เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2563 ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (รมว.อว.) เป็นประธานการประชุมหารือกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) และ PMU การรายงานความก้าวหน้าในการดำเนินการจัดสรรงบประมาณ Strategic Fund ประจำปีงบประมาณ 2563 พร้อมด้วย นพ.สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ ประธานคณะกรรมการ สกสว., ศ.นพ.สุทธิพันธ์ จิตพิมลมาศ ผู้อำนวยการ สกสว., ดร.กิติพงค์ พร้อมวงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ หรือ สอวช. พร้อมคณะผู้บริหารที่เข้าร่วมประชุม ร่วมถึงที่คณะผู้บริหารที่ประชุมผ่านระบบ Zoom ณ ห้องประชุมศาสตราจารย์ประเสริฐ ณ นคร ชั้น 3 อาคารอุดมศึกษา 1 สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) (ศรีอยุธยา)
ศ.นพ.สุทธิพันธ์ ผู้อำนวยการ สกสว. กล่าวว่า วันนี้เป็นวันสำคัญที่ทางหน่วยบริหารจัดการโปรแกรม PMU ได้เข้ามานำเสนอ รายงานความก้าวหน้าในการดำเนินการจัดสรรงบประมาณ Strategic Fund ประจำปีงบประมาณ 2563 ให้ท่าน รมว.อว. รับฟังและให้ความเห็น ซึ่งสืบเนื่องจากเดือนที่แล้วที่ทาง PMU และ สกสว. ได้มีการนำเสนอการดำเนินงานของ PMU และการให้ทุนปี 2563 โดยการสรุปในวันนั้นคืออีกหนี่งอีกข้างหน้าขอให้สรุปความก้าวหน้าของการดำเนินงานว่าเป็นอย่างไรบ้าง
ดร.สุวิทย์ รมว.อว. กล่าวว่า (1) การที่เราตั้งกระทรวงใหม่ แล้วมีแนวคิดในเรื่องที่จะขับคลื่อนประเทศ ซึ่งโจทย์คือ การยกระดับในเรื่องของการวิจัยใหสามารถตอบโจทย์ประเทศในเชิง Strategic มากขึ้น จึงจำเป็นต้องมีเรื่องของ Medattery research แต่ขณะเดียวกันก็ยังมีเรื่องของ Bottom up research ซึ่งก็คิดว่าตอนนี้เรากำลังเดินในทิศทางนี้อยู่ (2) การซักซ้อมความเข้าใจในส่วนของ ววน. เรื่องงบ 8 พันล้านบาท ได้มีการดำเนินงานในเรื่องใดแล้วบ้างที่เกิดพลัง ซึ่งโดยส่วนตัวนั้นมองว่าในบางส่วนมาจากงบ Big Rock เก่า Innovation Hub แล้วมา Keep Momentum ตรงนี้อย่างไรบ้าง ณ วันนี้มาช่วยกันซักซ้อม ประเมินดูว่าสิ่งที่ได้ดำเนินการกันมาภายใต้ PMU ต่าง ๆ ประสบผลสำเร็จอย่างไรบ้าง (3) หลัง COVID โจทย์ของการวิจัยจะเปลี่ยนแปลงไปไม่มากก็น้อย สำหรับเรื่องของ BCG ที่เคยพูดถึงไว้ น่าจะเป็น Strategic Industry Sector ในระดับโลก และที่หนีไม่พ้นน่าจะเป็นเรื่องของ Healthcare Industry Sector หรือ Food Industry Sector เพราะฉะนั้นนี่คือสิ่งที่เราสามารถมองวิกฤติให้เป็นโอกาส โดย BCG ถือว่ามีความหลากหลายและแตกต่าง ที่จะเป็นโครงการเชื่อมโยงการจ้างงานบัณฑิต ยุวชน หรือนักศึกษาอีก 2 แสนรายลงพื้นที่ เพราะฉะนั้นในส่วนนี้น่าจะเป็นจิ๊กซอว์ตัวสำคัญที่เชื่อมโยงทั้ง PMU ของ Manpower, Area based และ local competitiveness ไว้ในเวลาเดียวกัน
