วันนี้ (29 พฤษภาคม 2563) ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (รมว.อว.) พร้อมด้วย นางสุวรรณี คำมั่น เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษาฯ, ดร.อภิชัย สมบูรณ์ปกรณ์ โฆษกกระทรวงการอุดมศึกษาฯ, และดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยม มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เพื่อหารือการดำเนินงานการพัฒนาพื้นที่ พัฒนาท้องถิ่น ของจังหวัดปทุมธานี โดยมี ผศ.ดร.สุพจน์ ทรายแก้ว อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ พร้อมคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ฯ ให้การต้อนรับ ณ ห้องประชุมราชนครินทร์ ชั้น 5 มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ฯ
โดย มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ฯ มีประเด็นการนำเสนอ ดังนี้
1. VRU Area and local Development University
2. โครงการจ้างระยะ 2 วิศวกร/ ผู้ประกอบการสังคม
3. โครงการเงินกู้ 400,000 ล้านบาท LOCAL ECONOMY
ผศ.ดร.สุพจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ฯ กล่าวว่า มหาวิทยาลัยมีความชัดเจนว่าจะปรับบทบาทให้เป็นมหาวิทยาลัยที่มุ่งเน้นการพัฒนาเชิงพื้นที่และพัฒนาท้องถิ่นอย่างสมบูรณ์แบบ โดยพยายามพัฒนาการเรียน การสอนให้สามารถควบคู่กับการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นอย่างต่อเนื่องได้ ในแนวทางของการจัดการเรียน การสอนก็จัดทำในรูปแบบของ ABCD Model คือ VRU LEARNING AND TEACHING MODEL
(1) Active Learning ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง สร้างการเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านการปฏิบัติจริง เน้นการเรียนรู้แบบสืบค้นผ่าน Project Based Learning, Case Based Learning, Outdoor Learning
(2) Blended Kearning จัดประสบการณ์ทั้งการเรียนรู้ในห้องเรียนและการเรียนรู้ด้วยตนเอง ผ่านสื่อการเรียนแบบ Classroom และ Online
(3) Collaborative Learning การจัดให้ผู้เรียน เรียนรู้ร่วมกับเพื่อนและอาจารย์ ทั้งในห้องเรียนและสื่อออนไลน์ โดยผู้เรียนและผู้สอนร่วมกันกำหนดประเด็นเรียนรู้
(4) Design Thinking for Learning Outcomes ออกแบบกระบวนการเรียนรู้ พัฒนากิจกรรม หรือหลักสูตรรายวิชา เน้นสร้างผลลัพธ์การเรียนรู้
สำหรับด้านงานวิจัยของมหาวิทยาลัยได้เน้นความเป็นเลิศใน 4 ด้าน คือ (1) อาหารเพื่อสุขภาพ เกษตรปลอดภัย (2) อุตสาหกรรมบริการ (3) การเรียนรู้พัฒนาที่ยั่งยืน (4) สิ่งแวดล้อมและสุขภาวะชุมชน ในแง่ของการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น (University Engagement Model) มหาวิทยาลัยได้ยึดหลักการทรงงานของในหลวง รัชกาลที่ 9 เข้าใจ เข้าถึงและพัฒนา แต่ก็มีหลักชัดเจนคือใช้ชุมชนเป็นตัวตั้ง ต้องรับรู้ปัญหาชุมชนท้องถิ่น และทำงานร่วมกับพาคีเครือข่าย โดยการสร้างชุมชนนวัตกรรมก็เป็นเป้าหมายที่ต้องทำให้สำเร็จในฐานะของการเป็นมหาวิทยาลัยที่พัฒนาเชิงพื้นที่ พัฒนาท้องถิ่น หรือว่าการเสริมสร้าง OTOP ทั้งใน จ.ปทุมธานีและสระแก้ว เพื่อเสริมสร้างรายได้และมีผลกำไรที่เหมาะสมมากยิ่งขึ้น ทั้งหมดนี้มหาวิทยาลัยพยายามสอดแทรกแนวคิดเชิงออกแบบเพื่อพัฒนานวัตกรรมเชิงพื้นที่ให้เกิดผล ขณะนี้ได้ดำเนินการพัฒนาให้เกิดขึ้นกับอาจารย์ นักศึกษา อาทิ ส่งเสริมการเป็น Startup หรือผู้ประกอบการหน้าใหม่
สำหรับโครงการจ้างงานในระยะที่ 2 ได้ยึดพื้นที่ที่มหาวิทยาลัยได้ดำเนินการเดิมอยู่แล้วและทำให้ต่อเนื่องก็คือ “จำนวน 23 ตำบล” ใน 2 จังหวัดทั้งปทุมธานีและสระแก้ว และได้กำหนดเกณฑ์การจ้างงานนักศึกษาไว้จำนวน 209 คน ซึ่งทางมหาวิทยาลัยได้กำหนดแนวทางการทำงานและทีมอาจารย์ที่คอยดูแลรับผิดชอบ ประสานงาน ให้คำปรึกษาและจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสม ในส่วนของแผนงานฟื้นฟูเศรษฐกิจท้องถิ่นและชุมชน ทางมหาวิทยาลัยได้เสนอที่จะพัฒนาในจังหวัดปทุมธานีและสระแก้วทั้งหมด คือ 118 ตำบลและการจ้างงานประมาณ 2,360 คน
