กระทรวง อว.

search

navmobiletoggle
  • แนะนำหน่วยงาน
    • ความเป็นมา
    • วิสัยทัศน์ พันธกิจ
    • นโยบาย/ยุทธศาสตร์กระทรวง
    • เครื่องหมายราชการ และ ตราสัญลักษณ์กระทรวง
    • โครงสร้างภารกิจกระทรวง
    • ผู้บริหารกระทรวง
    • การแบ่งส่วนราชการ
    • ลิงก์หน่วยงาน
    • ​กฎหมาย/กฎเกณฑ์
    • เกี่ยวกับซีไอโอ
  • โครงการกระทรวง
  • ทุนกระทรวง
    • ทุนกระทรวงทั้งหมด
    • ทุนพัฒนาอาจารย์
    • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
    • ทุนวิจัย
  • บริการ
    • บริการทั้งหมด
    • สถาบันอุดมศึกษา
    • นิสิต/นักศึกษา
    • อาจารย์
    • นักวิทยาศาสตร์/นักวิจัย
    • ผู้ประกอบการ
    • ภาครัฐ
  • ข่าวและประกาศ
    • ประมวลภาพกิจกรรม "น้อมรำลึก ในหลวง ร.9"
    • ภาพข่าวและกิจกรรม
      • ข่าวรัฐมนตรี
      • ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
      • ข่าวสารหน่วยงาน
    • ข่าวสารและประกาศ
      • ข่าวประกาศ
      • ประกาศงานบุคลากร
      • ข่าวประชุม อบรม สัมนา
      • ข่าวสารน่าสนใจ [พรบ.ข่าวสาร]
  • คลังข้อมูล
    • เอกสารเผยแพร่กระทรวง
    • เอกสารเผยแพร่จากภายนอก
    • e-Book เพราะเธอเป็นลมหายใจ
    • e-Book S&T Series
    • อินโฟกราฟิก
    • วีดิทัศน์
    • โมไบล์แอปพลิเคชัน
  • ศูนย์บริการร่วม
--
+
A
กระทรวง อว.
  • แนะนำหน่วยงาน
    • ความเป็นมา
    • วิสัยทัศน์ พันธกิจ
    • นโยบาย/ยุทธศาสตร์กระทรวง
    • เครื่องหมายราชการ และ ตราสัญลักษณ์กระทรวง
    • โครงสร้างภารกิจกระทรวง
    • ผู้บริหารกระทรวง
    • การแบ่งส่วนราชการ
    • ลิงก์หน่วยงาน
    • ​กฎหมาย/กฎเกณฑ์
    • เกี่ยวกับซีไอโอ
  • โครงการกระทรวง
  • ทุนกระทรวง
    • ทุนกระทรวงทั้งหมด
    • ทุนพัฒนาอาจารย์
    • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
    • ทุนวิจัย
  • บริการ
    • บริการทั้งหมด
    • สถาบันอุดมศึกษา
    • นิสิต/นักศึกษา
    • อาจารย์
    • นักวิทยาศาสตร์/นักวิจัย
    • ผู้ประกอบการ
    • ภาครัฐ
  • ข่าวและประกาศ
    • ประมวลภาพกิจกรรม "น้อมรำลึก ในหลวง ร.9"
    • ภาพข่าวและกิจกรรม
      • ข่าวรัฐมนตรี
      • ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
      • ข่าวสารหน่วยงาน
    • ข่าวสารและประกาศ
      • ข่าวประกาศ
      • ประกาศงานบุคลากร
      • ข่าวประชุม อบรม สัมนา
      • ข่าวสารน่าสนใจ [พรบ.ข่าวสาร]
  • คลังข้อมูล
    • เอกสารเผยแพร่กระทรวง
    • เอกสารเผยแพร่จากภายนอก
    • e-Book เพราะเธอเป็นลมหายใจ
    • e-Book S&T Series
    • อินโฟกราฟิก
    • วีดิทัศน์
    • โมไบล์แอปพลิเคชัน
  • ศูนย์บริการร่วม

extenmenu

เมนู
  • Thai University Consortium
  • ห้องสมุด อว.
  • ค้นหา
  • คำถามที่พบบ่อย
  • แบบฟอร์มร้องเรียน
  • ติดต่อกระทรวง
  • แผนผังเว็บไซต์
  • สถิติการเข้าชมเว็บไซต์
  • เข้าสู่ระบบ/ออกจากระบบ
Rectangle 150
  • หน้าแรก
  • ภาพข่าวและกิจกรรม