สำหรับส่วนนี้จะเป็นการสรุปผลการดำเนินงานโดยหน่วยบริหารจัดการโปรแกรม (PMU)
1. หน่วยบริหารจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) ที่ผ่านมา งบประมาณทั้งหมดที่ได้รับ คือ 4,457 ล้านบาท ซึ่งได้ดำเนินโครงการไปแล้ว 2,889 ล้านบาท หรือ 70% ของวงเงินทั้งหมด จำนวนโครงการที่ผ่านการพิจารณา 195 โครงการ ซึ่งทุกโครงการจะมีภาคเอกชนเข้ามาร่วม โดยงบประมาณที่ได้รับมาได้มีการนำไปดำเนินการเกือบหมด ยกเว้นเพียงเรื่องเกษตร อาหารและพลังงานเคมี เป็นต้น จริง ๆ โครงการเหล่านี้มีแผนการดำเนินงานแล้วแต่อยู่ในระหว่างการพิจารณา คาดว่าภายใน 1 - 2 เดือนนี้งบประมาณจะนำไปใช้นำงานจนหมด สำหรับโครงการที่มีผลออกมา ได้แก่ ทางด้านการแพทย์ เรื่องของโควิดก็จะเกี่ยวข้องกับชุดตรวจคัดกรองผู้ป่วยที่ติดเชื้อ, การท่องเที่ยวคือ การปรับตัวอุตสาหกรรมให้เข้ากับโควิดและเรื่องของดิจิทัล เป็นต้น
2. หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัย และสร้างนวัตกรรม (บพค.) งบประมาณที่ได้รับมาทั้งหมดสำหรับการสนับสนุนโครงการประมาณ 1,359.79 ล้านบาท ถ้าดูการจัดสรรสัดส่วน 8% เป็นเรื่องของการพัฒนาระบบ postdoc - postgrad และเรื่อง Ai 10% งบประมาณที่กันไว้สำหรับเรื่องสถานการณ์วิกฤติตอนที่มีโรคโควิด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ Frontier การพัฒนาคน 21% เป็นงบสำหรับ Global partnership fund เพื่อส่งเสริมให้นักวิจัยไทยได้มีโอกาสทำงานกับ partner ต่างประเทศ ในงานวิจัยที่น่าจะมี Long lasting impact และมีงบประมาณด้าน Frontier ทั้งทางสังคมและวิทยาศาสตร์ คาดว่าเราจะมีศูนย์การค้าชั้นนำ แรงงานได้รับการพัฒนาทักษะ คนที่จบมาจะตรงกับความต้องการทั้งภาคการตลาด ภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการ ซึ่งตอนนี้ได้ดำเนินการไปแล้ว 880.22 ล้านบาท คิดเป็น 65% ของงบที่ได้รับทั้งหมด โดยผลที่ได้มาจากการสนับสนุนโครงการต่าง ๆ คือ การพัฒนาคนให้มีคุณภาพทั้งในอุตสาหกรรมหลักคือ อุตสาหกรรมพลังงาน อุตสาหกรรมถ่านชีวภาพ อุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร
3. สำนักงานวิจัยแห่งชาติ (วช.) งบประมาณที่ได้รับจาก Strategic Fund ในส่วนของโครงการที่เป็น Flagship คือ 826 ล้านบาท และมีในส่วนของ Non-Flagship ที่เป็นภารกิจถ่ายโอนในส่วนของแผนงานโครงการมาอีก 1,600 ล้านบาท ในส่วนของ Flagship นั้น แบ่งเป็น 3 โปรแกรมที่เกี่ยวกับ Zero Waste และในเรื่องของ Thailand system RDX ตตตอนนี้งบประมาณที่ได้รับการจัดสรรมา 370 กว่าล้านบาท มีการดำเนินงานไปแล้วประมาณ 200 กว่าล้านบาท โครงการ Zero Waste ที่ได้ดำเนินการไปอยู่ที่ 97% ส่วน Thailand system อยู่ที่ 54% สำหรับโปรแกรมที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุตอนนี้มีการดำเนินการไปแล้ว 