กระทรวง อว.

search

navmobiletoggle
  • About us
    • History
    • Vision Mission
    • Policy / Strategy
    • เครื่องหมายราชการ และ ตราสัญลักษณ์กระทรวง
    • Mission Structure
    • Executive
    • Government Division
    • Government Weblink
    • Legal
    • CIO
  • Flagship Project
  • Scholarships
    • ทุนกระทรวงทั้งหมด
    • ทุนพัฒนาอาจารย์
    • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
    • ทุนวิจัย
  • Service
    • บริการทั้งหมด
    • สถาบันอุดมศึกษา
    • นิสิต/นักศึกษา
    • อาจารย์
    • นักวิทยาศาสตร์/นักวิจัย
    • ผู้ประกอบการ
    • ภาครัฐ
  • News
    • ประมวลภาพกิจกรรม "น้อมรำลึก ในหลวง ร.9"
    • ภาพข่าวและกิจกรรม
      • ข่าวรัฐมนตรี
      • ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
      • ข่าวสารหน่วยงาน
    • ข่าวสารและประกาศ
      • ข่าวประกาศ
      • ประกาศงานบุคลากร
      • ข่าวประชุม อบรม สัมนา
      • ข่าวสารน่าสนใจ [พรบ.ข่าวสาร]
  • Data Repository
    • เอกสารเผยแพร่กระทรวง
    • เอกสารเผยแพร่จากภายนอก
    • e-Book เพราะเธอเป็นลมหายใจ
    • e-Book S&T Series
    • Infographic
    • วีดิทัศน์
    • Mobile Application
  • ศูนย์บริการร่วม
--
+
A
กระทรวง อว.
  • About us
    • History
    • Vision Mission
    • Policy / Strategy
    • เครื่องหมายราชการ และ ตราสัญลักษณ์กระทรวง
    • Mission Structure
    • Executive
    • Government Division
    • Government Weblink
    • Legal
    • CIO
  • Flagship Project
  • Scholarships
    • ทุนกระทรวงทั้งหมด
    • ทุนพัฒนาอาจารย์
    • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
    • ทุนวิจัย
  • Service
    • บริการทั้งหมด
    • สถาบันอุดมศึกษา
    • นิสิต/นักศึกษา
    • อาจารย์
    • นักวิทยาศาสตร์/นักวิจัย
    • ผู้ประกอบการ
    • ภาครัฐ
  • News
    • ประมวลภาพกิจกรรม "น้อมรำลึก ในหลวง ร.9"
    • ภาพข่าวและกิจกรรม
      • ข่าวรัฐมนตรี
      • ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
      • ข่าวสารหน่วยงาน
    • ข่าวสารและประกาศ
      • ข่าวประกาศ
      • ประกาศงานบุคลากร
      • ข่าวประชุม อบรม สัมนา
      • ข่าวสารน่าสนใจ [พรบ.ข่าวสาร]
  • Data Repository
    • เอกสารเผยแพร่กระทรวง
    • เอกสารเผยแพร่จากภายนอก
    • e-Book เพราะเธอเป็นลมหายใจ
    • e-Book S&T Series
    • Infographic
    • วีดิทัศน์
    • Mobile Application
  • ศูนย์บริการร่วม

extenmenu

เมนู
  • Thai University Consortium
  • ห้องสมุด อว.
  • Search
  • คำถามที่พบบ่อย
  • แบบฟอร์มร้องเรียน
  • Contact
  • Sitemap
  • สถิติการเข้าชมเว็บไซต์
  • เข้าสู่ระบบ/ออกจากระบบ
Rectangle 150
  • Home
  • ภาพข่าวและกิจกรรม
  • ข่าวสารหน่วยงาน

ฟื้นฟู “ป่าชายเลน” สร้างเศรษฐกิจฐานราก ลดก๊าซเรือนกระจก

  • Facebook
  • Twitter
  • Line
23 Sep 2021

1 

          ประเทศไทยมีพื้นที่ป่าชายเลนมากเป็นอันดับ 5 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นระบบนิเวศที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง ไม่เพียงสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในฐานะแหล่งอาหาร ยา พลังงาน และการสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนโดยรอบ แต่ยังเป็นแหล่งดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ที่สำคัญเพื่อลดภาวะโลกร้อนได้อีกด้วย นักวิชาการมีการประเมินตัวเลขมูลค่าทางเศรษฐกิจไว้ว่า หากมีการใช้ประโยชน์พื้นที่ป่าชายเลนทั้งหมดราว 1.73 ล้านไร่ทั้งทางตรงและทางอ้อม จะมีมูลค่าสูงถึงกว่า 6 หมื่นล้านบาทต่อปี

