กระทรวง อว.

search

navmobiletoggle
  • About us
    • History
    • Vision Mission
    • Policy / Strategy
    • เครื่องหมายราชการ และ ตราสัญลักษณ์กระทรวง
    • Mission Structure
    • Executive
    • Government Division
    • Government Weblink
    • Legal
    • CIO
  • Flagship Project
  • Scholarships
    • ทุนกระทรวงทั้งหมด
    • ทุนพัฒนาอาจารย์
    • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
    • ทุนวิจัย
  • Service
    • บริการทั้งหมด
    • สถาบันอุดมศึกษา
    • นิสิต/นักศึกษา
    • อาจารย์
    • นักวิทยาศาสตร์/นักวิจัย
    • ผู้ประกอบการ
    • ภาครัฐ
  • News
    • ประมวลภาพกิจกรรม "น้อมรำลึก ในหลวง ร.9"
    • ภาพข่าวและกิจกรรม
      • ข่าวรัฐมนตรี
      • ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
      • ข่าวสารหน่วยงาน
    • ข่าวสารและประกาศ
      • ข่าวประกาศ
      • ประกาศงานบุคลากร
      • ข่าวประชุม อบรม สัมนา
      • ข่าวสารน่าสนใจ [พรบ.ข่าวสาร]
  • Data Repository
    • เอกสารเผยแพร่กระทรวง
    • เอกสารเผยแพร่จากภายนอก
    • e-Book เพราะเธอเป็นลมหายใจ
    • e-Book S&T Series
    • Infographic
    • วีดิทัศน์
    • Mobile Application
  • ศูนย์บริการร่วม
--
+
A
กระทรวง อว.
  • About us
    • History
    • Vision Mission
    • Policy / Strategy
    • เครื่องหมายราชการ และ ตราสัญลักษณ์กระทรวง
    • Mission Structure
    • Executive
    • Government Division
    • Government Weblink
    • Legal
    • CIO
  • Flagship Project
  • Scholarships
    • ทุนกระทรวงทั้งหมด
    • ทุนพัฒนาอาจารย์
    • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
    • ทุนวิจัย
  • Service
    • บริการทั้งหมด
    • สถาบันอุดมศึกษา
    • นิสิต/นักศึกษา
    • อาจารย์
    • นักวิทยาศาสตร์/นักวิจัย
    • ผู้ประกอบการ
    • ภาครัฐ
  • News
    • ประมวลภาพกิจกรรม "น้อมรำลึก ในหลวง ร.9"
    • ภาพข่าวและกิจกรรม
      • ข่าวรัฐมนตรี
      • ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
      • ข่าวสารหน่วยงาน
    • ข่าวสารและประกาศ
      • ข่าวประกาศ
      • ประกาศงานบุคลากร
      • ข่าวประชุม อบรม สัมนา
      • ข่าวสารน่าสนใจ [พรบ.ข่าวสาร]
  • Data Repository
    • เอกสารเผยแพร่กระทรวง
    • เอกสารเผยแพร่จากภายนอก
    • e-Book เพราะเธอเป็นลมหายใจ
    • e-Book S&T Series
    • Infographic
    • วีดิทัศน์
    • Mobile Application
  • ศูนย์บริการร่วม

extenmenu

เมนู
  • Thai University Consortium
  • ห้องสมุด อว.
  • Search
  • คำถามที่พบบ่อย
  • แบบฟอร์มร้องเรียน
  • Contact
  • Sitemap
  • สถิติการเข้าชมเว็บไซต์
  • เข้าสู่ระบบ/ออกจากระบบ
Rectangle 150
  • Home
  • ภาพข่าวและกิจกรรม

นักวิจัยคณะทันตแพทย์ฯ ม.สงขลานครินทร์ เจ๋งคัดเลือกจุลินทรีย์โพรไบโอติกสายพันธุ์ใหม่สำเร็จเป็นครั้งแรกของโลก สอว.เตรียมขยายผลใช้ผสมในอาหารและเครื่องดื่ม