‘อุปกรณ์ตัดสับปะรด’ เครื่องมือช่วยเกษตรกรตัดและเก็บสับปะรดในขั้นตอนเดียว

  • Facebook
  • Twitter
  • Line
10 มี.ค. 2563

1

พอกันที ‘ตัดสับปะรดแล้วได้แผล’

          สับปะรดเป็นหนึ่งในผลไม้ที่นิยมปลูกกันมากในภาคใต้ โดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สุราษฎร์ธานี และกระบี่ ซึ่งที่ผ่านมาเกษตรกรส่วนใหญ่ยังต้องประสบปัญหาขั้นตอนการเก็บเกี่ยวผลผลิต ที่มีต้นทุนการจ้างแรงงานถึง 2 ขั้นตอน เพราะในการเก็บสับปะรด เกษตรกรต้องใช้มีดหรือตะขอพร้าตัดก้านของผลสับปะรด แล้วใช้แรงงานคนนำตะกร้อมาเดินเก็บใส่เข่งยกขึ้นรถอีกทอด ที่สำคัญหลายครั้งเมื่อเกษตรกรเข้าไร่ไปตัดผลสับปะรด มักได้บาดแผลจากการถูกหนามใบสับปะรดตำ ถูกมีดบาด และถูกสัตว์ที่ซ่อนตัวอยู่ในพงทำร้าย ทำให้การหาแรงงานภาคเกษตรในการเก็บสับปะรดค่อนข้างยาก

2

อดิศร มยาเศรษฐ และ ธรรมนูญ รุจิญาติ

          เพื่อแก้ปัญหาภายในท้องถิ่นหรือชุมชน ธรรมนูญ รุจิญาติ และ อดิศร มยาเศรษฐ นักศึกษา ปวส. 2 จากวิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี จึงคิดค้น ‘อุปกรณ์ตัดสับปะรด’ ที่ช่วยให้เกษตรกรทำงานได้อย่างปลอดภัย มีประสิทธิภาพ ลดความเมื่อยล้า รวมทั้งช่วยแก้ปัญหาลดต้นทุน ปัญหาแรงงาน ซึ่งสามารถคว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 จากโครงการประกวดสิ่งประดิษฐ์ ‘Enjoy Science: Young Maker Contest’ ปีที่ 4 จัดโดย บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด ร่วมกับ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) พร้อมทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน

3

          ธรรมนูญ อธิบายถึงเหตุผลในการพัฒนาอุปกรณ์ตัดสับปะรดว่า การทำไร่สับปะรดเป็นหนึ่งในอาชีพที่สร้างรายได้หลักและรายได้เสริมให้แก่คนใต้ แต่เมื่อได้พูดคุยกับเกษตรกรในพื้นที่เรื่องการทำไร่สับปะรด กลับพบว่าเป็นอาชีพที่มีความไม่ปลอดภัยในการทำงานอยู่บ้าง หลายครั้งที่เกษตรกรเข้าไร่ไปตัดผลสับปะรด มักออกมาด้วยอาการบาดเจ็บจากหนามแหลมของใบสับปะรดแทง มีดที่คมมากบาดมือ หรือบางครั้งก็โดนสัตว์ที่ซ่อนตัวอยู่ในพงทำร้าย จากความทุกข์ดังกล่าวเกษตรกรได้ขอให้ช่วยพัฒนาอุปกรณ์ที่จะทำให้การทำงานปลอดภัยมากขึ้นให้ จึงเป็นที่มาของการพัฒนาอุปกรณ์ตัดสับปะรด ที่พัฒนาร่วมกับกลุ่มเป้าหมายผู้ใช้งานจริง

