24 กันยายน 2565 ณ เซนทรัล พลาซ่า หาดใหญ่ / นางสุวรรณี คำมั่น ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เยี่ยมเยือนและให้กำลังใจผู้ประกอบการในเขตพื้นที่ภาคใต้และผู้เข้าร่วมโครงการ U2T for BCG ที่ได้นำเอาองค์ความรู้นวัตกรรมเทคโนโลยีจากทาง อว. เข้าไปพัฒนายกระดับมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์และสินค้าของชุมชนและนำมาจัดแสดงในงาน U2T for BCG Fair ภาคใต้ โดยมีกำหนดการจัดงานระหว่างวันที่ 23 - 25 กันยายน 2565 เรียกได้ว่า งานนี้ขนทัพผลิตภัณฑ์ สินค้าและบริการ จากการดำเนินงานโครงการ U2T for BCG ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสำเร็จของโครงการดังกล่าว ซึ่งมีระยะดำเนินงานที่สั้น เพียงเดือนกรกฎาคมถึงกันยายน 2565 (3 เดือน) แต่สามารถทำให้ผู้ประกอบการในพื้นที่ได้รับผลิตภัณฑ์และสินค้าที่ได้รับเกิดการยกระดับขึ้น
นางสุวรรณี คำมั่น ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กล่าวว่า งาน U2T for Bcg fair เป็นงาน Fair ที่ทางกระทรวง อว. จัดขึ้นเป็นการพบปะกันของผู้ประกอบการและผู้เข้าร่วมโครงการโดยกระทรวง อว. ให้มหาวิทยาลัยในแต่ละภาครวมตัวกันจัดเป็นงานที่ยิ่งใหญ่แห่งปี เนื่องจากว่าเรามีมหาลัยอยู่ทุกภาค ปกติมหาลัยแต่มหาลัยค่อยก็จะมี Market place ของเค้าอยู่แล้วแต่เฉพาะมหาลัยนั้นนั้น แต่การที่กระทรวงลงมาเป็นเจ้าภาพหลัก และให้แต่ละมหาวิทยาลัยเป็นเจ้าภาพร่วมกัน แล้วจับรวมทุกจังหวัดในภาคใต้มา 14 จังหวัด และมารวมกัน ที่นี่เรามีมหาลัยดูแลประมาณ 20 มหาลัย และโครงการเรามีความต่อเนื่องระหว่างโครงการ U2T เฟส 1 ซึ่งเรายกระดับเศรษฐกิจสังคมรายตำบล ก็สามารถที่จะมีผลิตภัณฑ์อะไรออกมาที่น่าสนใจ เพราะฉะนั้น เราก็ต้องหาช่องทางการตลาดให้เขาได้นำผลงานไปต่อยอด แต่ต้องเป็นเศรษฐกิจฐานราก ก็คือใช้ความหลากหลายทางชีวภาพและความหลากหลายทางวัฒนธรรม เข้ามาเชื่อมโยงเป็นการเสริมมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์หรือบริการนั้นนั้นของแต่ละตำบล โดยมหาลัยจะเป็นผู้ช่วยในการถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมเรา ถึงเรียกว่าเป็นโครงการ U2T for BCG
"เราต้องการที่จะให้ผลิตภันฑ์ทั้งหลาย เป็น Bio-Based เป็น Circular เป็นเรื่องการทำเศรษฐกิจหมุนเวียน การกำจัดของที่เสียหรือว่าของที่ทิ้งแล้วไม่ได้ประโยชน์อะไร จะได้ใช้ความรู้เข้ามาช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มได้ สุดท้ายที่เป็นตัว G ก็คือเรื่องของเป็นเรื่องของพื้นที่สีเขียวหรือพื้นที่ที่มีความสะอาด อีกเรื่อง คือการท่องเที่ยว เรื่องการท่องเที่ยวหรือว่าเรื่องการปลูกป่าชายเลนเหล่านี้ มันก็จะมีส่วนช่วยทำให้เราเพิ่มสีเขียวให้กับประเทศ การจัด U2T for BCG Fair เป็นรายภาคนั้น ทำให้แต่ละตำบลที่เราเชิญมานัันได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน เพราะว่า ปัจจัยการผลิตต่างๆ ผู้ประกอบการสามารถนำองค์ความรู้มาผสมผสาน มาแลกเปลี่ยน สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและบริการ สามารถเห็นถึงความแตกต่างกัน เขาก็จะเห็นช่องทางตรงนี้ สิ่งสำคัญอีกอย่างนึง คือ เขาก็จะได้มีเครือข่ายกันอย่างจริงจังทั้งในเชิงของมหาวิทยาลัย ในเชิงของนักศึกษา บัณฑิต แล้วก็ภาคประชาชน อันนี้ก็คือสิ่งที่เราสร้างความสัมพันธ์ความผูกพันในพื้นที่ ทำให้เขาสามารถยกระดับการพัฒนาไปด้วยกัน ก็จะเป็นการลดความเหลื่อมล้ำแล้วก็สร้างรายได้ให้กับเศรษฐกิจฐานราก " นางสุวรรณี กล่าว
ทำข่าว : นายปวีณ ควรแย้ม
ถ่ายภาพ : นานสกล นุ่นงาม
เผยแพร่ข่าว : นางสาวพรชิตา รุกขชาติ
กลุ่มสื่อสารองค์กร กองกลาง
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3972 โทรสาร 0 2333 3834
e-mail : pr@mhesi.go.th
Facebook : @MHESIThailand
Twiiter : @MHESIThailand
Call Center โทร.1313
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.