กระทรวง อว.

search

navmobiletoggle
  • About us
    • History
    • Vision Mission
    • Policy / Strategy
    • เครื่องหมายราชการ และ ตราสัญลักษณ์กระทรวง
    • Mission Structure
    • Executive
    • Government Division
    • Government Weblink
    • Legal
    • CIO
  • Flagship Project
  • Scholarships
    • ทุนกระทรวงทั้งหมด
    • ทุนพัฒนาอาจารย์
    • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
    • ทุนวิจัย
  • Service
    • บริการทั้งหมด
    • สถาบันอุดมศึกษา
    • นิสิต/นักศึกษา
    • อาจารย์
    • นักวิทยาศาสตร์/นักวิจัย
    • ผู้ประกอบการ
    • ภาครัฐ
  • News
    • ประมวลภาพกิจกรรม "น้อมรำลึก ในหลวง ร.9"
    • ภาพข่าวและกิจกรรม
      • ข่าวรัฐมนตรี
      • ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
      • ข่าวสารหน่วยงาน
    • ข่าวสารและประกาศ
      • ข่าวประกาศ
      • ประกาศงานบุคลากร
      • ข่าวประชุม อบรม สัมนา
      • ข่าวสารน่าสนใจ [พรบ.ข่าวสาร]
  • Data Repository
    • เอกสารเผยแพร่กระทรวง
    • เอกสารเผยแพร่จากภายนอก
    • e-Book เพราะเธอเป็นลมหายใจ
    • e-Book S&T Series
    • Infographic
    • วีดิทัศน์
    • Mobile Application
  • ศูนย์บริการร่วม
--
+
A
กระทรวง อว.
  • About us
    • History
    • Vision Mission
    • Policy / Strategy
    • เครื่องหมายราชการ และ ตราสัญลักษณ์กระทรวง
    • Mission Structure
    • Executive
    • Government Division
    • Government Weblink
    • Legal
    • CIO
  • Flagship Project
  • Scholarships
    • ทุนกระทรวงทั้งหมด
    • ทุนพัฒนาอาจารย์
    • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
    • ทุนวิจัย
  • Service
    • บริการทั้งหมด
    • สถาบันอุดมศึกษา
    • นิสิต/นักศึกษา
    • อาจารย์
    • นักวิทยาศาสตร์/นักวิจัย
    • ผู้ประกอบการ
    • ภาครัฐ
  • News
    • ประมวลภาพกิจกรรม "น้อมรำลึก ในหลวง ร.9"
    • ภาพข่าวและกิจกรรม
      • ข่าวรัฐมนตรี
      • ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
      • ข่าวสารหน่วยงาน
    • ข่าวสารและประกาศ
      • ข่าวประกาศ
      • ประกาศงานบุคลากร
      • ข่าวประชุม อบรม สัมนา
      • ข่าวสารน่าสนใจ [พรบ.ข่าวสาร]
  • Data Repository
    • เอกสารเผยแพร่กระทรวง
    • เอกสารเผยแพร่จากภายนอก
    • e-Book เพราะเธอเป็นลมหายใจ
    • e-Book S&T Series
    • Infographic
    • วีดิทัศน์
    • Mobile Application
  • ศูนย์บริการร่วม

extenmenu

เมนู
  • Thai University Consortium
  • ห้องสมุด อว.
  • Search
  • คำถามที่พบบ่อย
  • แบบฟอร์มร้องเรียน
  • Contact
  • Sitemap
  • สถิติการเข้าชมเว็บไซต์
  • เข้าสู่ระบบ/ออกจากระบบ
Rectangle 150
  • Home
  • ภาพข่าวและกิจกรรม
  • ข่าวสารหน่วยงาน

3 กระทรวง เผยปัจจัยสู่ความสำเร็จ ‘โรงพยาบาลสนามบ้านวิทยาศาสตร์สิรินธรเพื่อคนพิการ’

