กระทรวง อว.

search

navmobiletoggle
  • แนะนำหน่วยงาน
    • ความเป็นมา
    • วิสัยทัศน์ พันธกิจ
    • นโยบาย/ยุทธศาสตร์กระทรวง
    • เครื่องหมายราชการ และ ตราสัญลักษณ์กระทรวง
    • โครงสร้างภารกิจกระทรวง
    • ผู้บริหารกระทรวง
    • การแบ่งส่วนราชการ
    • ลิงก์หน่วยงาน
    • ​กฎหมาย/กฎเกณฑ์
    • เกี่ยวกับซีไอโอ
  • โครงการกระทรวง
  • ทุนกระทรวง
    • ทุนกระทรวงทั้งหมด
    • ทุนพัฒนาอาจารย์
    • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
    • ทุนวิจัย
  • บริการ
    • บริการทั้งหมด
    • สถาบันอุดมศึกษา
    • นิสิต/นักศึกษา
    • อาจารย์
    • นักวิทยาศาสตร์/นักวิจัย
    • ผู้ประกอบการ
    • ภาครัฐ
  • ข่าวและประกาศ
    • ประมวลภาพกิจกรรม "น้อมรำลึก ในหลวง ร.9"
    • ภาพข่าวและกิจกรรม
      • ข่าวรัฐมนตรี
      • ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
      • ข่าวสารหน่วยงาน
    • ข่าวสารและประกาศ
      • ข่าวประกาศ
      • ประกาศงานบุคลากร
      • ข่าวประชุม อบรม สัมนา
      • ข่าวสารน่าสนใจ [พรบ.ข่าวสาร]
  • คลังข้อมูล
    • เอกสารเผยแพร่กระทรวง
    • เอกสารเผยแพร่จากภายนอก
    • e-Book เพราะเธอเป็นลมหายใจ
    • e-Book S&T Series
    • อินโฟกราฟิก
    • วีดิทัศน์
    • โมไบล์แอปพลิเคชัน
  • ศูนย์บริการร่วม
--
+
A
กระทรวง อว.
  • แนะนำหน่วยงาน
    • ความเป็นมา
    • วิสัยทัศน์ พันธกิจ
    • นโยบาย/ยุทธศาสตร์กระทรวง
    • เครื่องหมายราชการ และ ตราสัญลักษณ์กระทรวง
    • โครงสร้างภารกิจกระทรวง
    • ผู้บริหารกระทรวง
    • การแบ่งส่วนราชการ
    • ลิงก์หน่วยงาน
    • ​กฎหมาย/กฎเกณฑ์
    • เกี่ยวกับซีไอโอ
  • โครงการกระทรวง
  • ทุนกระทรวง
    • ทุนกระทรวงทั้งหมด
    • ทุนพัฒนาอาจารย์
    • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
    • ทุนวิจัย
  • บริการ
    • บริการทั้งหมด
    • สถาบันอุดมศึกษา
    • นิสิต/นักศึกษา
    • อาจารย์
    • นักวิทยาศาสตร์/นักวิจัย
    • ผู้ประกอบการ
    • ภาครัฐ
  • ข่าวและประกาศ
    • ประมวลภาพกิจกรรม "น้อมรำลึก ในหลวง ร.9"
    • ภาพข่าวและกิจกรรม
      • ข่าวรัฐมนตรี
      • ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
      • ข่าวสารหน่วยงาน
    • ข่าวสารและประกาศ
      • ข่าวประกาศ
      • ประกาศงานบุคลากร
      • ข่าวประชุม อบรม สัมนา
      • ข่าวสารน่าสนใจ [พรบ.ข่าวสาร]
  • คลังข้อมูล
    • เอกสารเผยแพร่กระทรวง
    • เอกสารเผยแพร่จากภายนอก
    • e-Book เพราะเธอเป็นลมหายใจ
    • e-Book S&T Series
    • อินโฟกราฟิก
    • วีดิทัศน์
    • โมไบล์แอปพลิเคชัน
  • ศูนย์บริการร่วม

