เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2563 ดร.สุวิทย์เมษินทรีย์รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (รมว.อว.) พร้อมคณะผู้บริหารอว. ร่วมประชุมหารือกับผู้บริหารมหาวิทยาลัยในพื้นที่ภาคเหนือในประเด็น (1) การร่วมฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมฐานรากในโครงการจ้างงานของอว. และโครงการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัยโดยมีเป้าหมายการแก้ไขปัญหาความยากจนตามนโยบายรัฐบาลในรูปแบบ Targeted Poverty Alleviation (2) การผลักดัน Regional BCG และนโยบายอว. ผ่านมหาวิทยาลัยในภูมิภาคในรูปแบบ Regional System Integrator (3) การพลิกโฉมสถาบันอุดมศึกษา ( Reinventing University) และประเด็นอื่นๆณหอประชุมอาคารอาเซียนมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
ดร.สุวิทย์กล่าวว่าหลังโควิดอย่างที่เราทราบกันดีว่า Local Economy จะมีความสำคัญอย่างยิ่งยวดเพราะฉะนั้นพลังที่จะขับเคลื่อน Local Economy หรือในเรื่องของเศรษฐกิจฐานรากคือพลังทางปัญญาที่เกิดขึ้นจากมหาวิทยาลัยราชภัฏไม่ว่าจะเป็นทางอาจารย์โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักศึกษาที่จะลงไปในพื้นที่ยกระดับการพัฒนาพื้นที่และชุมชนให้เข้มแข็งวันนี้เราตระหนักดีว่าในวิกฤติมีโอกาสเสมอซึ่งท่านนายกรัฐมนตรีได้ย้ำอยู่เสมอเพราะฉะนั้นเราจึงถอดรหัสออกมาเป็นโครงการที่เปลี่ยนวิกฤติให้เป็นโอกาสคือโครงการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัยซึ่งเราเชื่อว่าราชภภัฏทั้ง 38 แห่ง 77 จังหวัดถ้าหาร 2 เท่ากับว่า 1 ราชภัฏสามารถควบคุมดูแล 2 จังหวัดได้เป็นอย่างดีถ้าเรามีโครงการที่ดีๆเช่นการติดอาวุธทางปัญญาโดยใช้พลังของอาจารย์และนิสิตนักศึกษาบัณฑิตของราชภัฏลงไปในพื้นที่ภูมิลำเนาซึ่งตอบโจทย์ว่าจากนี้ไปจะไม่ต้องมานั่งพูดถึงบัณฑิตคืนถิ่นเรากำลังพูดถึงบัณฑิตติดถิ่นเพราะฉะนั้นโจทย์ที่เรากำลังของบประมาณเงินกู้ 4 แสนล้านคร่าวๆคือทางสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) ได้ผ่านความเห็นชอบและกำลังจะนำเข้าครม. ในวันที่ 8 ที่จะถึงนี้เราจะเริ่มต้นด้วย 3,000 ตำบลก่อนโดยใช้พลังของบัณฑิตนักศึกษาทั้งหมด 3 แสนคนที่เป็นไปได้ก็คือบัณฑิตและนักศึกษาที่อยู่ในถิ่นนั้นตรงนี้ราชภัฏจะกลายเป็นกำลังหลักที่จะมาตอบโจทย์ทั้งการสร้างคนและสร้างงานปรับเปลี่ยนพลิกโฉมพื้นที่ซึ่งเป็นไปตามภารกิจของราชภัฏที่เป็นพระราโชบายพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวในหลวงรัชกาลที่ 10 ที่ให้ไว้ว่าราชภัฏต้องเป็นตัวหลักที่จะพัฒนาท้องถิ่นอย่างแท้จริง
ตรงนี้จึงเกิดการจ้างงานติดอาวุธทางปัญญาพร้อมกันนั้นเป็นการพัฒนาท้องถิ่นในเวลาเดียวกันไม่เพียงเท่านั้นจากโจทย์ที่ทำวิจัยออกมาแล้วไม่สามารถตอบโจทย์ได้นั้นณวันนี้พลังที่เกิดขึ้นมาผ่านนโยบายของท่านนายกรัฐมนตรีได้ว่าด้วยเรื่องของ BCG เชิงพื้นที่คือแต่ละพื้นที่นั้นมีความหลากหลายตั้งแต่เรื่องของเกษตรอาหารพลังงานสุขภาพสาธารณสุขการท่องเที่ยวไปจนถึงเศรษฐกิจสร้างสรรค์นั้นแต่ละพื้นที่มีเสน่ห์ของสิ่งเหล่านี้ต่างกันเพราะฉะนั้นโจทย์การวิจัยของราชภัฏจากนี้ไปจะเป็นการตอบโจทย์เพื่อจะไปขับเคลื่อน BCG ตามนโยบายรัฐบาลในระดับพื้นที่ซึ่งเป็นการตอบโจทย์พื้นที่ความต้องการของประชาชนและของประเทศอย่างแท้จริงและนี่คือสิ่งต่างๆที่กำลังจะเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ผ่านโครงการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัยเป็นการผนึกกำลังครั้งใหญ่ในการที่จะเปลี่ยนแปลงประเทศรวมถึงเรื่องการปรับระดับทักษะ 4 ทักษะในกลุ่มบัณฑิตนักศึกษาเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในโลกหลังโควิดไม่ว่าจะเป็นทักษะในเรื่องของภาษาอังกฤษ, ดิจิทัล, การบริหารจัดการการเงินการลงทุนรวมถึงทักษะชีวิตและตรงนี้คือโจทย์ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏราชมงคลและอีกหลายๆที่ต้องมาช่วยกันคิดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในแง่ที่นักศึกษาหรือบัณฑิตมีงานทำพร้อมกันนั้นก็มีอาวุธทางปัญญาติดตัวและนำกลับไปพัฒนาท้องถิ่น
กระทรวงอว. คำนึงถึงเรื่องนี้มาพอสมควรโดยผ่านโครงการยุวชนสร้างชาติคือถ้านักศึกษาหรือบัณฑิตที่ไปทำงานเป็นระยะเวลา 1 ปีจากนี้ไปเกิดเห็นโอกาสในการที่จะทำอะไรเพื่อสังคมผ่านสิ่งที่เรียกว่าวิสาหกิจชุมชนก็สามารถทำได้ซึ่งอว. มีกองทุนยุวชนกองทุนยุวสตาร์ทอัพรองรับด้านนี้อยู่แล้วอย่างที่ผ่านมาโครงการที่จังหวัดกาฬสิทธุ์ที่ทางอว. เพิ่งจะปิดโครงการไปนั้นก็ถือว่าเป็นผลสำเร็จและเกิดให้เห็นเป็นรูปธรรม
เขียนข่าว : นางสาวพรนภา สวัสดี
ถ่ายภาพ : นางสาวอินทิรา บัวลอย
ภาพวีดิโอ : นายสกล นุ่นงาม
ส่วนสื่อสารองค์กร
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3728 - 3732 โทรสาร 0 2333 3834
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.