96% งบประมาณที่จัดสรรตรงนี้ประมาณ 75 ล้านบาท และดำเนินงานไป 60 ล้านบาท และโปรแกมที่เกี่ยวข้องกับสังคมคุณภาพ มีอยู่ 3 ส่วนคือ ครอบครัวไทยไร้ปัญหาความรุนแรง สัญญาน้ำใจและเชื่อมไทยเชื่อมโลก งบตรงนี้ 200 ล้านบาท ดำเนินการไปแล้วประมาณ 150 ล้านบาท และตอนนี้มีแผนที่ได้รับมอบหมายมาให้ดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับแผนงานโควิด ซึ่งทาง วช. ได้มีการจัดสรรงบเพื่อดำเนินการในส่วนนี้ ทั้งทุนอุดหนุนในฐานที่ วช. ดูแลและในส่วนที่ได้รับจากกองทุน ทุนฐานเดิมที่ วช. ดูแลก็จัดสรรไปแล้วเกือบ 80 ล้านบาท และในส่วนที่อยุ่ในแผนของ Strategic Fund นี้ อยู่ในระหว่างการดำเนินการ คิดว่าจะแล้วสร็จในช่วงเดือนมิถุนายนนี้ ส่วนงานในด้านทรัพยากรสิ่งแวดล้อมและการเกษตร ซึ่งใช้การดำเนินงานเชิงเป้าหมาย ทั้งการลดขยะ ความเสี่ยงจากการขาดแคลนน้ำและในเรื่องของการลด PM 2.5 รวมถึงการสูญเสียระบบนิเวศต่าง ๆ ทางธรรมชาติ
4. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) มี 3 หัวข้อใหญ่ อันแรกคือ Strategic Fund ถือเป็นการ Resummit ของมหาวิทยาลัย ซึ่งเราตั้งเป้าไว้ว่าเร็วกว่านี้ แต่ว่าเราออกสัญญาได้แล้วแค่ 7 สัญญาจาก 13 สัญญา ซึ่งเหตุผล 2 ประการ คือ (1) เราไม่คุ้นเคยกับการทำงานกับทางมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยก็ไม่คุ้นเคยกับระบบของ สวรส. และมีบางโครงการที่ได้ขอยกเลิกไป ซึ่งมีปัญหาในส่วนของทรัพยากรที่เข้ามา หรือสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป (2) Flagship ที่ได้มอบให้ดูแลในเรื่องของโครงการจีโนมิกส์ มีโครงการย่อยทั้งหมด 28 โครงการ ได้ออกสัญญาไปแล้ว 17 โครงการ มีบางโครงการที่ล่าช้าเพราะเราติดต่อกับประเทศอังกฤษ ซึ่งยังไม่ยอมรับการติดต่อ ล่าสุดต้องเข้าไปในการกักตัว และรอเวลา ซึ่งได้มีการประสานงานทางอีเมลตลอดเวลา เพราะฉะนั้นมั่นใจว่าโครงการจีโนมิกส์ เราจะสามารถออกสัญญาภายในสิ้นเดือนกันยายนแน่นอน การแก้ปัญหาวิกฤติโควิด ทาง สวรส. ออกสัญญาได้เยอะก็เป็นโครงการที่เบิกเงินได้สูง เพราะเราทำงานร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข และ ศบค.
5. หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.)
6. สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร องค์การมหาชน (สวก.)
ด้าน ดร.กิติพงค์ ผู้อำนวยการ สอวช. ให้ความเห็นว่า สิ่งที่ดำเนินการอยู่ดีมากและยังดำเนินงานไปสู่เอกชนด้วยและจะเป็นตัวอย่างที่คาดหวัง เพราะตอนนี้มีผลิตภัณฑ์ที่กำลังจะออกไปสู่ตลาด ซึ่งเหล่านี้เป็น Deep Tech และบางตัวเป็น Deep Science และถ้าออกไปได้จะกลายเป็น Show case ที่ดีมาก ๆ และคนจะเริ่มเข้าใจสิ่งเหล่านี้มากขึ้น ในขณะเดียวกันต้องพยายามหาแนวร่วมเข้ามาช่วยดำเนินการด้วย
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.