เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2563 ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (รมว.อว.) เป็นประธานการประชุมปรึกษาหารือร่วมกับคณะกรรมการศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) (ศลช.) หรือ ทีเซลส์ (TCELS) พร้อมด้วย นางสุวรรณี คำมั่น เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษาฯ, รศ.สรนิต ศิลธรรม ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษาฯ, นายอภิชัย สมบูรณ์ปกรณ์ โฆษกกระทรวงการอุดมศึกษาฯ, ศ.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และคณะกรรมการบริหาร ศลช. โดยมี ดร.นเรศ ดำรงชัย ผู้อำนวยการ ศลช. และนายชัยรัตน์ แสงจันทร์ รองผู้อำนวยการ ศลช. ให้การต้อนรับ ณ ห้องประชุม ชั้น 9 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) (ศลช.) หรือ ทีเซลส์ (TCELS)
ดร.นเรศ ผู้อำนวยการ ศลช. นำเสนอการดำเนินงานภารกิจสำคัญ และ Reinventing Healthcare Industry ว่า สิ่งที่ประชาชนไทยและโลกต้องการจากประเทศไทย คือ (1) Care การบริการดูแลทั้งทางด้นสุขภาพกายและใจ ที่มีทั้งด้าน health และ wellness ที่สำคัญล่าสุดยังสร้างชื่อในการควบคุมโควิด-19 ได้ดีกว่าที่อื่น เพราะการสาธารณสุขที่เข้มแข็งและความมีเมตตาช่วยเหลือกันและกันในสังคม (2) Creativity ความสร้างสรรค์ ทั้งในการคิดแก้ปัญหานอกกรอบ ทั้งในด้านศิลปะการดีไซน์ (เช่น ลองเอาทั้งเฟสชีลด์และหน้ากากผ้าไทยเทียบกับประเทศอื่นดูจะเห็นชัด) และการเล่าเรื่อง (Story telling) ที่มีความสำคัญมากขึ้นในผู้บริโภครุ่นใหม่ (3) Culinary ครัวไทยที่มีทั้งรสชาติและ 'ศิลปะ' เป็นที่รู้จักทั่วโลก ที่มีรากฐานอุตสาหกรรมอาหารและภาคการเกษตรด้วย ทั้งส่วนใหญ่ยังเป็นอาหารปรุงสุกที่มาปรับให้เป็นอาหารสุขภาพอร่อยได้ง่ายเหมาะกับช่วงคนที่ยังกังวลเรื่องสุขภาพ (4) Culture ศิลปวัฒนธรรมหลากหลายที่สืบทอดกันมาแตกต่างกันในแต่ละภูมิภาคและเป็นที่สนใจของชาวต่างชาติอยู่แล้ว รวมไปถึงกีฬา เช่น มวยไทยที่สามารถถ่ายทอดผ่านเป็นดิจิทัลคอนเทนท์ได้อย่างดี (5) Corridor ความได้เปรียบทางภูมิศาสตร์และจุดยืนในด้านการต่างประเทศที่เป็น "สะพานเชื่อม" เศรษฐกิจสำคัญ โดยเฉพาะในยุคที่เอเชียกำลังผงาดและน่าจะฟื้นตัวได้เร็วกว่าทางตะวันตกจากวิกฤติโควิดด้านการปรับเปลี่ยนองค์กร TCELS เพื่อรองรับการขับเคลื่อน Reinventing Healthcare เป็นโปรแกรมระดับชาติ (1) Present Funding RDI Industry focus (2) Transformation Reskill personnel Increase level and capacity และ (3) Future New Healthcare Economy Leader
สำหรับข้อเสนอโครงการตามแผน พ.ร.ก. กู้เงินฯ พ.ศ. 2563 ของรัฐบาล 13 โครงการ งบประมาณ 1,024.4689 ล้านบาท
แผนงาน 1 แผนงานหรือโครงการที่มีวัตถุประสงค์ทางการแพทย์และสาธารณสุข
- 4 โครงการ 175.0515 ลบ. พัฒนาวัดชื่น/platform การตรวจคัดกรอง/ สมุนไพร เพื่อการบำบัดรักษาโรด COVID-19 พื้นที่เป้าหมาย : พื้นที่ที่มีการระบาด