4

          “อุปกรณ์ตัดสับปะรดที่พัฒนาขึ้นนี้เป็นอุปกรณ์แบบ 2 in 1 คือสามารถใช้ตัดและจับผลสับปะรดได้ในเครื่องมือเดียว อุปกรณ์มีลักษณะเป็นแท่งสแตนเลสยาวประมาณ 1 เมตร อุปกรณ์ตัดสับปะรดในไร่ ฝั่งหนึ่งเป็นที่บีบควบคุมการทำงาน อีกฝั่งเป็นกรรไกรตัดและที่หนีบผลสับปะรด มีเชือกสำหรับสะพายพาดอุปกรณ์ไว้บนบ่า อุปกรณ์หนักประมาณ 1.3 กิโลกรัม ผลิตจากสแตนเลส 304 ปลอดสนิม การควบคุมการทำงานของอุปกรณ์สามารถแยกควบคุมได้จากที่บีบ 2 จุด ที่บีบแรกสำหรับควบคุมการทำงานของกรรไกรในการตัดผลและแต่งใบ ที่บีบที่สองสำหรับควบคุมที่หนีบผลเพื่อจับไม่ให้ผลที่ตัดร่วงลงพื้น โดยมีการออกแบบให้ผู้ตัดสามารถยืนตัดได้สะดวกในท่าหลังตรงหรือก้มหลังไปหาต้นสับปะรดเพียงเล็กน้อยได้ ไม่ต้องก้มหลังมากเพื่อยื่นมือเข้าไปตัดและจับผลที่ต้นเหมือนการใช้มีดตัดแบบเดิม เพื่อให้การทำงานปลอดภัย และลดโอกาสเสี่ยงต่อการบาดเจ็บที่หลังจากการทำงานระยะยาว”

5

          ความริเริ่มในการสร้างสรรค์ ‘อุปกรณ์ตัดสับปะรด’ ไม่เพียงผลักดันให้พวกเขาก้าวสู่การเป็นนวัตกร แต่อุปกรณ์ที่ทำขึ้นด้วยความใส่ใจและห่วงใยในปัญหาของชุมชน ทำให้ผลงานเป็นที่พึงพอใจของเกษตรกร

          อดิศร กล่าวถึงผลตอบรับของเกษตรกรที่นำไปทดลองใข้งานจริงว่า มีกระแสตอบรับที่ดีมาก เพราะนอกจากจะตอบโจทย์เรื่องความปลอดภัยในการทำงานตามที่ร้องขอแล้ว ยังทำให้การทำงานสะดวกสบายขึ้นกว่าการใช้อุปกรณ์รูปแบบเดิมมากอีกด้วย เกษตรกรทุกเพศทุกวัยสามารถใช้อุปกรณ์นี้ช่วยกันทำงานได้ จากที่คนหนึ่งเคยเก็บได้อย่างมากแค่ 5-10 ไร่/วัน เมื่อใช้อุปกรณ์นี้สามารถเก็บได้มากขึ้นเป็น 30-35 ไร่/วัน นอกจากนั้นอุปกรณ์มีราคาเพียง 2,500 บาท ถือว่าคุ้มค่ามากเมื่อเทียบกับความสามารถของอุปกรณ์

6

          “ตอนนี้ได้เปิดให้เกษตรกรสั่งซื้ออุปกรณ์ได้ที่ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจวิทยาลัยเทคนิคสุราษฏร์ธานี (ศูนย์บ่มเพาะศักยภาพนักศึกษา) ซึ่งได้ถ่ายทอดองค์ความรู้ในการผลิตให้แก่รุ่นน้อง ปวส.1 และ ปวช. เป็นที่เรียบร้อยแล้ว เพื่อให้น้องได้ใช้เป็นตัวเลือกหนึ่งในการหารายได้หลังเลิกเรียน และเสริมประสบการณ์อาชีพ”