  • Facebook
  • Twitter
  • Line
02 Mar 2020

1

นักวิจัยจากคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เจ๋งคัดเลือกจุลินทรีย์โพรไบโอติกสายพันธุ์ใหม่สำเร็จเป็นครั้งแรกของโลก แก้ฟันผุ และปัญหาสุขภาพในช่องปากของคนไทย เผยผลงานได้รับการตีพิมพ์ทางวิชาการและเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ แถมได้เป็นต้นแบบในการใช้โพรไบโอติกในการป้องกันฟันผุในเด็ก และเป็นทางเลือกหนึ่งในการป้องกันฟันผุในคนไทย สอว.เตรียมขยายผลใช้ผสมในอาหารและเครื่องดื่ม

          เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2563 ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จ.สงขลา ศ.ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล รองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) พร้อมด้วย น.ส.ทิพวัลย์ เวชการัณย์ ผู้อำนวยการสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมกิจการอุทยานวิทยาศาสตร์ (สอว.) เดินทางลงพื้นที่ เพื่อเยี่ยมชมผลงานการสนับสนุนผู้ประกอบการ สอว. เรื่อง "โพรไบโอติกสายพันธุ์ใหม่ (Probiotic)" กับทางเลือกใหม่ในการป้องกันฟันผุ ซึ่งพัฒนาโดย ศ.ดร.รวี เถียรไพศาล และทีมนักวิจัยจากคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ที่ได้คัดเลือกจุลินทรีย์โพรไบโอติกสายพันธุ์ใหม่สำเร็จเป็นครั้งแรกของโลก ได้แก่ โพรไบโอติกแลคโตแบซิลลัล พาราเคเซอิ เอสดีหนึ่ง (Lactobacillus Paracasei SD1) และแลคโตแบซิลลัล แรมโนซัส เอสดีสิบเอ็ด (Lactobacillus Rhamnosus SD11) ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่มีแหล่งมาจากช่องปากของคนสุขภาพดี เพื่อมาใช้เสริมสุขภาพในช่องปากคนไทยโดยเฉพาะ

7

          ศ.ดร.ศุภชัย เปิดเผยว่า ปัญหาสุขภาพในช่องปากของประชาชนไทย โดยเฉพาะฟันผุเป็นปัญหาสำคัญของชาติปัญหาหนึ่ง โรคฟันผุพบได้บ่อยในทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กเล็ก ซึ่งประเทศไทยในปัจจุบันเด็ก 0 - 5 ปี มีจำนวนประมาณ 4.2 ล้านคน มีอาการฟันผุประมาณ 3.6 ล้านคน เนื่องจากประชาชนขาดความรู้ ความเข้าใจ และการดูแลเอาใจใส่ที่ดีพอ จากการที่พบว่าเด็กไทยมีฟันผุจำนวนสูง การมีฟันผุในวัยเด็กทำให้เด็กเจ็บปวด ส่งผลต่อการกินอาหารที่มีคุณค่าได้ลดลง ซึ่งส่งผลต่อการเจริญเติบโตทั้งร่งกายและสติปัญญา มีฟันซ้อนเก และทำให้ฟันแท้มีโอกาสผุง่ายในอนาคต นอกจากนี้การสูญเสียฟันก่อนวัยอันควรยังส่งผลต่อเศรษฐกิจในการต้องเสียงบประมาณจำนวนมากเพื่อรักษาและบูรณะฟัน เช่น อุด ถอน และการใส่ฟันปลอม เป็นต้น แม้ว่าในปัจจุบันจะมีความพยายามในการใช้มาตรการต่าง ๆ เช่น การให้ความรู้ในการแปรงฟันเด็ก การให้ฟลูออไรด์ การทาฟลูออไรด์วาร์นิช การเคลือบหลุมร่องฟัน เป็นต้น แต่อัตราการเกิดฟันผุในเด็กยังคงสูงขึ้นเช่นเดิม

