"อว. เผยไทยฉีดวัคซีนครบ 2 ล้านโดสแล้ว พร้อมเปิด 9 สถิติสำคัญหลังฉีดวัคซีน"
(13 พฤษภาคม 2564) ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) รายงานว่า กระทรวง อว. และกระทรวงสาธารณสุข ได้ติดตามและประมวลผลการฉีดวัคซีนโควิด-19 ในประเทศไทยและทั่วโลก โดยสรุปข้อมูลถึงวันที่ 13 พฤษภาคม 2564 ว่า "ประเทศไทยได้ฉีดวัคซีนโควิด-19 แล้ว จำนวน 2,040,363 โดส โดยมีผู้ที่ได้รับวัคซีนแล้วอย่างน้อยหนึ่งเข็ม 1,395,130 คน หรือเท่ากับ 2.11% ของประชากร และฉีดครบสองเข็มแล้วถึง 645,233 คน หรือเท่ากับ 0.97% ของประชากร
ทั้งนี้ วัคซีนที่ใช้ 94.8% เป็นวัคซีนซิโนแวก และ 5.2% เป็นวัคซีนแอสตราซิเนกา"
? สถิติที่สำคัญของการฉีดวัคซีนโควิด-19 ในคนไทย จำนวน 2 ล้านโดสแรก มีดังนี้
1️⃣ไทม์ไลน์ที่สำคัญเกี่ยวกับวัคซีนโควิด-19 ในประเทศไทย
- 20 ม.ค.64 อย.อนุมัติวัคซีนแอสตราซิเนกาแบบมีเงื่อนไขเพื่อใช้ในกรณีฉุกเฉิน
- 22 ก.พ.64 อย.อนุมัติวัคซีนซิโนแวกแบบมีเงื่อนไขเพื่อใช้ในกรณีฉุกเฉิน
- 24 ก.พ.64 วัคซีนโควิด-19 ล็อตแรก 317,600 โดส ถึงประเทศไทย
- 28 ก.พ.64 เริ่มฉีดวัคซีนซิโนแวก
- 16 มี.ค.64 เริ่มฉีดวัคซีนแอสตราซิเนกา
- 23 เม.ย.64 ฉีดวัคซีนครบ 1 ล้านโดส
- 12 พ.ค.64 ฉีดวัคซีนครบ 2 ล้านโดส
2️⃣ระยะเวลาที่ใช้ในการฉีดหนึ่งล้านโดส
-หนึ่งล้านโดสแรก ใช้เวลา 54 วัน
-หนึ่งล้านโดสที่สอง ใช้เวลา 20 วัน
3️⃣จำนวนการฉีดวัคซีน ณ วันที่ 13 พฤษภาคม 2564
-ยอดรวม ฉีดแล้ว 2,040,363 โดส
-ฉีดเข็มแรก 1,395,130 โดส (เท่ากับ 2.11% ของประชากร)
-ฉีดเข็มที่สอง 645,233 โดส (เท่ากับ 0.97% ของประชากร)
4️⃣ชนิดของวัคซีนที่ใช้
- วัคซีนซิโนแวก ฉีดแล้ว 1,934,931 โดส (94.8%) แบ่งเป็น
-ฉีดเข็มแรก 1,291,556 โดส (63.3%)
-ฉีดเข็มที่สอง 643,375 โดส (31.5%)
- วัคซีนแอสตราซิเนกา ฉีดแล้ว 105,432 โดส (5.2%) แบ่งเป็น
-ฉีดเข็มแรก 103,574 โดส (5.1%)
-ฉีดเข็มที่สอง 1,858 โดส (0.1%)
5️⃣การจัดสรรวัคซีน ได้จัดสรรแล้วทั่วประเทศ จำนวนรวม 2,454,496 โดส แบ่งเป็น
- วัคซีนซิโนแวก 2,341,066 โดส
- วัคซีนแอสตราซิเนกา 113,430 โดส
6️⃣กลุ่มผู้ได้รับวัคซีน เรียงตามลำดับ
-บุคลากรการแพทย์/สาธารณสุข/อสม. 974,019 โดส (47.8%)
-ประชาชนในพื้นที่เสี่ยง 639,687 คน (29.3%)
-เจ้าหน้าที่อื่นๆที่มีโอกาสสัมผัสผู้ป่วย 257,927 คน (13.5%)
-บุคคลที่มีโรคประจำตัว 120,546 คน (6.0%)
-ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป 48,184 คน (3.4%)
7️⃣จังหวัดที่มีผู้ฉีดวัคซีน จำนวนมากที่สุด 10 จังหวัดแรก
1. กรุงเทพมหานคร
2. สมุทรสาคร
3. ภูเก็ต
4. นนทบุรี
5. ตาก
6. ชลบุรี
7. สุราษฎร์ธานี
8. สมุทรปราการ
9. ปทุมธานี
10. บุรีรัมย์
8️⃣จังหวัดที่มีผู้ฉีดวัคซีนต่อประชากร สัดส่วนสูงที่สุด 10 จังหวัดแรก
1. สมุทรสาคร
2. ภูเก็ต
3. ระนอง
4. ตาก
5. กรุงเทพมหานคร
6. นนทบุรี
7. สุราษฎร์ธานี
8. สมุทรสงคราม
9. พังงา
10. ชลบุรี
9️⃣ความปลอดภัยของวัคซีน
-89.19% ของผู้ฉีด ไม่มีรายงานผลข้างเคียงหลังได้รับวัคซีน
-10.81% ของผู้ฉีด มีผลข้างเคียงหลังได้รับวัคซีน ได้แก่
-ปวดกล้ามเนื้อ (6.65% ของผู้ที่ฉีด)
-ปวดศีรษะ (4.37%)
-เหนื่อย อ่อนเพลีย ไม่มีแรง (3.23%)
-ปวด บวม แดง ร้อน บริเวณที่ฉีด (3.18%)
-ไข้ (2.08%)
-คลื่นไส้ (1.56%)
-ท้องเสีย (1.23%)
-ปวดกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้ออ่อนแรง (0.91%)
-ผื่น (0.7%)
-อาเจียน (0.4%)
-อาการอื่นๆ (1.34%)
-มีอาการแพ้รุนแรง 6.5 คนต่อหนึ่งล้านโดส และการชาชนิด Polyneuropathy 0.5 คนต่อหนึ่งล้านโดส
-ไม่มีผู้เสียชีวิตที่มีสาเหตุจากวัคซีน
?แหล่งข้อมูล กรมควบคุมโรค
?ประมวลข้อมูลโดย กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
ข้อมูล : สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
เผยแพร่โดย : นางสาวสุวดี เหมือนอ้น
กลุ่มสื่อสารองค์กร กองกลาง
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3880 โทรสาร 0 2333 3834
Facebook : @MHESIThailand
Twitter : @MHESIThailand
Call Center โทร.1313
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.