  • Facebook
  • Twitter
  • Line
23 Sep 2021

1

          เมื่อเร็วๆนี้ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยศูนย์วิจัยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์ (A-MED) เข้าร่วมสัมมนาวิชาการระดับชาติด้านคนพิการ ครั้งที่ 13 ประจำปี 2564 ในหัวข้อ “โควิด-19 สู่การพัฒนานวัตกรรมเพื่อคนพิการ จัดโดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือโดยมี นางพัชรี อาระยะกุล ปลัดกระทรวง พม. เป็นประธานเปิดงาน ภายในงานมีเวทีเสวนา ปัจจัยสู่ความสำเร็จของโรงพยาบาลสนามบ้านวิทยาศาสตร์สิรินธรเพื่อคนพิการ พร้อมพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือทางวิชาการเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการของหน่วยงานภาคีเครือข่าย จำนวน 72 หน่วยงาน ในรูปแบบออนไลน์ ผ่านระบบ Zoom เพื่อส่งเสริมความร่วมมือภาคีเครือข่าย ระหว่างสถาบันการศึกษาและหน่วยงานในการผลิตผลงานวิชาการด้านคนพิการที่มีมาตรฐานสูง และสามารถใช้ประโยชน์ได้จริง รวมทั้งนำนวัตกรรมองค์ความรู้มาต่อยอดสร้างผลงานวิจัยที่มีคุณภาพ ขยายผลสู่การใช้ประโยชน์ในสังคมต่อไป

         นางสาววันทนีย์ พันธชาติ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์ (A-MED) สวทช. กระทรวง อว. กล่าวว่า ปัจจัยสู่ความสำเร็จของโรงพยาบาลสนามบ้านวิทยาศาสตร์สิรินธรเพื่อคนพิการ ซึ่งตั้งอยู่ในอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี เป็นโรงพยาบาลสนามสำหรับคนพิการติดเชื้อโควิด-19 ที่ไม่มีอาการหรือมีอาการไม่รุนแรง เปิดดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2564  ซึ่งเกิดจากความร่วมมือในทุกภาคส่วนที่จับมือกัน โดยทุกหน่วยงานมีความเห็นชอบในทางนโยบายร่วมกันรวมถึงเห็นความสำคัญ อีกสิ่งหนึ่งคือการสร้างความมั่นใจให้กับทีมที่ต้องปฏิบัติงาน หรือทีมที่เข้ามาสนับสนุนในอาคารสถานที่ เช่น แม่บ้าน ช่าง พนักงานที่ทำงาน โดยมีการให้พนักงานทุกคนได้ฉีดวัคซีน เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจ ให้กับคนทำงานว่าจะไม่นำเชื้อไปแพร่ให้กับครอบครัวที่บ้าน ในด้านนวัตกรรม สวทช. ได้มีกระบวนการเรียนรู้และนำนวัตกรรมมาใช้กับทางกลุ่มผู้พิการ โดยนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับโควิด-19 ทั้งหมด

2

         สวทช. ได้มีการพัฒนาขึ้นเพื่อช่วยเหลือสนับสนุนโรงพยาบาลอื่นๆ ซึ่งเป็นบุคคลทั่วไปอยู่แล้ว ซึ่งในส่วนของนวัตกรรมที่โรงพยาบาลสนามบ้านวิทยาศาสตร์สิรินธรเพื่อคนพิการ จะมีการนำมาใช้อย่างเหมาะสมต่อการใช้งาน เช่น MagikTuch ระบบลิฟต์ไร้สัมผัส เปลความดันลบไว้สำหรับเคลื่อนย้ายผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิด-19 Girm Zaber UV-C Sterilizer อุปกรณ์ฆ่าเชื้อโรคด้วยแสงยูวี-ซี ซึ่งมีทั้งระบบแบบ station และหุ่นยนต์บังคับ สำหรับใช้ทำความสะอาดทั้งก่อนเริ่มใช้พื้นที่และหลังใช้พื้นที่ ด้านอุปกรณ์ป้องกัน มีการพัฒนาหน้ากากอนามัยเซฟีพลัส (Safie Plus) และหน้ากาก N95 nBreeze มีหมวกความดันลบและความดันบวก และในส่วนของเทคโนโลยีอีกกลุ่มหนึ่งที่นำเข้าไปช่วย คือระบบติดตามสุขภาพ หรือ A-MED Telehealth ที่ถูกขยายผลนำไปใช้ในหลายหน่วยงานและโรงพยาบาลสนามอื่นๆ สำหรับการติดตามผู้ป่วยทางไกล