         เพื่อสร้างความตระหนักถึงความสำคัญและการใช้ประโยชน์จากป่าชายเลนอย่างยั่งยืน ฝ่ายบริหารวิจัยเพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์ชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้ร่วมกับกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) จัดการเสวนาเรื่อง “ป่าชายเลนคุณค่าต่อประเทศไทยและโลก” โดยมีผู้แทนจากส่วนงานต่างๆ มาร่วมสะท้อนทิศทางการดำเนินงานทั้งในแง่มุมการเพิ่มปริมาณพื้นที่ป่า การสร้างมูลค่าเพิ่ม การอนุรักษ์ การสร้างแหล่งเรียนรู้ และการสร้างเศรษฐกิจฐานราก ซึ่งมีส่วนสำคัญอย่างมากในการขับเคลื่อนพัฒนาตามแนวทางโมเดลเศรษฐกิจ BCG (BCG Economy Model)

2

3

4

“ป่าชายเลน” แหล่งอาหารและดูดซับก๊าซเรือนกระจก

         ศ. ดร.สนิท อักษรแก้ว ประธานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และประธานอนุกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาโมเดลเศรษฐกิจ BCG สาขาความหลากหลายทางชีวภาพ ได้กล่าวเปิดการเสวนาด้วยการชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของป่าชายเลนและสถานการณ์ภาพรวมว่า ป่าชายเลนเป็นระบบนิเวศที่เชื่อมต่อระหว่างผืนดินกับน้ำทะเลในเขตร้อนและกึ่งร้อนของโลก ประเทศไทยมีแนวป่าชายเลนเกิดขึ้นทั้ง 2 ฝั่งของประเทศ ฝั่งอ่าวไทยตั้งแต่จันทบุรีไปถึงปัตตานีมีความยาวของพื้นที่ประมาณ 2,000 กิโลเมตร และฝั่งอันดามันจากจังหวัดระนองถึงจังหวัดสตูลมีความยาวมากกว่า 1,000 กิโลเมตร

5

ศ. ดร.สนิท อักษรแก้ว ประธานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และประธานอนุกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาโมเดลเศรษฐกิจ BCG สาขาความหลากหลายทางชีวภาพ

         “คุณค่าของป่าชายเลนไทย ไม่เพียงเป็นบ้านขนาดใหญ่สำหรับอนุบาลสัตว์น้ำชายฝั่งเท่านั้น แต่ยังเป็นโรงครัวที่อุดมสมบูรณ์ และเป็นกำแพงกันภัยธรรมชาติให้แก่คนชายฝั่ง โดยเฉพาะตอนเกิดเหตุการณ์สึนามิเมื่อปี 2547 อย่างไรก็ตามหากย้อนไปประมาณช่วง 30-60 ปีที่ผ่านมา น่าเสียดายว่าป่าชายเลนไทยเคยถูกรุกรานอย่างหนักเพื่อประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจจนพื้นที่ป่าหายไปกว่าครึ่ง แต่ด้วยประชาชนเริ่มมีความรู้ความเข้าใจถึงความสำคัญของป่าชายเลนมากขึ้น จึงทำให้มีการฟื้นคืนป่าชายเลนเพิ่มขึ้นมาในช่วงระยะหลัง นอกจากนี้ประเทศไทยยังได้ร่วมมือกับพันธมิตรอีกกว่า 90 ประเทศ ในการเชื่อมโยงพื้นที่ป่าชายเลนของแต่ละประเทศให้เป็นป่าชายเลนของโลกในนามสมาคมป่าชายเลนนานาชาติ (International Society for Mangrove Ecosystem หรือ ISME) ซึ่งจะมีบทบาทหน้าที่ในการร่วมฟื้นฟูพื้นที่ป่าชายเลน และการพบปะแลกเปลี่ยนความรู้ทางด้านวิชาการโดยผู้เชี่ยวชาญแต่ละแขนงอีกด้วย”