4

          รองปลัด อว.กล่าวต่อว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีการนำเข้าผลิตภัณฑ์จากโพรไบโอติกแลคโตแบซิลลัส เพื่อใช้ในการป้องกันฟันผุ ซึ่งโพรไบโอติก (Probiotic) คือ จุลินทรีย์ขนาดเล็ก จัดเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ชนิดดี โดยโพรไบโอติก จะทำหน้าที่ในการสร้างสมดุลและควบคุมเชื้อก่อโรค ซึ่งนับว่าเป็นก้าวที่สำคัญของวงการทันตแพทย์ไทย เมื่อ ศ.ดร.รวี เถียรไพศาล และทีมนักวิจัยจากคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้คัดเลือกจุลินทรีย์โพรไบโอติกสายพันธุ์ใหม่สำเร็จเป็นครั้งแรกของโลก ได้แก่ โพรไบโอติกแลคโตแบซิลลัล พาราเคเซอิ เอสดีหนึ่ง (Lactobacillus Paracasei SD1) และแลคโตแบซิลลัล แรมโนซัส เอสดีสิบเอ็ด (Lactobacillus Rhamnosus SD11) ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่มีแหล่งมาจากซ่องปากของคนสุขภาพดี เพื่อมาใช้เสริมสุขภาพในช่องปากคนไทยโดยเฉพาะ

          "จากการทดลองทางคลินิก พบว่า เมื่อทดลองให้อาสาสมัครรับประทานเชื้อจุลินทรีย์โพรไบโอติกพาราเคเซอิ เอสดีหนึ่ง (Lactobacillus Paracasei SD1) และแลคโตแบซิลลัล แรมโนซัส เอสดี สิบเอ็ด (Lactobacillus Rhamnosus SD11) เป็นประจำ 1 เดือน ยังพบเชื้อจุลินทรีย์นี้ในช่องปากอีก 1 เดือน ทำให้มีประสิทธิภาพการป้องกันฟันผุได้ดีกว่า ในขณะที่เชื้อชนิดอื่นสามารถอยู่ในช่องปากได้แค่ 1 - 2 สัปดาห์เท่านั้น ทั้งนี้ ได้นำมาศึกษาการป้องกันโรคฟันผุในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก พบว่ามีการลดลงของเชื้อฟันผุและลดการเกิดฟันผุในเด็กเล็ก ผลงานดังกล่าวได้รับการตีพิมพ์ทางวิชาการและเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ จึงเป็นต้นแบบในการใช้โพรไบโอติกในการป้องกันฟันผุในเด็ก และเป็นทางเลือกหนึ่งในการป้องกันฟันผุในคนไทย" ศ.ดร.ศุภชัย กล่าว

2

          ด้าน ศ.ดร.รวี เถียรไพศาล กล่าวว่า กลไกการทำงานของโพรไบโอติกนั้น สามารถลดเชื้อก่อโรคฟันผุได้ โดยสามารถสร้างสารยับยั้งการเจริญเติบโตต่อเชื้อก่อโรคฟันผุโดยตรง และสามารถกระตุ้นภูมิต้านทานต่อเชื้อก่อโรคต่าง ๆ จากการใช้น้ำยาบ้วนปากหรือสารต้านเชื้อ ซึ่งมีผลในการลดเชื้อเพียงอย่างเดียว ซึ่งอาจจะมีปัญหาการดื้อต่อสารต้านเชื้อตามมาในภายหลัง โดยโพรไปโอติกสามารถใช้ประโยชน์ได้ในคนทุกช่วงอายุ รวมถึงผู้สูงอายุที่มักมีปัญหาฟันผุที่ผิวรากฟันจากปัญหาเหงือกร่นด้วย" ดังนั้น การนำโพรไบโอติกไปพัฒนาทำเป็นผลิตภัณฑ์ประเภทต่าง ๆ นับเป็นทางเลือกที่ดีและง่ายต่อผู้บริโภคในการยับยั้งและป้องกันฟันผุ ซึ่งต้องทำควบคู่ไปกับการดูแลสุขภาวะในช่องปากและพฤติกรรมการรับประทานอาหารโดยเฉพาะอาหารหวาน จึงจะช่วยลดอัตราการเกิดฟันผุในประชากรไทยได้ประสบความสำเร็จมากยิ่งขึ้น