3

         โดยปัจจุบันถูกนำไปใช้ดูแลผู้ป่วยในระบบ Home Isolation และ Community Isolation นอกจากนั้นแล้ว ยังมีเครื่องเอกซเรย์ดิจิทัลแบบเคลื่อนที่ได้ (BodiiRay M) สำหรับเอกซเรย์ปอด และระบบบริการล่ามทางไกล ซึ่ง สวทช. มีศูนย์ที่ทำงานร่วมกับมูลนิธิสากลเพื่อคนพิการเรียกว่าศูนย์ TTRS มีบริการล่ามให้แพทย์และผู้พิการตลอด 24 ชั่วโมง อีกทั้งยังมีเรื่องของรถบังคับส่งของทางไกล “อารี” และ “ปิ่นโต 2” ได้รับความร่วมมือจากศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สวทช. และกรมวิทยาศาสตร์บริการนำมาสนับสนุนเพื่อลดการสัมผัสอีกด้วย

4

         นางสาวเสาวลักษณ์ วิจิตร ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และแผนงาน กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (พก.) กระทรวง พม. กล่าวว่า ปัจจัยสู่ความสำเร็จ มี 4 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1.ผู้บริหารของแต่ละหน่วยงานสนับสนุนนโยบาย 2.ทีมทำงานมีความเข้มแข็ง พร้อมในการปฏิบัติงานและชัดเจนในบทบาทหน้าที่ 3.การมีเครื่องมือสนับสนุนในการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นคู่มือในการปฏิบัติงาน แนวทางการทำงานที่ชัดเจน เครื่องมือในการปฏิบัติงานหรือนวัตกรรมที่สนับสนุน เครื่องอุปโภคบริโภคที่ได้รับจากการบริจาครวมถึงสวัสดิการด้านที่พัก รถสำหรับเคลื่อนย้ายผู้พิการ และการฉีดวัคซีนให้กับเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงาน และ 4.เครือข่ายพร้อมให้ความช่วยเหลือ ทั้งองค์กรด้านคนพิการ หน่วยงานภาครัฐในพื้นที่ ภาคประชาชนที่เป็นอาสาสมัคร หรือภาคเอกชนที่สนับสนุนการทำงาน ล้วนเป็นสิ่งที่ทำให้โรงพยาบาลสนามบ้านวิทยาศาสตร์สิรินธรเพื่อคนพิการสามารถดำเนินงานได้

5

         นอกจากนี้ยังสามารถขยายผลต่อได้ในเชิงรูปแบบ คือการจัดตั้งโรงพยาบาลสนามตามประเภทความพิการ การจัดตั้งศูนย์พักคอยผู้ป่วยโควิดกลุ่มสีเขียวสำหรับคนพิการทุกประเภทความพิการ การส่งต่อในระบบ Home Isolation (HI) และ Community Isolation (CI) และการขยายผลในเชิงกระบวนการ สู่ระดับจังหวัด โดยบูรณาการความร่วมมือหลักของกระทรวงที่เกี่ยวข้องได้แก่  พม. สธ. มท. และ อว. รวมถึงองค์กรคนพิการในพื้นที่ ผู้ช่วยเหลือคนพิการที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งปัจจุบันจังหวัดสุรินทร์ได้นำไปขยายผล โดยเปิดศูนย์บริการคนพิการจังหวัด และมีการเชื่อมโยงประสานกับแพทย์ในระดับพื้นที่ ผู้นำคนพิการในพื้นที่ สถาบันการศึกษา รวมถึงท้องถิ่นในการขับเคลื่อนการทำงานในพื้นที่ ซึ่งเป็นรูปแบบเดียวกับกระบวนการในการทำงานที่โรงพยาบาลสนามบ้านวิทยาศาสตร์สิรินธรเพื่อคนพิการ