6

         เมื่อประชาคมโลกเกิดการตระหนักรู้ถึงความสำคัญของป่าชายเลน ทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยได้มีการดำเนินงานพัฒนาป่าชายเลนตามเป้าหมายหลายด้าน ทั้งเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ (CBD) อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) และการดำเนินงานตามเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อหยุดหรือชะลอปัญหาภาวะโลกร้อนให้ได้มากที่สุด ซึ่งประเทศไทยมีเป้าหมายที่ต้องบรรลุ คือ การลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงร้อยละ 20 ภายในปี 2573

ป่าชายเลน ความหวังไทยลดการปล่อย CO2

         จากปัญหาภาวะโลกร้อนและการแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศอันเนื่องมาจากการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่บรรยากาศที่มากเกินไป ได้นำมาสู่ข้อตกลงปารีส (Paris Agreement) ที่หลายประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยต้องหาทางลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งการปลูกป่าโดยเฉพาะป่าชายเลนถือเป็นความหวังสำคัญในการนำมาใช้แลกเปลี่ยนคาร์บอนเครดิต หรือใช้ในการชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของตนเองจากการปลูกป่าในพื้นที่รัฐดูแล

7

นางพูลศรี วันธงไชย ผู้อำนวยการส่วนวิจัยทรัพยากรป่าชายเลน กองอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน ทช.

         นางพูลศรี วันธงไชย ผู้อำนวยการส่วนวิจัยทรัพยากรป่าชายเลน กองอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน ทช. เล่าถึงแผนงานนโยบายด้านการอนุรักษ์ฟื้นฟูและระเบียบการแบ่งปันคาร์บอนเครดิตของพืชป่าชายเลนว่า หนึ่งในแผนงานที่ ทช. กำลังดำเนินงานคือการทำให้เกิดการเพิ่มพื้นที่ป่าชายเลนอย่างยั่งยืน โดยกรมได้ร่วมกับองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก. และหน่วยงานพันธมิตร สร้างกลไกเพื่อเป็นแรงจูงใจให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมกับภารกิจนี้ คือการปลูกป่าชายเลนเพื่อคาร์บอนเครดิต เพราะมีข้อมูลการวิจัยจากต่างประเทศรายงานว่าป่าชายเลนสามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากกว่าป่าชนิดอื่น 2-4 เท่า โดยจะกักเก็บคาร์บอนไว้ในมวลชีวภาพที่อยู่ในลำต้น ราก ซากไม้ตาย และที่สำคัญคือการกักเก็บอยู่ในดิน

8

         “การดำเนินงานปลูกป่าชายเลนของภาคเอกชนเพื่อแลกเปลี่ยนเป็นคาร์บอนเครดิตจะต้องเป็นไปตามเงื่อนไข ภายใต้ระเบียบ ทช. ว่าด้วยการปลูกและบำรุงป่าชายเลนสำหรับองค์กรหรือบุคคลภายนอก พ.ศ. 2564 ซึ่งดำเนินการร่วมกัน 3 ฝ่าย มีหน้าที่แตกต่างกันไป โดยองค์กรหรือบุคคลภายนอกจะเป็นผู้ปลูกและออกค่าใช้จ่ายต่างๆ ทช. จะเป็นผู้กำกับดูแล และอบก. มีหน้าที่ขึ้นทะเบียนคาร์บอนเครดิต ซึ่งการปลูกป่าจะต้องดูแลอย่างน้อย 6 ปี หลังครบ 6 ปี ผู้พัฒนาโครงการฯ ต้องมีการเสนอแผนนโยบายส่งเสริมให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในชุมชนโดยรอบได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการฟื้นคืนหรือเพิ่มปริมาณผืนป่า และมีการส่งเสริมอาชีพให้เกิดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในชุมชน

         ส่วนการปลูกป่าเพื่อคาร์บอนเครดิต จะต้องมีระยะเวลาไม่น้อยกว่า 10 ปี โดยผู้พัฒนาโครงการฯ ได้คาร์บอนเครดิต 90% ทาง ทช. ได้ 10% และเป็นโครงการฯ ที่เกิดขึ้นหลังวันที่ 24 เมษายน 2564 ตามเงื่อนไขข้อตกลงกับทาง ทช. เท่านั้น ผู้ที่สนใจสามารถศึกษาข้อมูลได้จากเว็บไซต์ของ ทช. ส่วนระเบียบและขั้นตอนขึ้นทะเบียนและการแบ่งปันคาร์บอนเครดิตสามารถติดตามรายละเอียดได้ในเว็บไซต์ของ อบก. ซึ่งจะมีกระบวนการคิดคาร์บอนเครดิตเป็นแบบภาคสมัครใจ และสามารถนำไปใช้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆ อาทิ การใช้หักลบจำนวนการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในระบบขององค์กร หรือใช้จำหน่ายเป็นเครดิต เป็นต้น”

ป่าชายเลนหล่อเลี้ยงชุมชน เชื่อมโยงเศรษฐกิจฐานราก

         แม้คุณค่าของป่าชายเลนและเงื่อนไขในการแบ่งปันคาร์บอนเครดิตจะเป็นแรงจูงใจให้ประชาชน ภาคเอกชน และหน่วยงานรัฐเข้ามาช่วยกันฟื้นฟูเพิ่มพื้นที่ป่าชายเลนเพิ่มมากขึ้น แต่มิติสำคัญที่จะนำมาซึ่งการดูแลอนุรักษ์ป่าชายเลนไว้ได้อย่างยั่งยืน คือ การสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน และการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากให้มีรายได้จากการใช้ประโยชน์ป่าชายเลน

9

นายไชยภูมิ สิทธิวัง ผู้อำนวยการส่วนส่งเสริมพัฒนาทรัพยากรป่าชายเลน กองอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน ทช.

         นายไชยภูมิ สิทธิวัง ผู้อำนวยการส่วนส่งเสริมพัฒนาทรัพยากรป่าชายเลน กองอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน ทช. เล่าถึงการทำงานที่ผ่านมาว่า ทช. ได้ร่วมกับหน่วยงานพันธมิตรและชุมชนโดยรอบป่าชายเลนในการดำเนินงานส่งเสริมการเติบโตเศรษฐกิจฐานรากของชุมชนจากฐานทรัพยากรป่าชายเลนในท้องถิ่น ทั้งการศึกษารวบรวมองค์ความรู้ การเผยแพร่ภูมิปัญญาท้องถิ่น และการพัฒนาต่อยอดเพื่อการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน ซึ่งครอบคลุมการใช้ประโยชน์จากป่าชายเลน ทั้งทางด้านสัตว์น้ำเศรษฐกิจ พืชอาหาร พืชสมุนไพร ผลิตภัณฑ์ต่างๆ จากพืชป่าชายเลน รวมถึงการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในป่าชายเลน เช่น การนำพืชป่าชายเลนกว่า 20 ชนิด มาทำเป็นอาหารกว่า 70 เมนู การใช้ประโยชน์จากพืชสมุนไพรกว่า 30 ชนิด การทำประมงชายฝั่งแบบเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การใช้ไม้ป่าชายเลนผลิตเป็นถ่านหุงต้มคุณภาพสูง และการผลิตไม้ป่าชายเลนเพื่อเป็นไม้ดอกไม้ประดับหรือไม้ให้ร่มเงาที่มีราคาสูง เป็นต้น ถือได้ว่าป่าชายเลนเป็นแหล่งสร้างงานสร้างรายได้หล่อเลี้ยงคนในพื้นที่

10

11

12

         อย่างไรก็ตามด้านองค์ความรู้ในการใช้ประโยชน์จากพืชป่าชายเลนตอนนี้ยังขาดผู้เชี่ยวชาญจากแขนงต่างๆ มาร่วมบูรณาการนำเอาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม มาช่วยยกระดับการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ทรัพยากรที่ชุมชนมีเป็นต้นทุน รวมถึงการสร้างเครือข่ายการกระจายสินค้าและช่องทางการตลาดให้แก่ผลิตภัณฑ์จากป่าชายเลน เพื่อให้เศรษฐกิจฐานรากมีการเติบโตอย่างมั่นคง เป็นไปตามเป้าหมายการดำเนินงานของ ทช.