8

          ขณะที่ น.ส.ทิพวัลย์ กล่าวว่า อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยการสนับสนุนของ สอว. ได้ให้การสนับสนุนและอำนวยความสะดวกให้เกิดการอนุญาตใช้สิทธิและการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากผลงานวิจัยดังกล่าว โดยการขอรับความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา การสนับสนุนการเพิ่มศักยภาพผลงานวิจัยผ่านโครงการการวิจัยร่วมและการจับคู่ธุรกิจระหว่างผู้ประกอบการที่มีความสนใจเทคโนโลยี ซึ่งปัจจุบันได้มีการอนุญาตให้ใช้สิทธิในผลิตภัณฑ์นมผง นมอัดเม็ด นมเปรี้ยว เม็ดอมโพรไบโอติก และผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่ทดแทนการใช้ยาปฏิชีวนะสำหรับสัตว์ โดยผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตและจัดจำหน่ายแล้วเกิดขึ้นในนามของบริษัท แดรี่ โฮม จำกัด คือ นมเปรี้ยว และนมอัดเม็ด ซึ่งบริษัท แดรี่โฮม จำกัด มีการทำโครงการร่วมกับส่งเสริมการป้องกันฟันผุกับเทศบาลนครหาดใหญ่ผ่าน "ผลิตภัณฑ์เม็ดอมนมเสริมโพรไบโอติก" ให้กับเด็กในโรงเรียน

          สังกัดของเทศบาลจำนวน 5 โรงเรียน และกิจกรรมในลักษณะเดียวกันได้ดำเนินการที่จังหวัดพัทลุงกับศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ซึ่งทั้งสองกิจกรรมมีเด็กได้รับผลิตภัณฑ์กว่า 3,400 คน และทางบริษัทได้จัดกิจกรรม FUN D (ฟัน ดี) โยเกิร์ตพร้อมดื่มจากเชื้อโพรไบโอติก โดยเมื่อขายได้ 1 ขวดก็จะนำผลกำไรมาแจกเด็กที่ด้อยโอกาสอีก 1 ขวดเพื่อให้เด็กในชุมชนที่ห่างไกลได้บริโภค นอกจากนี้ ทีมวิจัยได้รับทุนสนับสนุนในการทำโครงการต้นแบบเรื่องการใช้นมผงผสมโพรไบโอติก เพื่อป้องกันฟันผุในเด็กเล็กในชุมชนเทศบาลตำบลท่าข้าม โรงพยาบาลจะนะ โรงพยาบาลยะหริ่ง และโรงพยาบาลสตูล"

5

          ที่สำคัญ ขณะนี้ มีแผนการขยายผลในอนาคต โดยมุ่งเน้นสนับสนุนให้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีไปยังภาคเอกชนที่หลากหลายมากขึ้นตามสายการผลิต โดยเฉพาะด้านอาหารเนื่องจากโพรไบโอติกสามารถผสมเครื่องดื่มและอาหารได้ทุกชนิดเพื่อเป็นซ่องทางให้คนไทยมีโอกาสในการใช้ผลิตภัณฑ์จากโพรไบโอติกมากขึ้น รวมทั้งร่วมมือกับนักวิจัยในการพัฒนานวัตกรรมที่มุ่งเน้นไปยังกลุ่มอื่น ๆ เช่น กลุ่มผู้ใหญ่หรือผู้สูงอายุ ซึ่งปัจจุบันได้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีไปยังอุตสาหกรรมอื่น ๆ เช่น อุตสาหกรรมอาหารเสริม อุตสาหกรรมอาหารสัตว์เพื่อลดการใช้ยาปฏิชีวนะ และอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง ซึ่งได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีไปยังภาคเอกชน ดังนี้ บริษัท เกร๊ทเตอร์ฟาร์ม่า จำกัด ผลิตนมผง นมอัดเม็ด และลูกอม ตรา Prodento บริษัท เดนทัลสวีท จำกัด ผลิตเม็ดอมโพรไบโอติก บริษัท เค.เอ็ม.พี.ไบโอเทค จำกัด ผลิตอาหารเสริมที่ทดแทนการใช้ยาปฏิชีวนะสำหรับสัตว์" ผอ.สอว. กล่าว