extenmenu

เมนู
  • Thai University Consortium
  • ห้องสมุด อว.
  • ค้นหา
  • คำถามที่พบบ่อย
  • แบบฟอร์มร้องเรียน
  • ติดต่อกระทรวง
  • แผนผังเว็บไซต์
  • สถิติการเข้าชมเว็บไซต์
  • เข้าสู่ระบบ/ออกจากระบบ
Rectangle 150
  • หน้าแรก
  • ภาพข่าวและกิจกรรม
  • ข่าวรัฐมนตรี ศุภมาส

ครั้งแรกของโลก! “ศุภชัย ใจสมุทร” ผู้ช่วย รมว.อว. แถลงค้นพบ “สารชีวโมเลกุลใหม่ HeLP (Hevea Latex Polysaccharide) จากเซรั่มน้ำยางพารา” นวัตกรรมปรับสมดุลระดับเซลล์ มีฤทธิ์ต้านมะเร็ง ต้านการอักเสบ ลดแผลใน ...

  • Facebook
  • Twitter
  • Line
14 พ.ค. 2568

LINE ALBUM 140568 250514 21

ครั้งแรกของโลก! “ศุภชัย ใจสมุทร” ผู้ช่วย รมว.อว. แถลงค้นพบ “สารชีวโมเลกุลใหม่ HeLP (Hevea Latex Polysaccharide) จากเซรั่มน้ำยางพารา” นวัตกรรมปรับสมดุลระดับเซลล์ มีฤทธิ์ต้านมะเร็ง ต้านการอักเสบ ลดแผลในกระเพาะอาหารผลงานทีมวิจัยคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ชี้เป็นการสร้างโอกาสให้กับประเทศไทยสู่อุตสาหกรรมเคมีชีวภาพ

       เมื่อวันที่ 14 พ.ค. นายศุภชัย ใจสมุทร ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานการแถลงข่าวการค้นพบ “สารชีวโมเลกุลใหม่ HeLP (Hevea Latex Polysaccharide) จากเซรั่มน้ำยางพารา” ซึ่งเป็นผลพลอยได้ (by-product) ที่ถูกทิ้งในปริมาณมหาศาลหลายล้านลิตรต่อปีจากอุตสาหกรรมผลิตยางแผ่น/ยางแท่ง โดยมี รศ.นพ.สุนทร วงษ์ศิริ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รศ.ดร.เภสัชกร ฐณะวัฒน์ พิทักษ์พรปรีชา ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพจากน้ำยางพาราสู่เชิงพาณิชย์ (CERB) คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์และทีมวิจัย และ ดร.นำโชค โสมาภา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อินโนซุส จำกัด ร่วมแถลง

LINE ALBUM 140568 250514 27

       นายศุภชัย กล่าวว่า การค้นพบ “สารชีวโมเลกุลใหม่ HeLP (Hevea Latex Polysaccharide) จากเซรั่มน้ำยางพารา” นวัตกรรมปรับสมดุลระดับเซลล์ โดยทีมวิจัยจากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ถือเป็นการค้นพบครั้งสำคัญของประเทศไทย ที่ไม่เพียงแต่ค้นพบสารใหม่เท่านั้น แต่ยังสามารถพัฒนากระบวนการสกัดในระดับอุตสาหกรรมได้สำเร็จเป็นรายแรกของโลกอีกด้วย ซึ่งการค้นพบครั้งนี้ จะเป็นเป็นการสร้างโอกาสของประเทศไทยในการพัฒนาอุตสาหกรรมไบโอรีไฟเนอรี(Biorefinery) หรืออุตสาหกรรมเคมีชีวภาพ ซึ่งจะมีบทบาทมากขึ้นในอนาคต เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมที่ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับวัตถุดิบทางการเกษตรและทรัพยากรชีวภาพ สร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจ ส่งเสริมการกระจายรายได้อย่างทั่วถึง(Inclusive economy) สนับสนุนเศรษฐกิจตามแนวทาง BCG Economy ที่ประกอบด้วยเศรษฐกิจชีวภาพ (Bioeconomy) เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) เนื่องจากเป็นการพัฒนาภาคเกษตรที่มีประสิทธิภาพ ให้ความสำคัญกับการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติอย่างรู้คุณค่า(Regenerative economy) สร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่เซรั่มน้ำยางพาราซึ่งเป็นผลพลอยได้เหลือทิ้งในกระบวนการผลิตไปพัฒนาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals - SDGs)