เทคโนโลยีจีโนมิกส์อนุรักษ์พันธุ์ไม้ป่าชายเลนเสี่ยงสูญพันธุ์

         ปฏิเสธไม่ได้ว่าท่ามกลางความพยายามฟื้นฟูป่าชายเลน ยังคงมีการบุกรุกเข้าใช้ประโยชน์ที่ดิน ส่งผลให้ป่าชายเลนที่เป็นป่าธรรมชาติลดลง พันธุ์ไม้ชายเลนหลายชนิด โดยเฉพาะชนิดที่กระจายพันธุ์ได้น้อย และพบเฉพาะถิ่นเริ่มหายากและเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์

13

ดร.สิทธิโชค ตั้งภัสสรเรือง ผู้อำนวยการศูนย์โอมิกส์แห่งชาติ (NOC) สวทช.

         ดร.สิทธิโชค ตั้งภัสสรเรือง ผู้อำนวยการศูนย์โอมิกส์แห่งชาติ (NOC) สวทช. เล่าถึงความร่วมมือระหว่าง สวทช. กับ ทช. ในการดำเนินงานอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพของป่าชายเลนไทยว่า ปัจจุบัน สวทช. โดย NOC ได้นำเทคโนโลยีจีโนมิกส์มาใช้ในการศึกษาถอดรหัสพันธุกรรมของพืชป่าชายเลนไทย เพื่อทำความเข้าใจถึงการคัดเลือกโดยธรรมชาติ (Natural selection) รวมถึงการปรับตัวในระดับพันธุกรรมของพืชแต่ละชนิดเพื่อให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม นอกจากนั้นยังได้มีการวิเคราะห์จีโนมพืชป่าชายเลนที่กำลังเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ในปัจจุบัน ดังปรากฏใน IUCN Red List เช่น พังกาถั่วขาว (Bruguiera hainesii) ที่อยู่ในกลุ่มสิ่งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงขั้นวิกฤติต่อการสูญพันธุ์ (Critically Endangered หรือ CR) มีเหลืออยู่ในประเทศไทยไม่ถึง 100 ต้น

14

         “นักอนุกรมวิธานได้วิเคราะห์ลักษณะต่างๆ ของพังกาถั่วขาวไว้ว่า มีลักษณะผสมกันระหว่างพังกาหัวสุมดอกแดง และถั่วขาว ผลการศึกษาทางพันธุศาสตร์พบว่าขนาดจีโนมของพังกาถั่วขาวใหญ่กว่าตัวพ่อแม่ และมีจำนวนยีนมากกว่าเกือบ 2 เท่า โดยพบหลักฐานว่าบางโครโมโซมในพังกาถั่วขาวนั้นมาจากถั่วขาว และบางโครโมโซมนั้นมาจากพังกาหัวสุมดอกแดง ขณะนี้ทีมวิจัยกำลังศึกษาความหลากหลายทางธรรมชาติของพืชกลุ่มถั่วนี้ ทั้งนี้องค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัยด้วยเทคโนโลยีจีโนมิกส์ จะมีการนำมาขยายผลด้านงานอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพของป่าชายเลนไทยต่อไปในอนาคต”

สวนพฤกษศาสตร์ป่าชายเลนฯ ร.๙ แหล่งเรียนรู้สู่ความยั่งยืน

         ประเด็นสุดท้ายที่มีการนำมาพูดคุยในการเสวนาครั้งนี้คือการจัดสรรพื้นที่สร้างความตระหนักรู้แก่ประชากรไทยและประชากรโลกถึงความสำคัญของป่าชายเลน ด้วยการสร้างแหล่งเรียนรู้ระดับสากล สวนพฤกษศาสตร์ป่าชายเลนนานาชาติ ร.๙ สวนพฤกษศาสตร์ป่าชายเลนแห่งแรกของโลก

15

16

นายชาตรี มากนวล ผู้อำนวยการสวนพฤกษศาสตร์ป่าชายเลนนานาชาติ ร.๙ ทช.          

