เมื่อวันที่ 13 เมษายน 2563 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ห่วงใยในความปลอดภัยเแนะนำวิธีเก็บอาหารสดอย่างง่าย เพื่อรักษาคุณภาพอาหารไว้ได้นาน ไม่ปนเปื้อนและเกิดเชื้อรา เป็นการเอาใจใส่ดูแลป้องกันสุขภาพช่วงอยู่บ้านยุคโควิด-19 วิธีเก็บอาหารสดอย่างง่ายที่แนะนำ ดังนี้
1. ไข่สด : ไม่ควรทำความสะอาดก่อน เพราะอาจทำให้ที่หุ้มเปลือกไข่นั้นหลุดออกมา แล้วอากาศจะเข้าไปตามรูพรุนเล็กๆ ส่งผลทำให้ไข่เน่าเสียไว โดยปกติแล้วไข่ทุกประเภทจะมีโพรงอากาศด้านใน (ด้านป้าน) ยิ่งไข่มีอายุมากขึ้น โพรงอากาศก็เพิ่มมากขึ้นด้วย ดังนั้นควรเก็บแช่ไว้ในตู้เย็นโดยตั้งด้านป้านขึ้นเอาด้านแหลมลง
2. เนื้อสัตว์ : แบ่งเป็นขนาดพอดีที่จะใช้สำหรับการประกอบอาหารแต่ละครั้ง แล้วห่อด้วยพลาสติกห่ออาหารให้มิดชิดก่อนนำไปแช่แข็ง เพราะถ้าเนื้อสัตว์โดนความเย็นจัดโดยตรงจะทำให้แห้ง เวลาใช้ให้หยิบออกมาใช้ทีละห่อ ตามปริมาณความต้องการ
3. เครื่องแกง : เครื่องแกงที่ตำแล้ว ให้แบ่งเป็นส่วนๆ ตามปริมาณที่จะใช้ในแต่ละครั้ง แล้วนำไปแช่ช่องแข็ง
4. หอมและกระเทียม : เก็บใส่ถุงตาข่ายหรือตะกร้าที่มีการระบายอากาศได้ดี /แขวนไว้ที่อากาศถ่ายเทสะดวกและไม่โดนแดด เพื่อป้องกันความชื้นที่ทำให้เกิดเชื้อรา
5. ผักสด : ควรตัดส่วนที่เสียออกก่อนแล้วจึงล้างทำความสะอาด แล้วใช้กระดาษทิชชูแผ่นใหญ่ซับความชื้น แยกเป็นชนิดเก็บใส่ถุงซิปล็อก นำไปแช่ในช่องแช่ผักของตู้เย็น แต่สำหรับผักบางชนิด เช่น กะเพรา โหระพา ผักชี ต้นหอม และ ผักสลัด เช่น ผักไฮโดรโปนิกส์ เมื่อซื้อมาไม่ต้องล้างก่อน เพราะจะทำให้เน่าเสียไวขึ้น
7. เห็ดสด : เห็ดต่างๆโดยปกติจะเก็บได้เพียงระยะเวลาสั้นๆ การลวกเห็ดพอสุก จะสามารถช่วยยืดอายุเห็ดได้ 1-2 วัน
ที่มาข้อมูลวิธีการเก็บรักษาอาหารสดอย่างง่ายจาก เพจ Doctor D. ซึ่งเป็นเพจข้อมูลวิทยาศาสตร์เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูลข่าวสาร จำเป็นต่อความปลอดภัยในชีวิตประจำวัน ควบคุมดูแลข้อมูลโดยนักวิทยาศาสตร์ของกรมวิทยาศาสตร์บริการ
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.