       ผู้ช่วย รมว.อว. กล่าวต่อว่า ปัจจุบันทีมวิจัยได้จดสิทธิบัตรทั้งในไทยและต่างประเทศแล้ว และอยู่ในระหว่างการขึ้นทะเบียน HeLP เป็นอาหารใหม่ (novel food) ผ่านสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ซึ่งคาดว่าจะได้รับการอนุมัติภายในกลางปีนี้ รวมถึงอยู่ในระหว่างการสร้างโรงงาน Biorefinery เซรั่มน้ำยางพารามาตรฐาน GMP แห่งแรกของโลกในนิคมอุตสาหกรรมภาคใต้ โดยบริษัท อินโนซุส จำกัด โดยโรงงานดังกล่าวมีความสามารถในการสกัดเซรั่มน้ำยางพาราได้วันละประมาณ 20,000 ลิตร ซึ่งจะผลิต HeLP ได้ประมาณเดือนละ 5,000 กิโลกรัม รวมถึงยังสามารถผลิต functional ingredients อื่น ๆ ซึ่งมีศักยภาพพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมเวชสำอาง อาหารฟังก์ชั่น ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร นวัตกรรมชีวภาพ และอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้อีกด้วย

LINE ALBUM 140568 250514 16

       ด้าน รศ.ดร.เภสัชกร ฐณะวัฒน์ พิทักษ์พรปรีชา ผอ.CERB กล่าวว่า ต้นยางพารามีลักษณะพิเศษมากกว่าพืชชนิดอื่น ๆ ในโลกนี้คือ เป็นพืชเพียงชนิดเดียวที่ถูกกระตุ้นด้วยการกรีดทำให้เกิดบาดแผลในทุกวัน ซึ่งปัจจัยตรงนี้จะกระตุ้นให้ต้นยางพารามีการสร้างสารต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นสารที่ช่วยในการสมานแผลตนเองหรือการป้องกันเชื้อโรคต่าง ๆ ที่จะเข้าสู่บาดแผลของต้น และเราทราบว่าสารพิเศษเหล่านี้อยู่ในเซรั่มน้ำยางพารานอกเหนือจากตัวที่เป็นเนื้อยาง นี่เป็นที่มาที่ทำให้เราได้สกัดสารที่เกิดจากเซรั่มน้ำยางพาราและค้นพบสารที่มีชื่อว่า HeLP (Hevea Latex Polysaccharide) ซึ่งเป็นสารที่ค้นพบเป็นครั้งแรกของโลก