7

อดิศร มยาเศรษฐ และ ธรรมนูญ รุจิญาติ

          อดิศร ทิ้งท้ายถึงบทสรุปที่ได้เรียนรู้จากการก้าวมาเป็นนวัตกรเพื่อสังคมครั้งนี้ว่า การได้ลองเป็นนวัตกรเพื่อสังคม ทำให้ตนและเพื่อนได้มีโอกาสใคร่ครวญถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมรอบตัว และเป็นโอกาสอันดีที่จะได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือผู้ที่เดือดร้อน เพื่อช่วยให้พวกเขามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น นอกจากนั้นการได้ลองทำงานจากโจทย์จริงของสังคม ยังช่วยเปิดโลกทัศน์ให้กว้าง ได้ฝึกวางแผนการทำงาน คิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ และพัฒนาผลงานร่วมกับกลุ่มเป้าหมาย เป็นโอกาสที่ดีมากในการเตรียมความพร้อมก่อนออกไปทำงานจริง

ข้อมูลข่าวโดย : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
เผยแพร่ข่าว : นางสาวพรนภา สวัสดี
ส่วนสื่อสารองค์กร
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3728 - 3732 โทรสาร 0 2333 3834
Facebook : @MHESIThailand
Call Center โทร.1313
  • กลับมาอีกครั้ง กับโครงการที่เป ...
    ข่าวสารหน่วยงาน
    กลับมาอีกครั้ง กับโครงการที่เปิดโอกาสให้เยาวชนก้าวสู่การเป็นนวัตกรรุ่นใหม่
    02 พ.ค. 2567
    รมว.อว. ประชุมคณะกรรมการอำนวยก ...
    ภาพข่าวและกิจกรรม
    รมว.อว. ประชุมคณะกรรมการอำนวยการสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ครั้งที่ ...
    15 ม.ค. 2563
    วศ. ทดสอบชิมเครื่องดื่มเพื่อกา ...
    ข่าวสารหน่วยงาน
    วศ. ทดสอบชิมเครื่องดื่มเพื่อการผ่อนคลาย และทดลองใช้สเปร์ยแป้งเย็น สำหรับบุคลากรทางการแพทย์
    22 มิ.ย. 2564
    ดูทั้งหมด >

เรื่องล่าสุด

“สุชาดา” เลขาฯ รมว.อว. ร่วมพิธ ...
ข่าวรัฐมนตรี ศุภมาส
“สุชาดา” เลขาฯ รมว.อว. ร่วมพิธีวางพานพุ่มอนุสาวรีย์ ศ.ดร.ปรีดี พนมยงค์ และพิธีมอบโล่รางวัล-ทุน ในงาน...
11 พ.ค. 2568
“ศุภมาส” เดินเกมรุกจัดงาน “อว. ...
ข่าวรัฐมนตรี ศุภมาส
“ศุภมาส” เดินเกมรุกจัดงาน “อว. Job Fair 2025” ยิ่งใหญ่กลางกรุง ตลาดอาชีพเพื่ออนาคต ชูเป้าหมายเปลี่ยน...
10 พ.ค. 2568
“ศุภมาส” รับลูกนโยบายนายกฯ ขยา ...
ข่าวรัฐมนตรี ศุภมาส
“ศุภมาส” รับลูกนโยบายนายกฯ ขยายผลการใช้งาน Traffy Fondue แพลตฟอร์มร้องทุกข์ผ่านปลายนิ้วไปทั่วประเทศ ...
10 พ.ค. 2568

กระทรวงการ อว.

