กระทรวง อว.

search

navmobiletoggle
  • About us
    • History
    • Vision Mission
    • Policy / Strategy
    • เครื่องหมายราชการ และ ตราสัญลักษณ์กระทรวง
    • Mission Structure
    • Executive
    • Government Division
    • Government Weblink
    • Legal
    • CIO
  • Flagship Project
  • Scholarships
    • ทุนกระทรวงทั้งหมด
    • ทุนพัฒนาอาจารย์
    • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
    • ทุนวิจัย
  • Service
    • บริการทั้งหมด
    • สถาบันอุดมศึกษา
    • นิสิต/นักศึกษา
    • อาจารย์
    • นักวิทยาศาสตร์/นักวิจัย
    • ผู้ประกอบการ
    • ภาครัฐ
  • News
    • ประมวลภาพกิจกรรม "น้อมรำลึก ในหลวง ร.9"
    • ภาพข่าวและกิจกรรม
      • ข่าวรัฐมนตรี
      • ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
      • ข่าวสารหน่วยงาน
    • ข่าวสารและประกาศ
      • ข่าวประกาศ
      • ประกาศงานบุคลากร
      • ข่าวประชุม อบรม สัมนา
      • ข่าวสารน่าสนใจ [พรบ.ข่าวสาร]
  • Data Repository
    • เอกสารเผยแพร่กระทรวง
    • เอกสารเผยแพร่จากภายนอก
    • e-Book เพราะเธอเป็นลมหายใจ
    • e-Book S&T Series
    • Infographic
    • วีดิทัศน์
    • Mobile Application
  • ศูนย์บริการร่วม
--
+
A
กระทรวง อว.
  • About us
    • History
    • Vision Mission
    • Policy / Strategy
    • เครื่องหมายราชการ และ ตราสัญลักษณ์กระทรวง
    • Mission Structure
    • Executive
    • Government Division
    • Government Weblink
    • Legal
    • CIO
  • Flagship Project
  • Scholarships
    • ทุนกระทรวงทั้งหมด
    • ทุนพัฒนาอาจารย์
    • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
    • ทุนวิจัย
  • Service
    • บริการทั้งหมด
    • สถาบันอุดมศึกษา
    • นิสิต/นักศึกษา
    • อาจารย์
    • นักวิทยาศาสตร์/นักวิจัย
    • ผู้ประกอบการ
    • ภาครัฐ
  • News
    • ประมวลภาพกิจกรรม "น้อมรำลึก ในหลวง ร.9"
    • ภาพข่าวและกิจกรรม
      • ข่าวรัฐมนตรี
      • ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
      • ข่าวสารหน่วยงาน
    • ข่าวสารและประกาศ
      • ข่าวประกาศ
      • ประกาศงานบุคลากร
      • ข่าวประชุม อบรม สัมนา
      • ข่าวสารน่าสนใจ [พรบ.ข่าวสาร]
  • Data Repository
    • เอกสารเผยแพร่กระทรวง
    • เอกสารเผยแพร่จากภายนอก
    • e-Book เพราะเธอเป็นลมหายใจ
    • e-Book S&T Series
    • Infographic
    • วีดิทัศน์
    • Mobile Application
  • ศูนย์บริการร่วม

extenmenu

เมนู
  • Thai University Consortium
  • ห้องสมุด อว.
  • Search
  • คำถามที่พบบ่อย
  • แบบฟอร์มร้องเรียน
  • Contact
  • Sitemap
  • สถิติการเข้าชมเว็บไซต์
  • เข้าสู่ระบบ/ออกจากระบบ
Rectangle 150
  • Home
  • ศูนย์บริการร่วม
  • สาระน่ารู้

เทคโนโลยีจากอวกาศ ตรวจสอบ ติดตาม ฝุ่น PM2.5 พร้อมแนวทางในการบรรเทาและแก้ไขปัญหา

  • Facebook
  • Twitter
  • Line
30 Jan 2025

474162348 1029274209239115 581263212142931836 n

        หลายวันมานี้ ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 เป็นหนึ่งในปัญหามลพิษทางอากาศที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและระบบทางเดินหายใจของมนุษย์อย่างรุนแรง ซึ่งสามารถก่อให้เกิดโรคทางเดินหายใจ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็งปอด รวมถึงโรคอื่นๆที่จะตามมาอีกมากมาย ปัจจุบันมีหลายหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องให้ความสำคัญกับการติดตามและหาแนวทางการแก้ไขปัญหาร่วมกันและหนึ่งในนั้นคือสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA ที่ต้องการดึงศักยภาพจากเทคโนโลยีจากอวกาศ เช่น ข้อมูลจากดาวเทียมและระบบเซนเซอร์ระยะไกล หรือ Remote Sensing มาใช้ประโยชน์ เพื่อให้เป็นเครื่องมือสำคัญในการตรวจสอบและติดตามฝุ่นละออง PM2.5 อย่างใกล้ชิดตลอด 24 ชั่วโมง

