากหลายดวงมากขึ้น ด้วยเหตุนี้ ฤดูไฟป่าปี 2568 GISTDA สามารถติดตามจุดความร้อนของประเทศไทยได้สูงถึง 10 ครั้งต่อวัน โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม NOAA-20 จำนวน 2 ครั้งต่อวัน และจากดาวเทียม NOAA-21 จำนวน 2 ครั้งต่อวัน รวมทั้งการจัดทำสรุปจุดความร้อนปัจจุบันในรอบ 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา จังหวัดที่เกิดจุดความร้อนเป็นจำนวนมาก สามารถระบุได้ว่าจุดความร้อนที่เกิดขึ้นเป็นพื้นที่ป่าประเภทไหน หรือเป็นพื้นที่ทำการเกษตรประเภทใด รวมทั้งมีข้อมูลสถิติเปรียบเทียบในด้านต่าง ๆ เช่น 5 อันดับ พื้นที่ที่มีจุดความร้อนทั้งแบบรายประเทศและในประเทศไทย ทำให้การติดตามสถานการณ์ไฟป่าในเชิงพื้นที่ได้อย่างต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพสูงสุด

         ดร.สุรัสวดี ย้ำว่า GISTDA ได้มีการจัดทำข้อมูลที่ได้จากเทคโนโลยีดาวเทียมและเผยแพร่ข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ผ่าน Disaster Platform เช่น การคาดการณ์พื้นที่เสี่ยงไฟป่า และการประเมินพื้นที่เผาไหม้ซ้ำซาก ดังเช่น การติดตามสถานการณ์ไฟป่าหมอกควันได้มีการประสานงานและบูรณาการความร่วมมือและข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับทุกภาคส่วน อาทิ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หน่วยงานระดับท้องถิ่น รวมถึงภาคเอกชน ภาคประชาชน และกลุ่มอาสาสมัครต่างๆ ในพื้นที่ เพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการวางแผน วิเคราะห์ และประเมินสถานการณ์แบบทันต่อสถานการณ์ และร่วมมือกันป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควันได้อย่างเหมาะสมต่อสถานการณ์และบริบทของแต่ละพื้นที่

        จากสถิติจำนวนผู้ขอรับบริการข้อมูลไฟป่าและหมอกควันในห้วงฤดูกาลไฟป่าหมอกควันในปี 2567 พบว่ามีหน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา และหน่วยงานในระดับพื้นที่ขอความอนุเคราะห์ข้อมูลฯ เป็นจำนวนมากเพื่อนำไปใช้วางแผน ป้องกันและช่วยตัดสินใจบริหารจัดการเชิงพื้นที่ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด จำนวน มากกว่า 200 หน่วยงาน ขณะที่จำนวนผู้เข้าชม Disaster Platform ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2566 ถึง 9 กรกฏาคม 2567 มียอดผู้ใช้งานข้อมูลด้านภัยพิบัติผ่าน API จำนวนทั้งสิ้น 208,083 ราย และมีการดาวน์โหลดข้อมูลด้านภัยพิบัติ จำนวนทั้งสิ้น 122,702 ครั้ง

         สำหรับแนวทางการพัฒนาระบบฯ ในอนาคต ดร.สุรัสวดี บอกว่า เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นและความรวดเร็วในการเข้าถึงข้อมูลด้านไฟป่ารวมถึงภัยพิบัติต่างๆ ใน “Disaster Platform” มากขึ้น GISTDA มีการนำเทคโนโลยี AI/ML มาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการวิเคราะห์และสกัดข้อมูลจากดาวเทียมที่มีหลากหลายให้ได้อย่างรวดเร็วและมีความถูกต้องแม่นยำสูงขึ้น ร่วมกับการนำเสนอภาพถ่ายดาวเทียมที่ GISTDA รับสัญญาณร่วมกับข้อมูลจากดาวเทียมไทยโชต และ ดาวเทียม THEOS-2 ที่มีรายละเอียดระดับเซนติเมตร มาเปรียบเทียบสถานการณ์ก่อนและหลังการเกิดภัยพิบัติ เพื่อเป็นข้อมูลหลักฐานเชิงประจักษ์ (Evidence-based data) ให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถใช้ประกอบการวางแผนบริหารจัดการเชิงพื้นที่

         เรื่องของ “ไฟป่า” ที่หลายคนโดยเฉพาะคนเมืองเคยมองว่าไกลตัว วันนี้..ไม่ได้สร้างความเสียหายเฉพาะในพื้นที่ประสบภัย แต่ยังก่อมลพิษข้ามแดนส่งผลกระทบไปทั่ว ภัยพิบัตินี้แม้จะมาเป็นฤดูกาล แต่ก็เกิดต่อเนื่องสร้างความเสียหายทุกปี และที่สำคัญส่วนใหญ่เกิดจากน้ำมือมนุษย์ ทุกภาคส่วนจึงต้องมีส่วนร่วมในการช่วยกันป้องกัน แก้ไข และสร้างความตระหนักรู้ให้กับประชาชน

