เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2563 ดร.อาภารัตน์ มหาขันธ์ รองผู้ว่าการกลุ่มวิจัยและพัฒนาด้านพัฒนาอย่างยั่งยืน สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พร้อมด้วย นายเฉลิมชัย จีระพันธุ์ ผอ.ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมพลังงานสะอาดและสิ่งแวดล้อม ดร.เรวดี อนุวัฒนา นักวิจัยอาวุโส วว. ร่วมต้อนรับ ดร.ชญาน์ จันทวสุ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานบริหารความยั่งยืนและภาพลักษณ์องค์กร บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ จีซี และคณะผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ ในโอกาสเยี่ยมชมศึกษาดูงานเทคโนโลยีการคัดแยกขยะชุมชนของ วว. ในอาคารคัดแยกขยะชุมชน ต.ตาลเดี่ยว จ.สระบุรี ซึ่งมีศักยภาพคัดแยกขยะชุมชนปริมาณ 40 ตันต่อวัน โดยมีเป้าหมายในการดำเนินงานเพื่อเพิ่มสัดส่วนการรีไซเคิล จัดการขยะเก่า/ ขยะใหม่ เพื่อสร้างรายได้และเกิดการจ้างงาน ได้แก่ ระบบคัดแยกขยะพร้อมระบบดับกลิ่นขยะ ระบบล้างถุงพลาสติก ระบบคัดแยกชนิดและสีพลาสติกโดยระบบ NIR และ Vision พร้อมระบบผลิตเกล็ดพลาสติก ระบบผลิตเชื้อเพลิงขยะ (RDF) ระบบผลิตก๊าซชีวภาพและระบบผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพอัดถัง (CBG) รวมทั้งเยี่ยมชมนวัตกรรมชุมชน ซึ่งได้รับการถ่ายทอดและฝึกอบรมจาก วว. ได้แก่ ชอล์คไล่มด..จากเปลือกไข่ซึ่งจัดเป็นขยะอินทรีย์ซึ่งไม่มีมูลค่า วว. พัฒนาเป็นชอล์กที่สามารถสร้างรายได้ชิ้นละ 15 - 20 บาทต่อแท่ง เมื่อหมดความจำเป็นจากการใช้งาน สามารถนำมาใช้เป็นสารปรับปรุงดินที่เป็นกรด โดยไม่ต้องพึ่งพาการใช้สารเคมีเพื่อปรับสภาพดินที่เป็นแหล่งอาหารให้กับมนุษย์และสัตว์ การผลิตก๊าซชีวภาพ...นวัตกรรมที่นำน้ำเสียมาใช้ประโยชน์ และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน การปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์) สามารถนำหุงต้มได้ นอกจากนี้ยังสามารถปรับปรุงค่าความร้อนและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานในรูปแบบต่างๆ ทั้งด้านความร้อน ไฟฟ้า และการอัดไบโอมีเทนที่ใช้งานกับรถยนต์ เป็นต้น ณ ชุมชนหมู่ 10 ต.ตาลเดี่ยว จ.สระบุรี
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.