6

         แพทย์หญิงบุษกร โลหารชุน รองผู้อำนวยการด้านการแพทย์ สถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข กล่าวเพิ่มเติมว่า โรงพยาบาลสนามบ้านวิทยาศาสตร์สิรินธรเพื่อคนพิการ ถือว่าเป็นโรงพยาบาลสนามเพื่อคนพิการต้นแบบของประเทศไทย และต้องขอบคุณทีมนักวิจัย สวทช. ที่มีบทบาทสำคัญในการนำนวัตกรรมมาใช้ในโรงพยาบาลสนามฯ พิสูจน์ว่าทุกนวัตกรรมสามารถใช้ได้จริง และมีการพัฒนาปรับปรุงอุปกรณ์ให้ใช้ได้สะดวกตามความต้องการของบุคลากรทางการแพทย์และผู้ป่วยที่เป็นคนพิการ โดยเฉพาะอุปกรณ์ติดตามอาการและเครื่องมือสื่อสารกับผู้พิการที่พัฒนาโดย สวทช. ทำให้ลดอุปสรรคการสื่อระหว่างแพทย์และผู้พิการทางการได้ยินและการมองเห็นได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยสถิติคนพิการที่เข้ารับการักษาที่โรงพยาบาลสนามบ้านวิทยาศาสตร์สิรินธรเพื่อคนพิการ ตั้งแต่ 1 มิถุนายน จนถึงปัจจุบัน (ข้อมูล ณ วันที่ 6 ก.ย.2564) มีผู้ป่วยสะสม 619 ราย รักษาหายกลับบ้านแล้ว 506 ราย อายุผู้ป่วยเฉลี่ย 42 ปี โดยมีอายุต่ำสุด 2 เดือน และอายุสูงสุด 90 ปี ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษามีทั้งพิการทางการมองเห็น พิการทางการได้ยิน พิการทางการเคลื่อนไหว และพิการทางสติปัญญา

7

         นอกจากนั้นแล้วสิ่งสำคัญคือการร่วมสำรวจองค์ความรู้ทางการแพทย์ เพื่อประเมินว่าเมื่อจะต้องจัดวอร์ดพิเศษหรือหอผู้ป่วยพิเศษเพื่อรองรับภาวะโรคระบาดนี้จะทำอย่างไรให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมและชุมชนเกิดความมั่นใจ ในเรื่องของการดูแลการส่งต่อการบริหารจัดการทีมภายในจังหวัด การดูแลเตียงในระดับสีต่าง ๆ ซึ่งมีความสำคัญมาก และการทำ HI อย่างไรให้ประชาชนเกิดความมั่นใจว่ายังอยู่ในการดูแลของแพทย์ แม้จะอยู่ที่บ้าน รวมไปถึงการประเมินในการเข้าถึงเวชภัณฑ์ เพื่อให้เกิดความมั่นใจและการรักษาที่สมบูรณ์ ซึ่งในการทำงานนั้นไม่สามารถดำเนินงานเพียงองค์กรเดียวได้ จำเป็นต้องอาศัยทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง รวมถึงภาคประชาสังคมเพื่อช่วยในด้านของการประสานงานเพื่อตอบรับ หรือเพื่อก้าวข้ามระเบียบ หรือข้อจำกัดบางอย่างในภาวะวิกฤติซึ่งในส่วนนี้ภาคประชาสังคมถือว่ามีส่วนสำคัญมาก