ทั้งนี้ หากภาคเอกชนหรืออุตสาหกรรมต้องการขออนุญาตใช้สิทธิผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สามารถติดต่อได้ที่ คุณสิทานนท์ อมตเวทย์ โทร. 074 - 859 516, 090 - 970 7099 อีเมล : sitanon.a@psu.ac.th หรือ คุณณภัค พันธุ์ช่างทอง โทร. 074 - 859 516, 089 - 463 6439 อีเมล : napakjp@gmail.com

เผยแพร่ข่าว : นางสาวพรนภา สวัสดี
ส่วนสื่อสารองค์กร
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3728 - 3732 โทรสาร 0 2333 3834
Facebook : @MHESIThailand
Call Center โทร.1313
วว. ต้อนรับบริษัทพีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) ในโอกาสเยี่ยมชมอาคารคัดแยกขยะชุมชนด้วย วทน. ตำบลตาลเดี่ยว จ.สระบุรี วว. - สมาคมเพื่อนชุมชน - ม.ธรรมศาสตร์ เสริมแกร่งวิสาหกิจชุมชน/ กลุ่มเศรษฐกิจฐานต้นแบบ ร่วมขับเคลื่อนพื้นที่มาบตาพุดคอมเพล็กซ์...เมืองต้นแบบอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ จังหวัดระยอง
  • สอวช. เชิญกูรูแลกเปลี่ยน Futur ...
    ข่าวสารหน่วยงาน
    สอวช. เชิญกูรูแลกเปลี่ยน Future Mobility โอกาสทางอุตสาหกรรมของภาคเอกชนไทย เชื่อ “ยานยนต์ไฟฟ้า” เป็นโ...
    27 Aug 2020
    ข่าวสารหน่วยงาน
    ทีเซลส์ จับมือร่วมกับ สกสว. และอินเทลเล็คชวล // NIA ร่วมกับ TCELS จับมือร่วมกับเครือข่ายย่านนวัตกรร...
    21 Jul 2021
    ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รมว.อว.  ...
    ภาพข่าวและกิจกรรม
    ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รมว.อว. เป็นประธานเปิดประชุมและกล่าวปาฐกถา “Thailand HR Day 2019 (PMAT)”
    20 Nov 2019
    ดูทั้งหมด >

เรื่องล่าสุด

“วราภรณ์” รองปลัดกระทรวง อว. ม ...
ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
“วราภรณ์” รองปลัดกระทรวง อว. มอบวุฒิบัตรและปิดการฝึกอบรม "หลักสูตรการบริหารงานอุดมศึกษาสายสนับสนุนระ...
16 May 2025
“ศุภมาส” ร่วมงาน “กระตุก GDP ไ ...
ข่าวรัฐมนตรี ศุภมาส
“ศุภมาส” ร่วมงาน “กระตุก GDP ไทยด้วยกองทุนวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.)“ ผลักดันกำลังคนสมรรถนะ...
16 May 2025
“ศุภมาส” เปิดตัวโครงการ TNA ฉบ ...
ข่าวรัฐมนตรี ศุภมาส
“ศุภมาส” เปิดตัวโครงการ TNA ฉบับที่ 2 รองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของไทย ผลักดันเทคโนโลยีสู้วิก...
15 May 2025

กระทรวงการ อว.