       จากการวิจัยต่อยอดเราสามารถพัฒนากระบวนการดังกล่าว จากเดิมที่เราสามารถสกัดในห้องแลปได้ แต่สิ่งสำคัญคือ จะทำอย่างไรให้ต่อยอดสู่อุตสาหกรรมได้ เราจึงมีการพัฒนาในระดับอุตสาหกรรมโดยสามารถจดสิทธิบัตรระดับนานาชาติได้ และนอกเหนือจากการพัฒนาเทคโนโลยีในการสกัดสารดังกล่าว เรายังมีการวิจัยถึงฤทธิ์ทางชีวภาพเพื่อวิจัยว่าจะสามารถนำไปใช้ประโยชน์อย่างไร จึงเป็นที่มาของการศึกษาเพิ่มเติมและก็ได้พบว่า สารดังกล่าวมีความสามารถในการต้านมะเร็งทั้งในระดับเซลล์และสัตว์ทดลอง และมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ นอกจากนี้ ยังพบว่ามีคุณสมบัติเป็นพรีไบโอติกที่ช่วยลดแผลในกระเพาะอาหารที่เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ได้ด้วย นี่เป็นตัวอย่างของการศึกษาวิจัยเบื้องต้นที่เราค้นพบว่าสารดังกล่าวมีสรรพคุณหรือประโยชน์อย่างไรที่จะนำไปใช้ต่อในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ทั้งในเรื่องของผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เครื่องสำอาง เวชสำอาง ซึ่งพบว่าสารดังกล่าวมีสรรพคุณในการกระตุ้น การค้นพบนี้ถือว่าเป็นการพลิกสรรพคุณของต้นยางพาราได้แบบคนละขั้ว จากที่เราคิดว่าสามารถใช้ประโยชน์จากเนื้อยางพาราในอุตสาหกรรมหนังหรือยางรถยนต์ แต่ว่าการค้นพบตรงนี้ทำให้ภาพที่เรามองต้นยางพาราเป็นภาพของต้นยางพาราที่มีลักษณะคล้ายสมุนไพรเป็น Bio facturing ที่ผลิตสารต่าง ๆ ที่มีประโยชน์มากมาย

LINE ALBUM 140568 250514 19

       รศ.ดร.เภสัชกร ฐณะวัฒน์ กล่าวต่อว่า CERB ได้ดำเนินการศึกษาวิจัยและพัฒนานวัตกรรมจากเซรั่มน้ำยางพารามาอย่างต่อเนื่องกว่า 20 ปี โดยได้รับสนับสนุนงบประมาณกว่า 200 ล้านบาทจากทั้งภาครัฐและเอกชน ผ่านหน่วยงานให้ทุนต่าง ๆ ภายใต้กระทรวง อว. เช่น ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) รวมถึง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และ บริษัท อินโนซุส จำกัด ที่สำคัญการค้นพบครั้งนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของแผนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ที่มุ่งพัฒนาอุตสาหกรรมยางพาราครบวงจร ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ โดยมุ่งเน้นการผลักดันงานวิจัยสู่การใช้ประโยชน์ก่อให้เกิดผลงานนวัตกรรมด้านยางพาราในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการในภาคอุตสาหกรรม อีกทั้งยังสร้างผลกระทบ (impact) ทั้งต่อสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และ สังคม ได้แก่ ลดมลพิษและต้นทุนในการบำบัดเซรั่มจากโรงงานอุตสาหกรรมยางพาราก่อนปล่อยสู่สิ่งแวดล้อม เพิ่มมูลค่าให้กับน้ำยางและส่วนของเซรั่ม ส่งเสริมสหกรณ์กองทุนสวนยางให้มีมาตรฐาน GMP นำไปสู่การสร้างห่วงโซ่อุตสาหกรรมยางพาราใหม่ ที่สร้างความยั่งยืนและมั่นคงให้กับอุตสาหกรรมยางพารา สอดคล้องตามวิสัยทัศน์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ “มหาวิทยาลัยแห่งคุณค่า เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืนระดับแนวหน้าของโลก”

เผยแพร่ข่าว : นางสาวศิริลักษณ์ สิกขะบูรณะ
ถ่ายภาพ : นายสุรกิจ แก้วมรกต

สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
กลุ่มสื่อสารองค์กร
โทรศัพท์ 0 2333 3700
E-mail : pr@mhesi.go.th
Facebook : MHESIThailand
Instagram : mhesithailand
Tiktok : @mhesithailand
X (Twitter) : @MHESIThailand
YouTube : @MHESIThailand
Call Center 1313