ด้าน ดร.สุวิทย์ รมว.อว. ให้ความเห็นว่า “นโยบายของ อว. คือให้มหาวิทยาลัยเป็นแนวหน้า (For Front) ของการเปลี่ยนแปลง” ถ้าภาคส่วนของมหาวิทยาลัยขยับ ภาคส่วนอื่น ๆ ก็จะขยับตาม เพราะฉะนั้นเพื่อตอบโจทย์ในเรื่องนี้ “โลกหลัง COVID มหาวิทยาลัยจะต้องเป็นกลไกสำคัญในการชี้นำและขับเคลื่อนในส่วนนั้น”
สำหรับ “โลกหลัง COVID” นั้น หน้าที่ของราชภัฏทั้ง 38 แห่งผนึกกำลังกัน และพร้อมตอบโจทย์ความยั่งยืนที่เป็นพลวัต “ชุมชนมีสิทธิที่จะอยู่ในพื้นที่” และเชื่อมสู่ประชาคมโลก “ซึ่งมหาวิทยาลัยต้องสร้างโอกาสและทางเลือกให้กับชุมชน” สิ่งที่ดำเนินจากนี้ไปอยู่ที่หลักคิดที่ถูกต้อง การเกิดวิกฤต COVID ก็ถือเป็นตัวโชคดีภายใต้ความโชคร้าย เพราะว่าถ้าไม่มี COVID เราจะไม่มีโอกาสทำให้โลกเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นได้เลย ใน Post COVID เราต้องทำให้ชุมชนให้มีชีวิต ชุมชนที่แท้จริงต้องอยู่อย่างเกื้อกูลและแบ่งปัน ในส่วนที่มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ฯ เสนอมานั้น รมว.อว. เห็นว่าทุกอย่างครบหมดแล้ว ทั้งสถาบันที่มีอยู่ คณะต่าง ๆ ถ้าต่อร้อยเรียง และผสมผสานกันได้ จะสามารถตอบโจทย์ได้อีกหลาย ๆ เรื่อง แต่ประเด็นคือจะสร้างพลัง ภายใต้แนวคิดที่พูดถึงก็คือว่า จากนี้ไป Local Economy มีความสำคัญมาก ต้องขึ้นรูปให้ดีและทำอย่างต่อเนื่อง ชัดเจน ทำให้เป็นระบบ “ในขณะนี้ BCG จะเป็น New Growth Engine ของประเทศหลัง COVID ซึ่งตอบโจทย์ความยั่งยืน” สำหรับใน 10 S-Curve นั้น 5 S-Curve สำคัญที่รวมกันภายใต้ BCG ที่ประกอบด้วย (1) อุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร (2) อุตสาหกรรมการแพทย์และสาธารณสุข (3) อุตสาหกรรมพลังงานและวัสดุชีวภาพ (4) การท่องเที่ยวและcreative economy BCG เป็นสิ่งที่ดึงเอาจุดแข็งที่มีอยู่แล้วขึ้นมา คือ ความหลากหลายทางชีวภาพ ความหลากหลายเชิงวัฒนธรรม แต่ละเรื่องของ BCG เชื่อว่ามหาวิทยาลัยราชภัฏต่าง ๆ รวมถึงมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ฯ สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ เพราะว่าที่นี่มีทั้งคณะเกษตร อุตสาหกรรม หรือบางเรื่องอาจจะดำเนินงานร่วมกับมหาวิทยาลัยราชมงคล ถ้าเป็นงานเรื่องของเครื่องจักรกล นอกจากนั้นที่นี่ยังมีเรื่องของสาธารณสุข วิทยาการจัดการ ซึ่งตรงนี้ครบเครื่องหมด และเชื่อว่ามหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ฯ สามารถดำเนินงานได้อย่างเต็มที่ บริหารจัดการงบประมาณอย่างคุ้มค่ารวมถึงการตอบโจทย์ความยั่งยืน
อ “เรื่องของการจ้างงาน ไม่ใช่การแจกเงิน แต่เป็นการจ้างเพื่อไปทำงานและต้องเป็นงานที่มีคุณค่า โดยก่อนที่จะให้ทำงานควรให้มีการปฐมนิเทศก่อน เพื่อให้มหาวิทยาลัยจะคัดเลือกงานให้ทำได้ตรงจุด” “นอกเหนือจากการทำงานมหาวิทยาลัยต้องพยายาม Re-Skill และ Up-Skill” อาทิ เรื่องของภาษาอังกฤษ ดิจิทัล การบริการการจัดการเงินอย่างง่าย การตลาด “หรือแม้กระทั่งเรื่องสังคม และหลังจากการเลิกจ้างงานแล้ว ผู้เข้ารับจ้างจะเกิดความเข้าใจและเรียนรู้ที่จะดำเนินชีวิต หรือพัฒนาต่อยอดความรู้ที่ได้รับมา” โดยการจ้างงานตรงนี้ยังคงต้องการให้เกิดการจ้างงานในพื้นที่ เพื่อให้เกิดความติดถิ่น และสุดท้ายเรื่องที่จะต้องมาหารือกันอีกครั้งก็คือการขยายต่อ ใช้ตำบลเป็นศูนย์กลางในการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมของตำบลแบบบูรณาการ
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.