1.เทคโนโลยีจากอวกาศกับบทบาทในการตรวจสอบ PM2.5
ดาวเทียมสำรวจโลก (Earth Observation Satellites):

ดาวเทียม Himawari-8 โดยภารกิจหลักของดาวเทียมดวงนี้ คือการติดตามการเปลี่ยนแปลงบนชั้นบรรยากาศของโลกทุกๆ 10 นาที ผ่านกล้องในระบบออพติคอลและอินฟาเรด เพื่อเก็บข้อมูลสภาพอากาศครอบคลุมบริเวณทวีปเอเชียและแปซิฟิกตะวันตก จากนั้นจะส่งให้ภาคพื้นดินใช้ประกอบการพยากรณ์อากาศบนโลก จุดเด่นคือมีความถี่ของการจับภาพที่สูง ทำให้มีฐานข้อมูลเก็บรวบรวมไว้อย่างเพียงพอ และที่สำคัญคือสามารถส่งข้อมูลภาพถ่ายในช่วง Mid-Infared ได้

ดาวเทียม ระบบ MODIS (Moderate Resolution Imaging Spectroradiometer) และ ระบบ VIIRS (Visible Infrared Imaging Radiometer Suite) สามารถวัดค่าความเข้มข้นของฝุ่น PM2.5 ผ่านข้อมูลแสงสะท้อนและการดูดกลืนแสงในชั้นบรรยากาศ

ดาวเทียม Sentinel-5P ภายใต้โครงการ Copernicus ของสหภาพยุโรป มีความสามารถในการตรวจวัดมลพิษทางอากาศ รวมถึง PM 2.5 และก๊าซที่เกี่ยวข้อง เช่น ซัลเฟอร์ไดออกไซด์และไนโตรเจนไดออกไซด์ อุปกรณ์หลักบนดาวเทียมดวงนี้เรียกว่า Tropomi เป็นกล้องถ่ายภาพที่มีความก้าวหน้าสามารถวัดการเปลี่ยนแปลงในชั้นบรรยากาศโลกด้วยการเทียบเเสงอาทิตย์ที่สะท้อนจากชั้นบรรยากาศโลกกับเเสงที่มาจากดวงอาทิตย์โดยตรงและกล้องถ่ายภาพตัวนี้มีความคมชัดของภาพสูงขึ้นกว่าในอดีตมาก

2. การติดตามการกระจายตัวของ PM2.5
       ข้อมูลจากดาวเทียมสามารถนำมาใช้วิเคราะห์ในการติดตามการกระจายตัวของ PM 2.5 ในพื้นที่ต่าง ๆ ทั้งในระดับประเทศ ระดับจังหวัด ระดับอำเภอ ระดับตำบล ไปจนถึง ณ ตำแหน่งปัจจุบันของผู้ใช้งาน การใช้เทคนิค AI/ML หรือ Artificial Intelligence/Machine Learning คือ “การทำให้ระบบคอมพิวเตอร์สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองโดยใช้ข้อมูล” Machine Learning เป็น subset ของ AI จุดประสงค์คือเพื่อใช้ในการสร้างแอปพลิเคชั่นที่มีประสิทธิภาพมากกว่ามนุษย์ในการทำงานบางประเภท โดยการทำให้ฉลาดขึ้น สามารถพัฒนา และเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง โดยข้อมูลที่ใช้ในแบบจำลอง เช่น Himawari ร่วมกับสถานีตรวจวัด PM 2.5 (กรมควบคุมมลพิษ), ข้อมูลสภาพอากาศ (กรมอุตุนิยมวิทยา), ข้อมูลสภาพพื้นที่ภูมิประเทศ, รวมถึงข้อมูลแหล่งกำเนิดฝุ่น เช่น จุดความร้อน เป็นต้น นอกจากนี้การใช้ข้อมูลเหล่านี้ร่วมกับแบบจำลองการพยากรณ์ (Forecasting Models) เพื่อดูพฤติกรรมของข้อมูลฝุ่น PM2.5 ในแต่ละชั่วโมงพร้อมทั้งใช้ในการคาดกาณ์สถานการณ์ฝุ่น PM2.5 ได้อีกด้วย