8

         ด้าน นายชูศักดิ์ จันทยานนท์ นายกสมาคมสภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทย กล่าวว่า โรงพยาบาลสนามบ้านวิทยาศาสตร์สิรินธรเพื่อคนพิการ ถือว่าเป็นโรงพยาบาลสนามเพื่อคนพิการแห่งแรกในภูมิภาคอาเซียน และหวังว่าจะเป็นโรงพยาบาลสนามเพื่อคนพิการต้นแบบต่อไปในอนาคต เพราะเกิดจากความร่วมมือของทุกภาคส่วน ซึ่งปัจจัยของความสำเร็จอีกหนึ่งสิ่ง คือการมีเป้าหมายเดียวกันในการช่วยเหลือผู้พิการและสังคม จะเห็นว่าทุกองค์กรที่เกี่ยวข้องเห็นตรงกันและทำงานอย่างทุ่มเท โดยจะเห็นได้จากการที่ผู้ใหญ่ระดับกระทรวงทั้ง 3 กระทรวง ร่วมเปิดโรงพยาบาลสนามฯ ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้เห็นชัดว่าผู้บริหารมีความตระหนักในเรื่องนี้ ทำให้ทุกอย่างที่เป็นทรัพยากรถูกนำมาใช้ที่โรงพยาบาลสนามแห่งนี้ นำไปสู่การขยายผลในเชิงนโยบายตามมา เกิดระบบวิธีคิดในการทำให้คนพิการอยู่ในกระแสหลักของสังคม และเกิดระเบียบปฏิบัติที่รองรับการทำงาน ซึ่งจะเป็นตัวตั้งต้นที่ทำให้เกิดแนวนโยบาย ให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถปฏิบัติงานได้ ซึ่งในอนาคตอยากนำ 4 ชุดความรู้ ได้แก่ 1. ชุดความรู้ในการพัฒนานโยบายสาธารณะ 2. ชุดความรู้ในเรื่องนวัตกรรมเทคโนโลยี 3. ชุดความรู้ในเรื่องของการขับเคลื่อนสวัสดิการ ด้านสุขภาพ และสวัสดิการสังคมสำหรับกลุ่มเปราะบาง และ 4. ชุดความรู้ในเรื่องขององค์กรช่วยเหลือตนเองของผู้พิการ มาเป็นโมเดลต่อยอดสู่การสร้างแผนรับมือภัยพิบัติและวิกฤติโรคระบาดในอนาคต

ข้อมูลข่าวโดย : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
เผยแพร่ข่าว : นางสาวพรนภา สวัสดี
ส่วนสื่อสารองค์กร
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3728 - 3732 โทรสาร 0 2333 3834
Facebook : @MHESIThailand
Call Center โทร.1313
ฟื้นฟู “ป่าชายเลน” สร้างเศรษฐกิจฐานราก ลดก๊าซเรือนกระจก TED Fund จัดอบรมโครงการ Technology and Innovation for Startup ส่งเสริมองค์ความรู้ในการทำธุรกิจ พร้อมติดอาวุธด้านการตลาด
  • อว. จัดงาน “NST Fair Science C ...
    ข่าวรัฐมนตรี
    อว. จัดงาน “NST Fair Science Carnival Bangkok” รวมศิลปะผสานวิทยาศาสตร์จัดเต็มกิจกรรมภายใต้แนวคิด “วิ...
    18 Aug 2022
    รมว.อว. ให้มหาวิทยาลัยเตรียมพร ...
    ข่าวรัฐมนตรี
    รมว.อว. ให้มหาวิทยาลัยเตรียมพร้อม เมื่อสถานการณ์โควิดดีขึ้น
    25 Jan 2021
    วช.นำปัญญาประดิษฐ์”โดรนแปรอักษ ...
    ข่าวสารหน่วยงาน
    วช.นำปัญญาประดิษฐ์”โดรนแปรอักษร”ตอบโจทย์การพัฒนาทักษะและเสริมสมรรถนะเยาวชนด้วยวิจัยและนวัตกรรม พื้นท...
    29 Aug 2023
    ดูทั้งหมด >

เรื่องล่าสุด

“วราภรณ์” รองปลัดกระทรวง อว. ม ...
ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
“วราภรณ์” รองปลัดกระทรวง อว. มอบวุฒิบัตรและปิดการฝึกอบรม "หลักสูตรการบริหารงานอุดมศึกษาสายสนับสนุนระ...
16 May 2025
“ศุภมาส” ร่วมงาน “กระตุก GDP ไ ...
ข่าวรัฐมนตรี ศุภมาส
“ศุภมาส” ร่วมงาน “กระตุก GDP ไทยด้วยกองทุนวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.)“ ผลักดันกำลังคนสมรรถนะ...
16 May 2025
“ศุภมาส” เปิดตัวโครงการ TNA ฉบ ...
ข่าวรัฐมนตรี ศุภมาส
“ศุภมาส” เปิดตัวโครงการ TNA ฉบับที่ 2 รองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของไทย ผลักดันเทคโนโลยีสู้วิก...
15 May 2025

กระทรวงการ อว.

