กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) หรือ ทีเซลส์ (TCELS) จัดงานสัมมนาออนไลน์ การรับฟัง “คำชี้แจงการประกาศรับข้อเสนอโครงการด้านการแพทย์และสุขภาพ” ประจำปีงบประมาณ 2566 เมื่อวันอังคารที่ 12 กรกฎาคม 2565 เวลา 10.00 - 12.00 น. โดยผ่านระบบ Microsoft Teams และ Live ผ่านทางเฟซบุ๊กแฟนเพจ TCELS THAILAND
ดร.ชัยรัตน์ อุทัยพิบูลย์ รองผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ กล่าวว่า “ศลช. หรือ ทีเซลส์ (TCELS) เป็นหน่วยงานภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มีบทบาทหน้าที่ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์และสุขภาพ เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจของประเทศ ตามวิสัยทัศน์องค์กรที่ร่วมผลักดัน "อุตสาหกรรมชีววิทยาศาสตร์เป็นหนึ่งในสิบอุตสาหกรรมหลัก ที่สามารถเข้าถึงได้อย่างเท่าเทียม" โดยส่งเสริมงานวิจัยที่สามารถสร้างธุรกิจอุตสาหกรรมการแพทย์และสุขภาพภายในประเทศให้มีความเข้มแข็ง และมีผู้ประกอบการที่มีความเข้าใจทักษะในการจัดการเทคโนโลยีแผนใหม่ รวมทั้งการขยายฐานการลงทุนและความร่วมมือกับต่างประเทศ เพื่อรองรับการขยายตัวของธุรกิจและการวิจัยพัฒนาที่รวดเร็ว โดย ทีเซลส์ (TCELS) มีบทบาทและหน้าที่หลักดังนี้
1. เร่งรัดขับเคลื่อนนวัตกรรม (A : Accelerating Innovations) ในระดับความพร้อมทางเทคโนโลยีระดับ TRL 7-9
2. พัฒนาระบบนิเวศที่เอื้ออำนวย (B : Building Conducive Ecosystems) ในระดับ TRL 5-9 เพื่อส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชีววิทยาศาสตร์
3. กระตุ้นและเชื่อมโยงเครือข่ายพันธมิตร (C : Catalyzing and Connecting Partners) ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อผลักดันการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชีววิทยาศาสตร์ ให้การสนับสนุนพัฒนางานวิจัย
ทีเซลส์ (TCELS) ได้จัดทำการประกาศรับข้อเสนอโครงการด้านการแพทย์และสุขภาพ ประจำปีงบประมาณ 2566 เพื่อเป็นกรอบการดำเนินงาน และกำหนดขอบแขตแผนงานที่สนับสนุนและส่งเสริมโครงการด้านการแพทย์และสุขภาพในช่วงปลายน้ำ เพื่อผลักดันผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปสู่การใช้ประโยชน์และการผลิตให้เกิดเป็นธุรกิจได้จริง รวมถึงบรรลุผลสัมฤทธิ์ตามวัตถุประสงค์ภายใต้กรอบนโยบายและยุทธศาสตร์ด้านการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม พ.ศ.2566-2570 เพื่อพลิกโฉมประเทศให้ยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจและการพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน และปรับตัวได้ทันต่อพลวัตการเปลี่ยนแปลงของโลกโดยใช้วิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม”
เปิดเวทีสัมมนาด้วยการกล่าวถึง บทบาทการเป็น PMU ด้านการแพทย์และสุขภาพของ ศลช. หรือ ทีเซลส์ (TCELS) โดยมีรายละเอียดประเด็นของการเปิดรับข้อเสนอโครงการด้านการแพทย์และสุขภาพ, กระบวนการสนับสนุนทุนและรูปแบบข้อเสนอโครงการ, รายละเอียดและข้อกำหนดในการการสนับสนุนทุนและเกณฑ์การพิจารณาข้อเสนอโครงการ โดย ดร.ชัยรัตน์ อุทัยพิบูลย์ รองผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์
จากนั้น คุณทวีพร เกตุอร่าม ผู้อำนวยการโปรแกรมบริหารเภสัชภัณฑ์และเซลล์บำบัด ได้บรรยายประเด็นหัวข้อ ขอบเขตข้อเสนอโครงการที่สนับสนุนในด้าน ATMP และชีววัตถุที่เกี่ยวข้อง และขอบเขตข้อเสนอโครงการที่สนับสนุนในด้านการแพทย์จีโนมิกส์และการแพทย์แม่นยำ ต่อด้วยหัวข้อ ขอบเขตข้อเสนอโครงการที่สนับสนุนในด้านวัสดุอุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ โดย คุณรัตนา วรปัสสุ ผู้อำนวยการโปรแกรมบริหารและพัฒนาเทคโนโลยีเครื่องมือแพทย์และหุ่นยนต์ทางการแพทย์ขั้นสูง, ขอบเขตข้อเสนอโครงการที่สนับสนุนในด้านการพัฒนาและผลิตยาสารสกัดจากสมุนไพร โดย ดร.พัชราภรณ์ วงษา ผู้อำนวยการโปรแกรมบริหารโภชนเภสัชภัณฑ์และเวชสำอาง ปิดท้ายหัวข้อ ขอบเขตข้อเสนอโครงการที่สนับสนุนในด้านการยกระดับความมั่นคงทางสุขภาพของประเทศให้พร้อมรับโรคระบาดระดับชาติและโรคอุบัติใหม่ โดย ดร.ชรีย์พร ภูมา ผู้อำนวยการฝ่ายการใช้ประโยชน์นวัตกรรมเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
หลังจบการสัมมนาได้เปิดเวทีให้กับผู้เข้าร่วมรับฟัง สามารถสอบถามข้อมูลรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากการเข้าร่วมรับฟัง“คำชี้แจงการประกาศรับข้อเสนอโครงการด้านการแพทย์และสุขภาพ” ประจำปีงบประมาณ 2566 ซึ่งได้รับความสนใจอย่างล้นหลามมีคำถามฝากไว้ทั้งหน้าไมค์และหลังไมค์
เพียงเล็กน้อย) โดยนำผลประเมินที่ได้รับ ไปใช้ประโยชน์ต่อการจัดงานในครั้งต่อไป ขอขอบคุณทุกท่าน
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.