"พืชเครียด คนเครียดกว่า" บทสะท้อนจากเกษตรกรและสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในพื้นที่จ.อุดรธานี เมื่อวันที่ 16 มิ.ย. 63 ที่ผ่านมา จิสด้า นำโดยดร.ปกรณ์ เพ็ชรประยูร หัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจเกษตร สำนักประยุกต์และบริการภูมิสารสนเทศ เข้าร่วมประชุมนำเสนอการบริหารจัดการเกษตรกับภัยแล้งจากดาวเทียม และโครงการประเมินความเครียดความเสียหายของไม้ผลจากการขาดน้ำ เพื่อการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่จ.อุดรธานี ต่อท่านรองผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี นายธวัธชัย ศรีทอง พร้อมหน่วยส่วนราชการ กว่า 10 หน่วยงาน ณ ห้องประชุมศาลากลางจังหวัดอุดรธานี ด้วยสถานการณ์โควิด19 เริ่มคลี่คลายลงบ้าง เป็นโอกาสต่อการส่งเสริมขับเคลื่อนการประยุกต์ใช้กลไกเชิงเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศระดับพื้นที่ โดยที่ประชุมเห็นชอบต่อการนำข้อมูล เครื่องมือ เทคโนโลยี ที่เป็นวิทยาศาสตร์ มาประยุกต์ใช้งาน แต่ทั้งนี้ การแก้ปัญหาทุกมิติแบบองค์รวม โดยเฉพาะด้านการเกษตรต้องใช้เวลาและความร่วมมือจากหน่วยงานหลักและบูรณาการกับทุกระดับทุกภาคส่วน เพื่อประโยชน์ของเกษตรกรเป็นที่ตั้ง และภายใต้โครงการประเมินความเครียดของพืชฯ ไม้ผล 3 ชนิด มะม่วง เงาะ และทุเรียน ในพื้นที่เป้าหมาย อ.เมืองอุดรธานี , อ.หนองวัวซอ และ อ.กุมภวาปี ซึ่งกล่าวได้ว่าเป็นโครงการบูรณาการ ทั้งข้อมูลจากดาวเทียม ข้อมูลการสำรวจแหล่งน้ำขนาดเล็กในพื้นที่แปลงเกษตรกรการวิเคราะห์ จัดทำแผนที่แสดงความเครียดความเสียหายของไม้ผลจากการขนาดน้ำ และการประสานบูรณาการกับหน่วยงาน/เกษตรกร โดยมีบุคลากรในพื้นที่เป็นแกนหลัก ส่วนหนึ่งก็เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในสถานการณ์การระบาดของโควิด19 รวมถึงเกิดการจ้างงานในพื้นที่ โดยเป้าหมายของโครงการฯ เพื่อให้ผู้บริหารระดับจังหวัด หน่วยงานในพื้นที่ ตลอดจนประชาชน/เกษตรกร มีข้อมูลในการวางแผนบริหารจัดการ ลดความเสี่ยงความเสียหายของไม้ผล สำหรับการทำงานเชิงรุกระดับพื้นที่นั้น จะมีการประชุมติดตาม วิเคราะห์จัดทำแผนบูรณาการองค์รวม ในวันที่ 23 มิ.ย. 63 โดยทีมจิสด้า เข้าร่วมกระบวนการดังกล่าวด้วย
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.