ผู้สนใจ..สามารถเข้าไปดูข้อมูลและติดตามสถานการณ์ไฟป่ารวมถึงภัยพิบัติอื่นๆ
ได้ฟรีที่ https://disaster.gistda.or.th

ที่มา : สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (สทอภ.)
https://www.gistda.or.th/news_view.php?n_id=8366&lang=TH

เผยแพร่โดย : นางสาวสุวดี เหมือนอ้น
กลุ่มสื่อสารองค์กร (สอ.)
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3880
E-mail : pr@mhesi.go.th
Facebook : @MHESIThailand
Instagram : mhesi_thailand
Tiktok : mhesi_thailand
Twitter : @MHESIThailand

เทคโนโลยีจากอวกาศ ตรวจสอบ ติดตาม ฝุ่น PM2.5 พร้อมแนวทางในการบรรเทาและแก้ไขปัญหา AI บุกทุ่งนา พลิกโฉมวงการเกษตรไทย

กระทรวงการ อว.

  • อว.พารับส่วนลด
    • รวมรายการสินค้าและบริการ
    • ท่องเที่ยว
    • อาหาร
    • บริการ
    • ชอปปิง
  • User Menu (Discount)
    • เนื้อหาของฉัน
    • แก้ไขข้อมูลส่วนตัว
    • ออกจากระบบ
  • เมนูหลัก
    • Home
    • About us
      • History
      • Vision Mission
      • Policy / Strategy
      • เครื่องหมายราชการ และ ตราสัญลักษณ์กระทรวง
      • Mission Structure
      • Executive
      • Government Division
      • Government Weblink
      • Legal
      • CIO
    • Flagship Project
    • Scholarships
      • ทุนกระทรวงทั้งหมด
      • ทุนพัฒนาอาจารย์
      • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
      • ทุนวิจัย
    • Service
      • บริการทั้งหมด
      • สถาบันอุดมศึกษา
      • นิสิต/นักศึกษา
      • อาจารย์
      • นักวิทยาศาสตร์/นักวิจัย
      • ผู้ประกอบการ
      • ภาครัฐ
    • News
      • ประมวลภาพกิจกรรม "น้อมรำลึก ในหลวง ร.9"
      • ภาพข่าวและกิจกรรม
        • ข่าวรัฐมนตรี
        • ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
        • ข่าวสารหน่วยงาน
      • ข่าวสารและประกาศ
        • ข่าวประกาศ
        • ประกาศงานบุคลากร
        • ข่าวประชุม อบรม สัมนา
        • ข่าวสารน่าสนใจ [พรบ.ข่าวสาร]
    • Data Repository
      • เอกสารเผยแพร่กระทรวง
      • เอกสารเผยแพร่จากภายนอก
      • e-Book เพราะเธอเป็นลมหายใจ
      • e-Book S&T Series
      • Infographic
      • วีดิทัศน์
      • Mobile Application
        • สำหรับ iOS
        • สำหรับ Andriod
    • ศูนย์บริการร่วม
      • ความเป็นมาศูนย์บริการประชาชน
      • รางวัลและผลงานเด่น
      • ติดต่อศูนย์บริการร่วม
      • สาระน่ารู้
  • แนะนำหน่วยงาน
    • ความเป็นมา
    • Vision and Mission
    • นโยบาย/ยุทธศาสตร์กระทรวง
    • โครงสร้างภารกิจกระทรวง
    • ผู้บริหารกระทรวง
    • การแบ่งส่วนราชการ
    • ลิงก์หน่วยงาน
    • กฏหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
    • เกี่ยวกับซีไอโอ
  • ทุนกระทรวง
    • ทุนกระทรวงทั้งหมด
    • ทุนพัฒนาอาจารย์
    • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
    • ทุนวิจัย
  • ภาพข่าวและกิจกรรม
    • ภาพข่าวและกิจกรรม
    • ข่าวผู้บริหาร
    • ข่าวสารหน่วยงาน
  • เมนูอื่นๆ
    • Thai University Consortium
    • ห้องสมุด อว.
    • Search
    • คำถามที่พบบ่อย
    • แบบฟอร์มร้องเรียน
    • Contact
    • Sitemap
    • สถิติการเข้าชมเว็บไซต์
    • เข้าสู่ระบบ/ออกจากระบบ

map แผนที่และการเดินทาง

faqคำถามที่พบบ่อย

faqเสนอแนะ/ร้องเรียน

faqแผนผังเว็บไซต์

กระทรวง อว.

แอปพลิเคชั่นทั้งหมดของกระทรวง

ios app andriod app 

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป

© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.

WCAG 2.0 (Level AAA)

ติดตามเราได้ที่   facebook twitter youtube This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.