วันที่ 23 พฤษภาคม 2566 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย วช. ได้ให้ทุนสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรม ทุนส่งเสริมกลุ่มวิจัยศักยภาพสูง ประจำปี 2566 ร่วมกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) แก่โครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “นวัตกรรมทางสังคมเพื่อสร้างชุมชนเข้มแข็ง พื้นฐานของประชาธิปไตยอัตลักษณ์ไทย” ที่มี ศาสตราจารย์ ดร.บรรเจิด สิงคะเนติ แห่ง สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เป็นหัวหน้าโครงการวิจัย พร้อมด้วยคณะทีมนักวิจัย และตัวแทนสภาองค์กรชุมชน โดย ศาสตราจารย์ ดร.ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์ อธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เป็นประธานในพิธีกล่าวเปิดการสัมมนา เพื่อชี้แจงรายละเอียดวัตถุประสงค์ของการจัดทำโครงการต่อองค์กรชุมชนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้น ณ ห้องประชุมอินทรภูวศักดิ์ ชั้น 8 อาคารนราธิปพงศ์ประพันธ์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
ศาสตราจารย์ ดร.ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์ อธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ กล่าวว่า โครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “นวัตกรรมทางสังคมเพื่อสร้างชุมชนเข้มแข็ง พื้นฐานของประชาธิปไตยอัตลักษณ์ไทย” ซึ่งจะเห็นได้ว่าในปัจจุบันแม้ว่าเทคโนโลยีดิจิทัลจะเข้ามามีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต โดยกำลังก้าวผ่านจาก “New Normal” ไปสู่ “Next Normal” ปรับเปลี่ยนเศรษฐกิจและสังคมไทยสู่ระบบเศรษฐกิจดิจิทัล แต่ปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคมไทยกลับทวีความรุนแรง จึงเป็นเหตุของการทำโครงการวิจัย เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนเครือข่ายภาคประชาสังคม ร่วมกับภาครัฐและภาคเอกชน ตลอดจนเครือข่ายวิชาการที่เกี่ยวข้อง พัฒนาสู่การสร้างประชาธิปไตยอัตลักษณ์ไทยอันจะเป็นรากฐานของประชาธิปไตยในสังคมไทยอย่างแท้จริง ที่มีความมั่นคง และยั่งยืนในอนาคต วัตถุประสงค์ของการจัดสัมมนา สามารถสร้างแม่แบบในการพัฒนาชุมชน และสามารถผลักดันให้เกิดการจัดทำและรับรองแผนพัฒนาจังหวัดที่มาจากการเสนอของเครือข่ายภาคประชาสังคมต่อไป
ศาสตราจารย์ ดร.บรรเจิด สิงคะเนติ แห่ง สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หัวหน้าโครงการวิจัย กล่าวว่า โครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการ “นวัตกรรมทางสังคมเพื่อสร้างชุมชนเข้มแข็งพื้นฐานของประชาธิปไตย อัตลักษณ์ไทย” เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนของเครือข่ายภาคประชาสังคมระดับตำบลและจังหวัดร่วมกับภาครัฐและภาคเอกชน ตลอดจนเครือข่ายวิชาการที่เกี่ยวข้องอันจะนำไปสู่แนวทางในการพัฒนาชุมชนเข้มแข็งในสังคมไทย การสร้างชุมชนในระดับตำบลและระดับจังหวัดให้มีความเข้มแข็ง เป็นการพัฒนาพื้นที่ส่วนกลางให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีบทบาทในการกำหนดความเป็นไปของชุมชน หรือ พื้นที่ เพื่อเป็นกลไกหรือเป็นเวทีในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ของพื้นที่ในระดับต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาการจัดการ งบประมาณแผ่นดิน ไม่ว่าจะเป็นงบประมาณของจังหวัด หรือ งบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งงบประมาณของหน่วยต่าง ๆ ที่มุ่งตอบสนองในระดับพื้นที่ เช่น งบประมาณของ สปสช. ในการส่งเสริมสุขภาพและป้องกัน เป็นต้น โดยโครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการ “นวัตกรรมทางสังคมเพื่อสร้างชุมชนเข้มแข็งพื้นฐานของประชาธิปไตยอัตลักษณ์ไทย” เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนของเครือข่ายภาคประชาสังคม ระดับตำบลและจังหวัด ร่วมกับภาครัฐและภาคเอกชน ตลอดจนเครือข่ายวิชาการที่เกี่ยวข้อง ผ่านการดำเนินกิจกรรมกลุ่มแบบเน้นการมีส่วนร่วมในการร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ถอดบทเรียน ประสานงาน และบูรณาการการดำเนินงานจัดทำแผนการพัฒนาพื้นที่และเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของสมาชิกในการพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็งและยั่งยืน โดยการขับเคลื่อนผ่านพื้นที่กลางระดับตำบล ระดับจังหวัด และระดับชาติ เพื่ออาศัยความเข้มแข็งของชุมชน ในพื้นที่ระดับต่าง ๆ พัฒนามาสู่การสร้างประชาธิปไตยอัตลักษณ์ไทยอันจะเป็นรากฐานของประชาธิปไตยในสังคมไทยอย่างแท้จริง โดยเป็นประชาธิปไตยที่ความมั่นคงและยั่งยืนต่อไป
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.