แผนงาน 3 แผนงานหรือโครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม
- ชุดโครงการของ อว. 8 โครงการ 846.8934 ลบ. ถ่ายทอดผลิตภัณฑ์สุขภาพ/บริการทางการแพทย์/การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ/ แพลทฟอร์มแลกเปลี่ยนสินค้า/ พัฒนาทักษะอาชีพด้าน L.S. และการสร้างงาน พื้นที่เป้าหมาย : เช่น เชียงใหม่พิษณุโลก ชัยนาท ขอนแก่น อ่างทอง พระนครศรีอยุธยาและชลบุรี
- ชุดโครงการของ วว. 1 โครงการ 2.524 ลบ. สนับสนุนการทดสอบความปลอดภัยผลิตภัณฑ์ชาเชียงดา เพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ส่งเสริมรายได้ของชุมชน พื้นที่เป้าหมาย : จังหวัดลำปาง
ดร.นเรศ กล่าวต่อว่า ทีเซลส์ และ วช. มีความคิดเห็นตรงกันว่าประเทศไทยอ่อนแอถ้าเทียบกับภาคส่วนอื่น ๆ ก็คือส่วนที่เป็นอุตสาหกรรมการแพทย์ อุปกรณ์การแพทย์ เวชภัณฑ์ ซึ่งมีการติดตามวัดผลอยู่ตลอด เรื่องการดูแลคนอาจจะต้องความช่วยเหลือจากเครือข่ายทั้งเคยและไม่เคยทำงานร่วมกันมาก่อน ส่วนการดูแลระบบสุขภาพในเชิงระบบ ตรงนี้ต้องการผู้เล่นที่เข้มแข็งมาทำงานร่วมกันกับทางเรา หรือว่า กระทรวง อว. และในส่วนที่เราคาดว่าจะสามารถช่วยได้มากที่สุดเป็นเรื่องของระบบเศรษฐกิจ หรือ Healthcare Economy สำหรับการปรับรูปแบบความสัมพันธ์ Reinventing Healthcare แบบใหม่ คือ หน่วยงาน อววน., ภาครัฐ, ภาคเอกชนและสมาคม ฯลฯ ต้องมีแพลตฟอร์มการเรียนรู้ใหม่ มีความเป็นหุ้นส่วนเชิงกัลยาณมิตร แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ พัฒนาทักษะ นำไปสู่ NEW Healthcare Economy ปฏิรูปในประเทศและขยายผลสู่โลก
โดยแผน 180 วันแรก คือ
1. ประกาศพันธสัญญา Reinventing Healthcare+ สร้างทุนมนุษย์
2. จัดระบบข้อมูลด้าน Healthcare โดยเน้นเชื่อมโยงการบริการ
3. สร้างระบบแรงจูงใจให้ผู้ประกอบการเข้าสู่ Health Economy
4. ส่งเสริมการสร้าง Health Industry ในระดับพื้นที่ผ่าน Medicopolis
ด้าน ดร.สุวิทย์ รมว.อว. กล่าวมอบนโยบายและแสดงความเห็นต่อการขับเคลื่อน Reinventing Healthcare Industy ว่า เราทุกคนต้องมองในภาพเดียวกันก่อนว่า BCG ที่น่าจะเป็นคำตอบของโจทย์หลาย ๆ อย่าง อาทิ เรื่องของ Medicine, Healthcare เป็นต้น เมื่อเรามองว่าหลังวิกฤติของประเทศไทย จะเกิดโอกาส แต่สิ่งที่มีคือ เราไม่ได้เริ่มจากศูนย์ ซึ่งนั่นคือทิศทางที่ถูกต้องแล้ว ขณะนี้อยู่ในช่วงที่ต้องปรับ และขยับขึ้นไปอีกก้าวหนึ่งในเรื่องของ Healthcare ต้องดำเนินงานอย่างจริงจัง ปรับเปลี่ยนภาพรวม ระบบต่าง ๆ และที่สำคัญคือทำให้เกิดเป็นรูปธรรม
สำหรับนโยบายของการวิจัยในปัจจุบันต้องไม่ใช่ในรูปแบบของ RDI (Research Development Innovation Management) อีกต่อไป แต่ต้องเป็น RDIM (Research and Development, Innovation and Manufacturing) ดร.สุวิทย์ กล่าว
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.