3. การวิเคราะห์ข้อมูลในระดับเวลาจริง
       เทคโนโลยีจากอวกาศช่วยให้สามารถตรวจสอบค่าฝุ่น PM2.5 แบบเรียลไทม์ผ่านเครือข่ายเซนเซอร์ที่ทำงานร่วมกันระหว่างพื้นดินและอวกาศ เช่น ระบบ GEMS (Geostationary Environment Monitoring Spectrometer) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ตรวจวัดที่ติดตั้งบนดาวเทียม KOMPSAT-2B ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อเป็นเครื่องมือบันทึก วิเคราะห์ และติดตามปริมาณก๊าซที่มีผลต่อสิ่งแวดล้อมบนโลกของเราได้อย่างต่อเนื่องและรายละเอียดข้อมูลที่ดีขึ้น อาทิ ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ก๊าซฟอร์มาลดีไฮด์ ก๊าซโอโซน และอนุภาคฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5, PM10) ซึ่งใช้การสอบเทียบค่ากับเซนเซอร์จากสถานีตรวจวัดภาคพื้นดิน เป็นต้น

แนวทางในการบรรเทาและแก้ไขปัญหา PM2.5
1. การออกนโยบายจากข้อมูลที่แม่นยำ
ข้อมูลจากดาวเทียมช่วยสนับสนุนการทำงานให้กับรัฐบาลและองค์กรระหว่างประเทศเพื่อวางแผนและกำหนดนโยบายในการลดมลพิษได้อย่างแม่นยำ ตัวอย่างเช่น การกำหนดเขตพื้นที่ควบคุมการปล่อยมลพิษ (Emission Control Zones) ในพื้นที่ที่มีค่าฝุ่นสูง หรือการออกประกาศแจ้งเตือนเขตมลพิษต่างๆ

2. การเฝ้าระวังและการแจ้งเตือนล่วงหน้า
- ระบบแจ้งเตือนคุณภาพอากาศที่ใช้ข้อมูลจากดาวเทียมช่วยลดผลกระทบต่อสุขภาพและระบบทางเดินหายใจของประชาชน โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูง
- การพัฒนาระบบแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟนที่เชื่อมโยงกับข้อมูลอวกาศ เพื่อแจ้งเตือนประชาชนในกรณีค่าฝุ่นเกินมาตรฐาน เพื่อให้ประชาชนได้ป้องกันและลดความเสี่ยงจากสถานการณ์ในช่วงเวลานั้น

3. การพัฒนาเทคโนโลยีลดมลพิษ
- ใช้ข้อมูลจากอวกาศในการระบุแหล่งกำเนิดฝุ่น เช่น การเผาในที่โล่งและการจราจร เพื่อนำมาพัฒนาเทคโนโลยีการลดมลพิษที่ตรงจุด เช่น การติดตั้งตัวกรองฝุ่นจากแหล่งกำเนิดต่างๆ

4. การส่งเสริมความร่วมมือระดับนานาชาติ
การใช้เทคโนโลยีอวกาศเป็นเครื่องมือร่วมกันในการแก้ปัญหามลพิษทางอากาศข้ามพรมแดน เช่น การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างประเทศผ่านองค์กรเช่น United Nations Environment Programme (UNEP) เป็นต้น

      เทคโนโลยีจากอวกาศได้กลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการตรวจสอบและติดตาม PM2.5 อย่างมีประสิทธิภาพ ข้อมูลจากดาวเทียมและระบบเซนเซอร์ระยะไกลช่วยให้เราสามารถวิเคราะห์และจัดการปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กได้อย่างแม่นยำมากขึ้น พร้อมทั้งสนับสนุนการออกแบบนโยบายและมาตรการแก้ไขที่มีประสิทธิภาพ การผสมผสานเทคโนโลยีเหล่านี้เข้ากับความร่วมมือระดับโลกจะช่วยลดผลกระทบของ PM2.5 ต่อสุขภาพมนุษย์และสิ่งแวดล้อมในระยะยาว และจะช่วยให้คุณภาพชีวิตของประชากรดีขึ้นต่อไป

คลิกเพื่ออ่าน บทความ อื่นๆ ของสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (สทอภ.) 