  • อว.พารับส่วนลด
    • รวมรายการสินค้าและบริการ
    • ท่องเที่ยว
    • อาหาร
    • บริการ
    • ชอปปิง
  • User Menu (Discount)
    • เนื้อหาของฉัน
    • แก้ไขข้อมูลส่วนตัว
    • ออกจากระบบ
  • เมนูหลัก
    • Home
    • About us
      • History
      • Vision Mission
      • Policy / Strategy
      • เครื่องหมายราชการ และ ตราสัญลักษณ์กระทรวง
      • Mission Structure
      • Executive
      • Government Division
      • Government Weblink
      • Legal
      • CIO
    • Flagship Project
    • Scholarships
      • ทุนกระทรวงทั้งหมด
      • ทุนพัฒนาอาจารย์
      • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
      • ทุนวิจัย
    • Service
      • บริการทั้งหมด
      • สถาบันอุดมศึกษา
      • นิสิต/นักศึกษา
      • อาจารย์
      • นักวิทยาศาสตร์/นักวิจัย
      • ผู้ประกอบการ
      • ภาครัฐ
    • News
      • ประมวลภาพกิจกรรม "น้อมรำลึก ในหลวง ร.9"
      • ภาพข่าวและกิจกรรม
        • ข่าวรัฐมนตรี
        • ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
        • ข่าวสารหน่วยงาน
      • ข่าวสารและประกาศ
        • ข่าวประกาศ
        • ประกาศงานบุคลากร
        • ข่าวประชุม อบรม สัมนา
        • ข่าวสารน่าสนใจ [พรบ.ข่าวสาร]
    • Data Repository
      • เอกสารเผยแพร่กระทรวง
      • เอกสารเผยแพร่จากภายนอก
      • e-Book เพราะเธอเป็นลมหายใจ
      • e-Book S&T Series
      • Infographic
      • วีดิทัศน์
      • Mobile Application
        • สำหรับ iOS
        • สำหรับ Andriod
    • ศูนย์บริการร่วม
      • ความเป็นมาศูนย์บริการประชาชน
      • รางวัลและผลงานเด่น
      • ติดต่อศูนย์บริการร่วม
      • สาระน่ารู้
  • แนะนำหน่วยงาน
    • ความเป็นมา
    • Vision and Mission
    • นโยบาย/ยุทธศาสตร์กระทรวง
    • โครงสร้างภารกิจกระทรวง
    • ผู้บริหารกระทรวง
    • การแบ่งส่วนราชการ
    • ลิงก์หน่วยงาน
    • กฏหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
    • เกี่ยวกับซีไอโอ
  • ทุนกระทรวง
    • ทุนกระทรวงทั้งหมด
    • ทุนพัฒนาอาจารย์
    • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
    • ทุนวิจัย
  • ภาพข่าวและกิจกรรม
    • ภาพข่าวและกิจกรรม
    • ข่าวผู้บริหาร
    • ข่าวสารหน่วยงาน
  • เมนูอื่นๆ
    • Thai University Consortium
    • ห้องสมุด อว.
    • Search
    • คำถามที่พบบ่อย
    • แบบฟอร์มร้องเรียน
    • Contact
    • Sitemap
    • สถิติการเข้าชมเว็บไซต์
    • เข้าสู่ระบบ/ออกจากระบบ

map แผนที่และการเดินทาง

faqคำถามที่พบบ่อย

faqเสนอแนะ/ร้องเรียน

faqแผนผังเว็บไซต์

กระทรวง อว.

แอปพลิเคชั่นทั้งหมดของกระทรวง

ios app andriod app 

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป

© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.

WCAG 2.0 (Level AAA)

ติดตามเราได้ที่   facebook twitter youtube This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.