         นายชาตรี มากนวล ผู้อำนวยการสวนพฤกษศาสตร์ป่าชายเลนนานาชาติ ร.๙ ทช. เล่าถึงความเป็นมาของสวนพฤกษศาสตร์ป่าชายเลนนานาชาติ ร.๙ จังหวัดจันทบุรีแห่งนี้ว่า มีการสร้างขึ้นเพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โดยสวนแห่งนี้จะเป็นพิพิธภัณฑ์มีชีวิตที่รวบรวมองค์ความรู้และพรรณไม้ป่าชายเลนจากพื้นที่ต่างๆ ทั่วโลกมาจัดแสดง เพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และสถานที่พักผ่อนทางธรรมชาติให้แก่คนไทยและต่างชาติ โดยสวนพฤกษศาสตร์แห่งนี้ประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก คือ อาคารนิทรรศการให้ความรู้ โรงเรือนจัดแสดงพันธุ์ไม้ป่าชายเลนทั้งของไทยและต่างประเทศ และทางเดินศึกษาธรรมชาติที่มีทางเดินชมเรือนยอดไม้ป่าชายเลน หอชมวิว และเส้นทางปั่นจักรยาน ซึ่งคาดว่าอาคารนิทรรศการให้ความรู้จะสามารถเปิดให้บริการได้ในปี พ.ศ. 2565 ก่อนจะทยอยเปิดส่วนอื่นๆ ต่อไป

17

         ทั้งหมดนี้คือทิศทางการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์ป่าชายเลนไทย เพื่อรักษาฐานทุนทางทรัพยากรให้คงความสมบูรณ์ และก่อให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากตามโมเดลเศรษฐกิจบีซีจี (BCG Economy Model) ซึ่งเป็นวาระของชาติ ที่มุ่งพัฒนาองค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อการคุ้มครอง ป้องกัน ฟื้นฟู และใช้ประโยชน์ทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพซึ่งเป็นจุดแข็งของประเทศ ให้เกิดการสร้างรายได้ควบคู่กับการดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน

ข้อมูลข่าวโดย : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
เผยแพร่ข่าว : นางสาวพรนภา สวัสดี
ส่วนสื่อสารองค์กร
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3728 - 3732 โทรสาร 0 2333 3834
Facebook : @MHESIThailand
Call Center โทร.1313
วศ. ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาเชิงลึกผู้ประกอบการ SMEs ตอบโจทย์มุ่งเป้าสู่ธุรกิจส่งออกจีนและพม่า 3 กระทรวง เผยปัจจัยสู่ความสำเร็จ ‘โรงพยาบาลสนามบ้านวิทยาศาสตร์สิรินธรเพื่อคนพิการ’
  • รมว.อว. ชื่นชมเยาวชนไทยสร้างชื ...
    ข่าวรัฐมนตรี
    รมว.อว. ชื่นชมเยาวชนไทยสร้างชื่อเวทีระดับโลกในการแข่งขันประกวดโครงงานวิทย์ฯ REGENERON ISEF 2023
    24 May 2023
    ปส. จับมือ IAEA เสริมสมรรถนะด้ ...
    ข่าวสารหน่วยงาน
    ปส. จับมือ IAEA เสริมสมรรถนะด้านการตอบสนองต่อเหตุฉุกเฉินด้านความปลอดภัย สถานประกอบการทางนิวเคลียร์ ร...
    03 Oct 2022
    ทิศทางการยกระดับความสามารถในกา ...
    ภาพข่าวและกิจกรรม
    ทิศทางการยกระดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศ กับงาน Thailand Competitiveness : How to turn challe...
    21 Feb 2020
    ดูทั้งหมด >

เรื่องล่าสุด

“วราภรณ์” รองปลัดกระทรวง อว. ม ...
ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
“วราภรณ์” รองปลัดกระทรวง อว. มอบวุฒิบัตรและปิดการฝึกอบรม "หลักสูตรการบริหารงานอุดมศึกษาสายสนับสนุนระ...
16 May 2025
“ศุภมาส” ร่วมงาน “กระตุก GDP ไ ...
ข่าวรัฐมนตรี ศุภมาส
“ศุภมาส” ร่วมงาน “กระตุก GDP ไทยด้วยกองทุนวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.)“ ผลักดันกำลังคนสมรรถนะ...
16 May 2025
“ศุภมาส” เปิดตัวโครงการ TNA ฉบ ...
ข่าวรัฐมนตรี ศุภมาส
“ศุภมาส” เปิดตัวโครงการ TNA ฉบับที่ 2 รองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของไทย ผลักดันเทคโนโลยีสู้วิก...
15 May 2025

กระทรวงการ อว.