ที่มา : สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (สทอภ.)
https://www.gistda.or.th/news_view.php?n_id=8366&lang=TH

เผยแพร่โดย : นางสาวสุวดี เหมือนอ้น
กลุ่มสื่อสารองค์กร (สอ.)
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3880
E-mail : pr@mhesi.go.th
Facebook : @MHESIThailand
Instagram : mhesi_thailand
Tiktok : mhesi_thailand
Twitter : @MHESIThailand

อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ไทยแข็งแกร่งต้นน้ำถึงปลายน้ำ วลีนี้เป็นได้มากกว่าภาพฝัน ติดตาม- เฝ้าระวังไฟป่า ! ผ่าน “Disaster Platform”

กระทรวงการ อว.

  • อว.พารับส่วนลด
    • รวมรายการสินค้าและบริการ
    • ท่องเที่ยว
    • อาหาร
    • บริการ
    • ชอปปิง
  • User Menu (Discount)
    • เนื้อหาของฉัน
    • แก้ไขข้อมูลส่วนตัว
    • ออกจากระบบ
  • เมนูหลัก
    • Home
    • About us
      • History
      • Vision Mission
      • Policy / Strategy
      • เครื่องหมายราชการ และ ตราสัญลักษณ์กระทรวง
      • Mission Structure
      • Executive
      • Government Division
      • Government Weblink
      • Legal
      • CIO
    • Flagship Project
    • Scholarships
      • ทุนกระทรวงทั้งหมด
      • ทุนพัฒนาอาจารย์
      • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
      • ทุนวิจัย
    • Service
      • บริการทั้งหมด
      • สถาบันอุดมศึกษา
      • นิสิต/นักศึกษา
      • อาจารย์
      • นักวิทยาศาสตร์/นักวิจัย
      • ผู้ประกอบการ
      • ภาครัฐ
    • News
      • ประมวลภาพกิจกรรม "น้อมรำลึก ในหลวง ร.9"
      • ภาพข่าวและกิจกรรม
        • ข่าวรัฐมนตรี
        • ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
        • ข่าวสารหน่วยงาน
      • ข่าวสารและประกาศ
        • ข่าวประกาศ
        • ประกาศงานบุคลากร
        • ข่าวประชุม อบรม สัมนา
        • ข่าวสารน่าสนใจ [พรบ.ข่าวสาร]
    • Data Repository
      • เอกสารเผยแพร่กระทรวง
      • เอกสารเผยแพร่จากภายนอก
      • e-Book เพราะเธอเป็นลมหายใจ
      • e-Book S&T Series
      • Infographic
      • วีดิทัศน์
      • Mobile Application
        • สำหรับ iOS
        • สำหรับ Andriod
    • ศูนย์บริการร่วม
      • ความเป็นมาศูนย์บริการประชาชน
      • รางวัลและผลงานเด่น
      • ติดต่อศูนย์บริการร่วม
      • สาระน่ารู้
  • แนะนำหน่วยงาน
    • ความเป็นมา
    • Vision and Mission
    • นโยบาย/ยุทธศาสตร์กระทรวง
    • โครงสร้างภารกิจกระทรวง
    • ผู้บริหารกระทรวง
    • การแบ่งส่วนราชการ
    • ลิงก์หน่วยงาน
    • กฏหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
    • เกี่ยวกับซีไอโอ
  • ทุนกระทรวง
    • ทุนกระทรวงทั้งหมด
    • ทุนพัฒนาอาจารย์
    • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
    • ทุนวิจัย
  • ภาพข่าวและกิจกรรม
    • ภาพข่าวและกิจกรรม
    • ข่าวผู้บริหาร
    • ข่าวสารหน่วยงาน
  • เมนูอื่นๆ
    • Thai University Consortium
    • ห้องสมุด อว.
    • Search
    • คำถามที่พบบ่อย
    • แบบฟอร์มร้องเรียน
    • Contact
    • Sitemap
    • สถิติการเข้าชมเว็บไซต์
    • เข้าสู่ระบบ/ออกจากระบบ

map แผนที่และการเดินทาง

faqคำถามที่พบบ่อย

faqเสนอแนะ/ร้องเรียน

faqแผนผังเว็บไซต์

กระทรวง อว.

แอปพลิเคชั่นทั้งหมดของกระทรวง

ios app andriod app 

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป

© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.

WCAG 2.0 (Level AAA)

ติดตามเราได้ที่   facebook twitter youtube This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.