  • อว.พารับส่วนลด
    • รวมรายการสินค้าและบริการ
    • ท่องเที่ยว
    • อาหาร
    • บริการ
    • ชอปปิง
  • User Menu (Discount)
    • เนื้อหาของฉัน
    • แก้ไขข้อมูลส่วนตัว
    • ออกจากระบบ
  • เมนูหลัก
    • Home
    • About us
      • History
      • Vision Mission
      • Policy / Strategy
      • เครื่องหมายราชการ และ ตราสัญลักษณ์กระทรวง
      • Mission Structure
      • Executive
      • Government Division
      • Government Weblink
      • Legal
      • CIO
    • Flagship Project
    • Scholarships
      • ทุนกระทรวงทั้งหมด
      • ทุนพัฒนาอาจารย์
      • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
      • ทุนวิจัย
    • Service
      • บริการทั้งหมด
      • สถาบันอุดมศึกษา
      • นิสิต/นักศึกษา
      • อาจารย์
      • นักวิทยาศาสตร์/นักวิจัย
      • ผู้ประกอบการ
      • ภาครัฐ
    • News
      • ประมวลภาพกิจกรรม "น้อมรำลึก ในหลวง ร.9"
      • ภาพข่าวและกิจกรรม
        • ข่าวรัฐมนตรี
        • ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
        • ข่าวสารหน่วยงาน
      • ข่าวสารและประกาศ
        • ข่าวประกาศ
        • ประกาศงานบุคลากร
        • ข่าวประชุม อบรม สัมนา
        • ข่าวสารน่าสนใจ [พรบ.ข่าวสาร]
    • Data Repository
      • เอกสารเผยแพร่กระทรวง
      • เอกสารเผยแพร่จากภายนอก
      • e-Book เพราะเธอเป็นลมหายใจ
      • e-Book S&T Series
      • Infographic
      • วีดิทัศน์
      • Mobile Application
        • สำหรับ iOS
        • สำหรับ Andriod
    • ศูนย์บริการร่วม
      • ความเป็นมาศูนย์บริการประชาชน
      • รางวัลและผลงานเด่น
      • ติดต่อศูนย์บริการร่วม
      • สาระน่ารู้
  • แนะนำหน่วยงาน
    • ความเป็นมา
    • Vision and Mission
    • นโยบาย/ยุทธศาสตร์กระทรวง
    • โครงสร้างภารกิจกระทรวง
    • ผู้บริหารกระทรวง
    • การแบ่งส่วนราชการ
    • ลิงก์หน่วยงาน
    • กฏหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
    • เกี่ยวกับซีไอโอ
  • ทุนกระทรวง
    • ทุนกระทรวงทั้งหมด
    • ทุนพัฒนาอาจารย์
    • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
    • ทุนวิจัย
  • ภาพข่าวและกิจกรรม
    • ภาพข่าวและกิจกรรม
    • ข่าวผู้บริหาร
    • ข่าวสารหน่วยงาน
  • เมนูอื่นๆ
    • Thai University Consortium
    • ห้องสมุด อว.
    • Search
    • คำถามที่พบบ่อย
    • แบบฟอร์มร้องเรียน
    • Contact
    • Sitemap
    • สถิติการเข้าชมเว็บไซต์
    • เข้าสู่ระบบ/ออกจากระบบ

map แผนที่และการเดินทาง

faqคำถามที่พบบ่อย

faqเสนอแนะ/ร้องเรียน

faqแผนผังเว็บไซต์

กระทรวง อว.

แอปพลิเคชั่นทั้งหมดของกระทรวง

ios app andriod app 

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป

© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.

WCAG 2.0 (Level AAA)

ติดตามเราได้ที่   facebook twitter youtube This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.