วันที่ 29 มิ.ย. 2563 ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (รมว.อว.) ประชุมออนไลน์ทวิภาคีกับรัฐมนตรีอังกฤษ Michelle Donelan, Minister of State for Universities, Department for Education ในหัวข้อ การศึกษาในยุคหลังโควิด-19 ที่มหาวิทยาลัยจะต้องปรับตัว ปรับหลักสูตรการเรียนการสอน การแลกเปลี่ยนบุคลากรและองค์ความรู้ระหว่างประเทศ ตลอดจนความร่วมมือด้านการวิจัยระหว่างสถาบันอุดมศึกษาของประเทศไทยและของประเทศอังกฤษ ณ ห้องประชุมชั้น 22 อาคารอุดมศึกษา ถนนศรีอยุธยา (สกอ.)
ดร.สุวิทย์ (รมว.อว.) กล่าวว่า Michelle Donelan, Minister of State for Universities, Department for Education รัฐมนตรีอังกฤษได้แชร์ถึงมาตรการในการรับมือเกี่ยวกับโรคระบาดโควิด-19 ที่ทางมหาวิทยาลัยอังกฤษนำมาปรับใช้ โดยคำนึงถึงความปลอดภัยและคุณภาพการเรียนเป็นสำคัญ ในรูปแบบแผนสำหรับการเรียนการสอนออนไลน์ควบคู่กับรูปแบบปกติ การช่วยเหลือนักศึกษาผ่านกองทุนของแต่ละมหาวิทยาลัย การประสานงานกับค่ายมือถือเพื่อขอลดค่าอินเทอร์เน็ต และได้มีการพูดคุยกับตัวแทนนักศึกษาที่ทำให้ทราบถึงความต้องการของนักศึกษา ทั้งนี้ทางรัฐบาลอังกฤษเองยังมีมาตรการให้ความช่วยเหลือประชาชนทั่วไปที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ในโครงการ Skills Toolkit ให้ประชาชนทั่วไปได้เรียนฟรี ผ่าน online learning platform เช่น วิชา coding เป็นต้น ซึ่งมาตรการดังกล่าวมีความคล้ายกับของประเทศไทย และยังได้มีการนำเสนอถึงการให้ทุนระหว่างไทย-อังกฤษ โดยใช้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคในการทำโครงการร่วมกับอังกฤษในการขยายขอบเขตไปสู่ CLMV
กระทรวง อว. เองก็มีมาตรการที่เข้ามารองรับถึงสถานการณ์การระบาดโควิด-19 ที่จะสร้างการศึกษาตลอดชีวิตหรือ Lifelong Education ผ่านการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ พัฒนาหลักสูตรร่วม ให้สอดคล้องกับบริบทของโลก โดยเริ่มจาก reinvent ที่เน้นการ Reskill Upskill NewSkill มุ่งพัฒนา 4 ทักษะสำคัญคือ ภาษาอังกฤษ ดิจิทัล การเงิน และสังคม รวมทั้งเตรียมกำลังคนสำหรับอาชีพแห่งอนาคตที่ต้องใช้ทักษะขั้นสูงอีกด้วย และนำเสนอหลักสูตรออนไลน์ในลักษณะที่คล้ายกันในชื่อ Future Skill New Career เพื่อพัฒนา 8 กลุ่มทักษะอุตสาหกรรม ได้แก่
1. Care giver industry
2. Food for the future industry
3. Smart farming industry
4. Smart tourism industry
5. Creative content
6. Smart innovative entrepreneur
7. Digital data industry
8. Industrial robotic industry
ด้านการวิจัยในระดับมหาวิทยาลัย กระทรวง อว. ได้ชูเรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจ BCG Economy เพื่อสร้างความมั่นคงทั้งในด้านอาหาร พลังงานสะอาด สุขภาพการแพทย์ และการมีงานทำด้วย high value service และ creative economy โดยตั้งกรอบเป้าหมายที่จะพัฒนาร่วมกันระหว่างสองประเทศ และผู้ประกอบการภาคธุรกิจของอังกฤษในประเทศไทย ในการพัฒนาหลักสูตรให้สามารถเทียบเท่าระดับสากล ในรูปแบบ work integrated learning ซึ่งจะช่วยให้การขับเคลื่อนเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว
ทั้งนี้กระทรวง อว. มีมาตรการความร่วมมือที่จะสร้าง platform การพัฒนากับทางอังกฤษ โดยให้มีโครงการ quick win ที่ดำเนินงานภายใน 1-2 ปี ควบคู่กับโครงการระยะยาว การพัฒนาจะพุ่งเป้าไปที่การสร้างบุคลากรด้วยการเพิ่มความรู้และทักษะ reskill/ upskill การแลกเปลี่ยนบุคลากรนักศึกษา นักวิจัย รวมทั้งคณาจารย์ ไปจนถึง post doc และ post grad พร้อมด้วยการนำ MoU ความร่วมมือในระดับหน่วยงานมายกระดับการทำงานเป็นระดับกระทรวง แบบจตุภาคีระหว่างมหาวิทยาลัย ภาครัฐ ภาคเอกชน และพันธมิตรต่างประเทศ เพื่อให้เชื่อมโยงกันระหว่างประเทศเกิดการพัฒนาผลงานและนำเอาองค์ความรู้กลับมาพัฒนาประเทศ
ข่าวโดย : นายจิรายุ รุจิพงษ์วาที
ภาพโดย : นายภูมินทร์ ปั้นเล็ก
วิดีโอโดย : นายสุเมธ บุญเอื้อ
ส่วนสื่อสารองค์กร
กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3728 - 3732 โทรสาร 0 2333 3834
Facebook : @MHESIThailand
Call Center โทร.1313
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.