GISTDA เผยภาพแม่น้ำโขงที่เกิดการเปลี่ยนแปลงจนเห็นพื้นผิวของน้ำเป็นสีครามจากดาวเทียม Sentinel-2 เปรียบเทียบกัน 2 ช่วงเวลา คือเมื่อวันที่ 3 มกราคม 2564 และวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2564 พบว่าสีน้ำในลำน้ำโขงมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน โดยการเกิดน้ำโขงสีครามเป็นตัวบ่งชี้ถึงวิกฤติน้ำโขงที่ระดับพื้นผิวน้ำลดลงอย่างมากในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา ทำให้สามารถสังเกตเห็นตะกอนในลำน้ำได้ชัดขึ้น และจะเห็นได้ว่าริมตลิ่งของพื้นที่ทั้งสองฝั่งแนวลำน้ำสามารถมองเห็นสันดอนทรายหรือเกาะกลางแม่น้ำในลำน้ำโขงได้อย่างชัดเจน จากสถานการณ์นี้อาจส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ รวมถึงผลผลิตทางการเกษตรไม่ว่าจะเป็น ข้าว, ยางพารา, ยาสูบ, มะเขือเทศ ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือโดยเฉพาะจังหวัดที่อยู่ติดกับแม่น้ำโขง อาทิ นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.