โครงการส่งเสริมการจัดสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน
(Cooperative and Work Integrated Education หรือ CWIE)
อว. ตระหนักถึงความสำคัญของการผลิตบัณฑิตให้มีสมรรถนะพร้อมสู่โลกแห่งการทำงานจริง และตรงกับความต้องการของตลาดงานในแต่ละยุคสมัย ภายใต้แนวคิดของการเชื่อมโยงโลกของการศึกษากับการประกอบอาชีพ ให้นักศึกษาเรียนในมหาวิทยาลัยควบคู่กับการไปปฏิบัติงานจริง ในสถานประกอบการในลักษณะร่วมผลิต เพื่อให้นักศึกษาเรียนรู้โดยใช้ประสบการณ์จากการทำงานจริงเป็นหลัก โดยการสนับสนุนให้สถาบันอุดมศึกษา จัดสหกิจศึกษา หรือ Cooperative Education มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 ด้วยความหลากหลายของศาสตร์และบริบทของการทำงานแต่ละอาชีพที่ไม่เหมือนกัน จึงเกิดรูปแบบการจัดการศึกษาในแนวคิดเดียวกันในหลายรูปแบบและมีชื่อเรียกแตกต่างกัน
ดังนั้น เพื่อให้เกิดความเป็นเอกภาพเชิงนโยบาย การพัฒนามาตรฐาน และการส่งเสริมสนับสนุน ตามพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. 2562 คณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) ในการประชุมเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2562 ได้เห็นชอบแนวทางการส่งเสริมการจัดสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน ภายใต้แพลตฟอร์มการจัดสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน หรือ Cooperative and Work Integrated Education เรียกสั้นๆ ว่า “CWIE” ซึ่งต่อมาได้บรรจุให้สถาบันอุดมศึกษาจัดการศึกษาดังกล่าวไว้ในแผนด้านการอุดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศ พ.ศ. 2564 - 2570 รวมทั้งแผนปฏิรูปการศึกษาฉบับล่าสุดด้วย
สหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน (Cooperative and Work Integrated Education หรือ CWIE) เป็นแนวคิดของการจัดการศึกษาเชิงประสบการณ์ (Experiential Education) บนฐาน สมรรถนะ (Competencies-based) ให้นักศึกษาได้เรียนในสถาบันอุดมศึกษาควบคู่กับการไปปฏิบัติงานจริง
ในสถานประกอบการ (Workplace) เพื่อให้นักศึกษามีสมรรถนะพร้อมสู่โลกแห่งการทำงานจริงได้ทันทีหลังสำเร็จ การศึกษา (Ready to Work) โดยความร่วมมือระหว่างสถาบันอุดมศึกษาฝ่ายผลิตและสถานประกอบการฝ่ายผู้ใช้บัณฑิต (University-workplace Engagement)
การพัฒนา CWIE Platform หรือ Manpower Demand Driven Education Platform for Employability and Career Development through Cooperative and Work Integrated Education (CWIE) : University - Workplace Engagement ถือเป็นหัวใจของการขับเคลื่อน CWIE ตามเป้าหมายที่กำหนด 4 ประการ คือ 1) ส่งเสริมผลิตกำลังคนในสาขาวิชาและสมรรถนะที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดงานและการพัฒนาประเทศ (Manpower Demand Driven) 2) ตอบสนองนโยบายและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนากำลังคนของประเทศ 3) ยกระดับคุณภาพมาตรฐานการจัด CWIE และ 4) สร้างการมีงานทำและการพัฒนา
เส้นทางอาชีพให้นักศึกษา CWIE Platform ริเริ่มจากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมและได้รับความเห็นชอบร่วมกันจากจตุภาคี อันประกอบด้วยสถาบันอุดมศึกษา หน่วยงานภาครัฐ/ภาคเอกชน ภาคอุตสาหกรรม และชุมชนท้องถิ่น ซึ่งมีกระบวนการสำคัญ 5 กระบวนการ ได้แก่ 1) Information 2) Matching 3) Co-designing and Implementation 4) Assessment and development และ 5) Outreach Activities
1. University-Workplace Engagement เป็นความร่วมมือร่วมกันของสถาบันอุดมศึกษา กับสถานประกอบการในการผลิตบัณฑิตให้มีสมรรถนะพร้อมสู่โลกแห่งการทำงาน สอดคล้องกับความต้องการของตลาดงานในปัจจุบันและอนาคต