ครั้งแรกของโลก! “ศุภชัย ใจสมุทร” ผู้ช่วย รมว.อว. แถลงค้นพบ “ ... พารามิเตอร์รูปภาพ 1   ครั้งแรกของโลก! “ศุภชัย ใจสมุทร” ผู้ช่วย รมว.อว. แถลงค้นพบ “ ... พารามิเตอร์รูปภาพ 2   ครั้งแรกของโลก! “ศุภชัย ใจสมุทร” ผู้ช่วย รมว.อว. แถลงค้นพบ “ ... พารามิเตอร์รูปภาพ 3   ครั้งแรกของโลก! “ศุภชัย ใจสมุทร” ผู้ช่วย รมว.อว. แถลงค้นพบ “ ... พารามิเตอร์รูปภาพ 4   ครั้งแรกของโลก! “ศุภชัย ใจสมุทร” ผู้ช่วย รมว.อว. แถลงค้นพบ “ ... พารามิเตอร์รูปภาพ 5
“ศุภมาส” รมว.อว. ปฏิบัติภารกิจแรกในฐานะรัฐมนตรีโดยการรับองคมนตรีผู้แทนพระองค์ ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร มหาวิทยาลัยราชภัฏเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.สกลนคร “ศุภมาส” นำคณะผู้บริหาร อว. บันทึกเทปถวายพระพร เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี 3 มิถุนายน 2568
  • PM2.5 เช้านี้ 23 จังหวัด ยังมี ...
    ข่าวสารหน่วยงาน
    PM2.5 เช้านี้ 23 จังหวัด ยังมีคุณภาพอากาศสีส้มให้ได้เห็น
    26 ม.ค. 2567
    จุดความร้อนในไทยวานนี้เพิ่มขึ้ ...
    ข่าวสารหน่วยงาน
    จุดความร้อนในไทยวานนี้เพิ่มขึ้น 2,978 จุด น่าน ยังนำโด่งที่ 359 จุด PM2.5 ภาคเหนือยังคงน่าห่วง  
    05 เม.ย. 2566
    “ปส. จับมือนานาชาติ พัฒนาเครือ ...
    ข่าวสารหน่วยงาน
    “ปส. จับมือนานาชาติ พัฒนาเครือข่ายความร่วมมือด้านกำกับดูแลความปลอดภัยทางนิวเคลียร์และรังสีของอาเซียน...
    09 ก.ค. 2564
    ดูทั้งหมด >

เรื่องล่าสุด

ครั้งแรกของโลก! “ศุภชัย ใจสมุท ...
ข่าวรัฐมนตรี ศุภมาส
ครั้งแรกของโลก! “ศุภชัย ใจสมุทร” ผู้ช่วย รมว.อว. แถลงค้นพบ “สารชีวโมเลกุลใหม่ HeLP (Hevea Latex Poly...
14 พ.ค. 2568
“ศุภชัย” ปลัด อว. ประชุม 38 มร ...
ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
“ศุภชัย” ปลัด อว. ประชุม 38 มรภ. เร่งพัฒนาการประกันคุณภาพการศึกษา สร้างคนทักษะสูงตรงความต้องการของผู...
14 พ.ค. 2568
“ศุภชัย” ปลัด อว. มอบประกาศนีย ...
ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
“ศุภชัย” ปลัด อว. มอบประกาศนียบัตรผู้ผ่านการอบรมในหลักสูตรนักบริหารระดับสูงด้านกิจการนักศึกษารุ่นที่...
14 พ.ค. 2568

กระทรวงการ อว.

