เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2563 ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (รมว.อว.) เปิดประชุมหารือร่วมกับคณะทำงานด้าน AI Forum มอบนโยบายและแนวทางของแผนการขับเคลื่อนปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติ Ai in Action ณ ห้องประชุมศาสตราจารย์วิจิตร ศรีสอ้าน ชั้น5 อาคารอุดมศึกษา 1 สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ถนนศรีอยุธยา)
คณะทำงานด้าน AI Forum ได้นำเสนอแผนยุทธศาสตร์ของการพัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์และอุตสาหกรรมนำร่อง โดยประเทศไทยจะเป็นประเทศชั้นนำในการพัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์จากความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคอุตสาหกรรม เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้นในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล โดยมุ่งเน้นในเรื่องของการสร้างคน (Man & Brainpower) พร้อมกับสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจ ใน 9 สาขายุทธศาสตร์ คือ (1) เกษตรและอาหาร (2) การแพทย์และสุขภาวะ (3) พลังงานและสิ่งแวดล้อม (4) การท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (5) อุตสาหกรรมการผลิต (6) โลจิสติกส์และการขนส่ง (7) การศึกษา (8) ความมั่นคง และ (9) ธุรกิจการเงิน
ด้าน ดร.สุวิทย์ กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ท่านนายกรัฐมนตรีกล่าวถึงเรื่องของ New Chapter ของ National Strategy ในเชิงของการบริหารการจัดการในยุคของ New Normal ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าสนใจ เพราะท่านนายกรัฐมนตรีได้มีการปรับเปลี่ยน Mindset และเริ่มมีการปักธงว่าประเทศถึงเวลาที่ต้องมีการเปลี่ยนแปลง สิ่งที่จะทำให้การพูดถึงเรื่องของพิมพ์เขียวประเทศไทย "ผมคิดว่ามันมีอยู่แล้วในหลายรูปธรรม ส่วนหนึ่งอย่างที่เคยนำเสนอไปแล้ว ก็คือในเรื่องของ BCG (Bio Economy - Circular Economy - Green Economy)" แต่อีกสิ่งหนึ่งที่มองว่าจะเป็นทั้ง Key drivers ที่สำคัญและ Infrastructure ที่สำคัญ นอกจากนี้ยังมีการพูดถึงในเรื่องของ Ai แต่ยังไม่มีการขับเคลื่อนอย่างเป็นรูปธรรม หรือควรจะเริ่มต้นอย่างไรที่ทำให้งานมีพลัง จึงตั้งโจทย์ร่วมกับคณะทำงานว่า ทำไมถึงไม่มอง AI เป็น National Strategy ซึ่งถ้าสามารถหารือร่วมกันแล้วสรุปเป็นแผนการดำเนินงานได้อย่างชัดเจน อยากให้มีการนำเสนอเรื่องนี้ต่อท่านนายกรัฐมนตรีโดยตรง
AI เป็นเรื่องที่ใกล้ตัวแล้วไม่ได้ไกลตัวเหมือนแต่ก่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่กำลังพูดถึงคือ เรื่องของ 5G ที่กำลังจะมา ซึ่ง AI จะเข้าไป Reinvent Industry หรือ Business ต่าง ๆ แต่ประเด็นสำคัญก็คือเพื่อให้เกิดรูปธรรมแต่คาดว่าคงจะไม่สามารถผลักดันหรือทำงานในหลาย ๆ เรื่องไปพร้อมกันได้ ดังนั้น จึงจับเอาประเด็นที่สำคัญ ๆ มาผลักดันและหาแนวทางดำเนินการต่อ อาทิ เรื่องของ BCG, Healthcare ซึ่งเป็น 1 ใน 4 เรื่องสำคัญของ BCG จึงน่าจะเป็นโอกาสของประเทศไทย สิ่งที่ต้องทำคือจะนำ AI มาดำเนินงานต่อกับเรื่องนี้อย่างไร ตั้งแต่ต้นจนจบเกิดเป็นรูปธรรม “ณ วันนี้ที่มาร่วมหารือก็คงจะเป็นเพียงจุดเริ่มต้น ยังคงต้องขยายขอบเขตของคณะทำงานเพื่อร่วมหารือกันเพิ่มมากขึ้น” ดร.สุวิทย์ กล่าว
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.