2. Co-design Curriculum เป็นการร่วมออกแบบหลักสูตรที่เน้นสมรรถนะของผู้เรียนที่เชื่อมโยงโลก ของการศึกษากับโลกของการประกอบอาชีพ โดยการสร้างความสมดุลระหว่างวิชาการ วิชาชีพและวิชาชีวิต
3. Competency-based Education เป็นการจัดการเรียนการสอนที่มุ่งสร้างสมรรถนะ ฝึกแก้ปัญหา มีการวัดผลและประเมินระดับสมรรถนะที่เป็นระบบ
4. Experiential-based Learning ต้องมีการปฏิบัติงานจริงและประเมินการปฏิบัติงานจริงและมีกระบวนการสร้างการเรียนรู้ในสถานประกอบการ
1. แบบแยก (Separate) เป็นการเรียนภาคทฤษฎีที่สถาบันอุดมศึกษาจนครบตามกำหนด หลังจากนั้น จึงไปปฏิบัติงานในสถานประกอบการตามระยะเวลาที่กำหนด เช่น สหกิจศึกษา เป็นต้น
2. แบบคู่ขนาน (Parallel) เป็นการเรียนในสถาบันอุดมศึกษาสลับกับการไปปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบการตลอดระยะเวลาการเรียนในหลักสูตรนั้นๆ
3. แบบผสม (Mix) เป็นการเรียนภาคทฤษฎีในสถาบันอุดมศึกษาส่วนหนึ่ง และการเรียน ภาคทฤษฎีพร้อมการปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบการอีกส่วนหนึ่ง เช่น การจัดการเรียนรู้โดยใช้การทำงานเป็นฐาน กรณีศึกษาเกาะสมุยโมเดล (Samui Model) ของสาขาวิชาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นต้น ทั้งนี้ การจัดหลักสูตร CWIE ทั้ง 3 รูปแบบต้องเป็นความร่วมมือจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนานักศึกษา ระหว่างสถาบันอุดมศึกษากับสถานประกอบการ
1) ได้ผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพตรงตามความต้องการของตลาดงาน โดยเชื่อมโยงการประยุกต์ใช้ ความรู้สู่การปฏิบัติ การพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้สู่การสร้างนวัตกรรมและองค์ความรู้ใหม่ ทำให้บัณฑิตมี สมรรถนะและคุณลักษณะที่พร้อมในการปฏิบัติงาน (Employability)
2) เป็นกระบวนการหนึ่งในการพัฒนาอาจารย์ โดยอาจารย์สามารถนำประสบการณที่ได้รับจากการไปนิเทศงานหรือทำงานกับภาคอุตสาหกรรมมาพัฒนาหลักสูตร หรือพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น รวมทั้งเกิดความร่วมมือทางวิชาการระหว่างสถาบันอุดมศึกษาและสถานประกอบการเพื่อร่วมกันพัฒนา หรือต่อยอดภารกิจด้านการวิจัยและบริการวิชาการ
1) ได้แรงงานที่มีสมรรถนะสอดคล้องกับความต้องการ
2) ได้ความรู้แนวคิด และเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆ จำกสถาบันอุดมศึกษา
3) ลดภาระค่าใช้จ่ายในการคัดเลือกและฝึกอบรมพนักงานใหม่ และอาจเกิดการจ้างงานทันที
1) ได้พัฒนาทักษะต่างๆ อย่างรอบด้าน ทั้งทักษะทำงวิชาชีพ (Hard skill) และทักษะในการอยู่ร่วม กับผู้อื่น (Soft skill) เป็นการเพิ่มศักยภาพ สมรรถนะ ที่พร้อมสู่โลกแห่งการทำงานจริง
2) มีโอกาสได้งานทำก่อนจบภาคการศึกษา
การเพิ่มจำนวนนักศึกษาที่เข้าร่วมหลักสูตร CWIE เป็น 2 เท่า ภายในระยะเวลา 5 ปีในลักษณะ Milestone ดังนี้
1) ปีที่ 1 เพิ่มร้อยละ 10
2) ปีที่ 2 เพิ่มร้อยละ 20
3) ปีที่ 3 เพิ่มร้อยละ 50
4) ปีที่ 4 เพิ่มร้อยละ 75
5) ปีที่ 5 เพิ่มร้อยละ 100
นักศึกษาที่เข้าร่วมหลักสูตร CWIE มีสมรรถนะและคุณลักษณะทักษะที่พร้อมในการปฏิบัติงาน (Employability) และมีทักษะ (Skills) ที่ตรงตามความต้องการของสถานประกอบการและตลาดงาน มีการพัฒนาอาชีพอย่างต่อเนื่อง และมีความก้าวหน้าในวิชาชีพ รวมทั้งมีศักยภาพที่พร้อมเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneurship) ที่สามารถทำงานได้ทั่วโลก (Global Mobility)
กลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษาตลอดชีวิตและเทียบคุณวุฒิ 2 (สท.2)
กองยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา (กคอ.)
สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.),
โทร : 02 039 5607 - 5609
อีเมล : cwie.mhesi@gmail.com
เว็บไซต์ : https://cwie.mhesi.go.th/
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.