  • อว.พารับส่วนลด
    • รวมรายการสินค้าและบริการ
    • ท่องเที่ยว
    • อาหาร
    • บริการ
    • ชอปปิง
  • User Menu (Discount)
    • เนื้อหาของฉัน
    • แก้ไขข้อมูลส่วนตัว
    • ออกจากระบบ
  • เมนูหลัก
    • หน้าหลัก
    • แนะนำหน่วยงาน
      • ความเป็นมา
      • วิสัยทัศน์ พันธกิจ
      • นโยบาย/ยุทธศาสตร์กระทรวง
      • เครื่องหมายราชการ และ ตราสัญลักษณ์กระทรวง
      • โครงสร้างภารกิจกระทรวง
      • ผู้บริหารกระทรวง
      • การแบ่งส่วนราชการ
      • ลิงก์หน่วยงาน
      • ​กฎหมาย/กฎเกณฑ์
      • เกี่ยวกับซีไอโอ
    • โครงการกระทรวง
    • ทุนกระทรวง
      • ทุนกระทรวงทั้งหมด
      • ทุนพัฒนาอาจารย์
      • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
      • ทุนวิจัย
    • บริการ
      • บริการทั้งหมด
      • สถาบันอุดมศึกษา
      • นิสิต/นักศึกษา
      • อาจารย์
      • นักวิทยาศาสตร์/นักวิจัย
      • ผู้ประกอบการ
      • ภาครัฐ
    • ข่าวและประกาศ
      • ประมวลภาพกิจกรรม "น้อมรำลึก ในหลวง ร.9"
      • ภาพข่าวและกิจกรรม
        • ข่าวรัฐมนตรี
        • ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
        • ข่าวสารหน่วยงาน
      • ข่าวสารและประกาศ
        • ข่าวประกาศ
        • ประกาศงานบุคลากร
        • ข่าวประชุม อบรม สัมนา
        • ข่าวสารน่าสนใจ [พรบ.ข่าวสาร]
    • คลังข้อมูล
      • เอกสารเผยแพร่กระทรวง
      • เอกสารเผยแพร่จากภายนอก
      • e-Book เพราะเธอเป็นลมหายใจ
      • e-Book S&T Series
      • อินโฟกราฟิก
      • วีดิทัศน์
      • โมไบล์แอปพลิเคชัน
        • สำหรับ iOS
        • สำหรับ Andriod
    • ศูนย์บริการร่วม
      • ความเป็นมาศูนย์บริการประชาชน
      • รางวัลและผลงานเด่น
      • ติดต่อศูนย์บริการร่วม
      • สาระน่ารู้
  • แนะนำหน่วยงาน
    • ความเป็นมา
    • วิสัยทัศน์ พันธกิจ
    • นโยบาย/ยุทธศาสตร์กระทรวง
    • โครงสร้างภารกิจกระทรวง
    • ผู้บริหารกระทรวง
    • การแบ่งส่วนราชการ
    • ลิงก์หน่วยงาน
    • กฏหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
    • เกี่ยวกับซีไอโอ
  • ทุนกระทรวง
    • ทุนกระทรวงทั้งหมด
    • ทุนพัฒนาอาจารย์
    • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
    • ทุนวิจัย
  • ภาพข่าวและกิจกรรม
    • ภาพข่าวและกิจกรรม
    • ข่าวผู้บริหาร
    • ข่าวสารหน่วยงาน
  • เมนูอื่นๆ
    • Thai University Consortium
    • ห้องสมุด อว.
    • ค้นหา
    • คำถามที่พบบ่อย
    • แบบฟอร์มร้องเรียน
    • ติดต่อกระทรวง
    • แผนผังเว็บไซต์
    • สถิติการเข้าชมเว็บไซต์
    • เข้าสู่ระบบ/ออกจากระบบ

map แผนที่และการเดินทาง

faqคำถามที่พบบ่อย

faqเสนอแนะ/ร้องเรียน

faqแผนผังเว็บไซต์

กระทรวง อว.

แอปพลิเคชั่นทั้งหมดของกระทรวง

ios app andriod app 

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป

© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.

WCAG 2.0 (Level AAA)

ติดตามเราได้ที่   facebook twitter youtube This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.