  • อว.พารับส่วนลด
    • รวมรายการสินค้าและบริการ
    • ท่องเที่ยว
    • อาหาร
    • บริการ
    • ชอปปิง
  • User Menu (Discount)
    • เนื้อหาของฉัน
    • แก้ไขข้อมูลส่วนตัว
    • ออกจากระบบ
  • เมนูหลัก
    • หน้าหลัก
    • แนะนำหน่วยงาน
      • ความเป็นมา
      • วิสัยทัศน์ พันธกิจ
      • นโยบาย/ยุทธศาสตร์กระทรวง
      • เครื่องหมายราชการ และ ตราสัญลักษณ์กระทรวง
      • โครงสร้างภารกิจกระทรวง
      • ผู้บริหารกระทรวง
      • การแบ่งส่วนราชการ
      • ลิงก์หน่วยงาน
      • ​กฎหมาย/กฎเกณฑ์
      • เกี่ยวกับซีไอโอ
    • โครงการกระทรวง
    • ทุนกระทรวง
      • ทุนกระทรวงทั้งหมด
      • ทุนพัฒนาอาจารย์
      • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
      • ทุนวิจัย
    • บริการ
      • บริการทั้งหมด
      • สถาบันอุดมศึกษา
      • นิสิต/นักศึกษา
      • อาจารย์
      • นักวิทยาศาสตร์/นักวิจัย
      • ผู้ประกอบการ
      • ภาครัฐ
    • ข่าวและประกาศ
      • ประมวลภาพกิจกรรม "น้อมรำลึก ในหลวง ร.9"
      • ภาพข่าวและกิจกรรม
        • ข่าวรัฐมนตรี
        • ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
        • ข่าวสารหน่วยงาน
      • ข่าวสารและประกาศ
        • ข่าวประกาศ
        • ประกาศงานบุคลากร
        • ข่าวประชุม อบรม สัมนา
        • ข่าวสารน่าสนใจ [พรบ.ข่าวสาร]
    • คลังข้อมูล
      • เอกสารเผยแพร่กระทรวง
      • เอกสารเผยแพร่จากภายนอก
      • e-Book เพราะเธอเป็นลมหายใจ
      • e-Book S&T Series
      • อินโฟกราฟิก
      • วีดิทัศน์
      • โมไบล์แอปพลิเคชัน
        • สำหรับ iOS
        • สำหรับ Andriod
    • ศูนย์บริการร่วม
      • ความเป็นมาศูนย์บริการประชาชน
      • รางวัลและผลงานเด่น
      • ติดต่อศูนย์บริการร่วม
      • สาระน่ารู้
  • แนะนำหน่วยงาน
    • ความเป็นมา
    • วิสัยทัศน์ พันธกิจ
    • นโยบาย/ยุทธศาสตร์กระทรวง
    • โครงสร้างภารกิจกระทรวง
    • ผู้บริหารกระทรวง
    • การแบ่งส่วนราชการ
    • ลิงก์หน่วยงาน
    • กฏหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
    • เกี่ยวกับซีไอโอ
  • ทุนกระทรวง
    • ทุนกระทรวงทั้งหมด
    • ทุนพัฒนาอาจารย์
    • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
    • ทุนวิจัย
  • ภาพข่าวและกิจกรรม
    • ภาพข่าวและกิจกรรม
    • ข่าวผู้บริหาร
    • ข่าวสารหน่วยงาน
  • เมนูอื่นๆ
    • Thai University Consortium
    • ห้องสมุด อว.
    • ค้นหา
    • คำถามที่พบบ่อย
    • แบบฟอร์มร้องเรียน
    • ติดต่อกระทรวง
    • แผนผังเว็บไซต์
    • สถิติการเข้าชมเว็บไซต์
    • เข้าสู่ระบบ/ออกจากระบบ

map แผนที่และการเดินทาง

faqคำถามที่พบบ่อย

faqเสนอแนะ/ร้องเรียน

faqแผนผังเว็บไซต์

กระทรวง อว.

แอปพลิเคชั่นทั้งหมดของกระทรวง

ios app andriod app 

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป

© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.

WCAG 2.0 (Level AAA)

ติดตามเราได้ที่   facebook twitter youtube This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.