  • อว.พารับส่วนลด
    • รวมรายการสินค้าและบริการ
    • ท่องเที่ยว
    • อาหาร
    • บริการ
    • ชอปปิง
  • User Menu (Discount)
    • เนื้อหาของฉัน
    • แก้ไขข้อมูลส่วนตัว
    • ออกจากระบบ
  • เมนูหลัก
    • Home
    • About us
      • History
      • Vision Mission
      • Policy / Strategy
      • เครื่องหมายราชการ และ ตราสัญลักษณ์กระทรวง
      • Mission Structure
      • Executive
      • Government Division
      • Government Weblink
      • Legal
      • CIO
    • Flagship Project
    • Scholarships
      • ทุนกระทรวงทั้งหมด
      • ทุนพัฒนาอาจารย์
      • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
      • ทุนวิจัย
    • Service
      • บริการทั้งหมด
      • สถาบันอุดมศึกษา
      • นิสิต/นักศึกษา
      • อาจารย์
      • นักวิทยาศาสตร์/นักวิจัย
      • ผู้ประกอบการ
      • ภาครัฐ
    • News
      • ประมวลภาพกิจกรรม "น้อมรำลึก ในหลวง ร.9"
      • ภาพข่าวและกิจกรรม
        • ข่าวรัฐมนตรี
        • ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
        • ข่าวสารหน่วยงาน
      • ข่าวสารและประกาศ
        • ข่าวประกาศ
        • ประกาศงานบุคลากร
        • ข่าวประชุม อบรม สัมนา
        • ข่าวสารน่าสนใจ [พรบ.ข่าวสาร]
    • Data Repository
      • เอกสารเผยแพร่กระทรวง
      • เอกสารเผยแพร่จากภายนอก
      • e-Book เพราะเธอเป็นลมหายใจ
      • e-Book S&T Series
      • Infographic
      • วีดิทัศน์
      • Mobile Application
        • สำหรับ iOS
        • สำหรับ Andriod
    • ศูนย์บริการร่วม
      • ความเป็นมาศูนย์บริการประชาชน
      • รางวัลและผลงานเด่น
      • ติดต่อศูนย์บริการร่วม
      • สาระน่ารู้
  • แนะนำหน่วยงาน
    • ความเป็นมา
    • Vision and Mission
    • นโยบาย/ยุทธศาสตร์กระทรวง
    • โครงสร้างภารกิจกระทรวง
    • ผู้บริหารกระทรวง
    • การแบ่งส่วนราชการ
    • ลิงก์หน่วยงาน
    • กฏหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
    • เกี่ยวกับซีไอโอ
  • ทุนกระทรวง
    • ทุนกระทรวงทั้งหมด
    • ทุนพัฒนาอาจารย์
    • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
    • ทุนวิจัย
  • ภาพข่าวและกิจกรรม
    • ภาพข่าวและกิจกรรม
    • ข่าวผู้บริหาร
    • ข่าวสารหน่วยงาน
  • เมนูอื่นๆ
    • Thai University Consortium
    • ห้องสมุด อว.
    • Search
    • คำถามที่พบบ่อย
    • แบบฟอร์มร้องเรียน
    • Contact
    • Sitemap
    • สถิติการเข้าชมเว็บไซต์
    • เข้าสู่ระบบ/ออกจากระบบ

map แผนที่และการเดินทาง

faqคำถามที่พบบ่อย

faqเสนอแนะ/ร้องเรียน

faqแผนผังเว็บไซต์

กระทรวง อว.

แอปพลิเคชั่นทั้งหมดของกระทรวง

ios app andriod app 

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป

© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.

WCAG 2.0 (Level AAA)

ติดตามเราได้ที่   facebook twitter youtube This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.