"พืชเครียด คนเครียดกว่า" บทสะท้อนจากเกษตรกรและสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงอีกหนึ่งพื้นที่ที่ติดอันดับต้นๆของปัญหาภัยแล้ง พื้นที่จ.อุบลราชธานี
ระหว่างวันที่ 24 - 28 มิ.ย. 63 : สำนักประยุกต์และบริการภูมิสารสนเทศ ได้ลงพื้นที่ส่งเสริมบูรณาการเชื่อมโยงข้อมูลองค์ความรู้กับหน่วยงานและเครือข่ายเกษตรกรระดับพื้นที่ ต่อการประยุกต์ใช้ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมและเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ ภายใต้โครงการ : ประเมินความเครียด และความเสียหายของพืชไม้ผลยืนต้น จากการขาดน้ำ เพื่อการบริหารจัดการน้ำในจังหวัดอุบลราชธานี ให้แก่หน่วยงานในระดับจังหวัด ระดับอำเภอ และเกษตรกรผู้ปลูกพืชไม้ผลยืนต้น 3 ชนิด ได้แก่ เงาะ ทุเรียน และมะม่วง ในพื้นที่เป้าหมาย 3 พื้นที่ คือ อำเภอวารินชำราบ อำเภอน้ำขุ่น และอำเภอน้ำยืน
โดยการการดำเนินงานในครั้งนี้
- เป็นการสร้างความเข้าใจถึงบทบาทและหน้าที่ของ สทอภ. และนำเสนอความเป็นมาของโครงการฯ รวมทั้งร่วมประชุมวางแผนในการบูรณาการนำเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ไปใช้ในการบริหารจัดการในภาคการเกษตรร่วมกับระดับจังหวัด อำเภอ และเกษตรกร โดยมีเป้าหมายเพื่อขยายผลการดำเนินงานไปสู่การส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากในภาคการเกษตร และเพื่อก้าวไปสู่การเป็น Smart City ของจังหวัดอุบลราชธานีต่อไป
- และลงพื้นที่ร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่พร้อมกับเกษตรกร เพื่อสำรวจและเก็บข้อมูลเชิงพื้นที่ของแปลงเกษตรกรเกี่ยวกับการเพาะปลูกและการบริหารจัดการน้ำของเกษตรกรผู้ปลูกไม้ผลยืนต้น เพื่อให้หน่วยงานในพื้นที่และเกษตรกร ได้ทราบถึงประโยชน์และคุณค่าของการใช้เทคโนโลยีของ สทอภ. ในการสนับสนุนและสร้าง แนวทางการช่วยเหลือให้เกษตรกรสามารถจัดการเพาะปลูก ได้อย่างเหมาะสมและจะเป็นการช่วยลดต้นทุนการผลิตให้กับเกษตรกรได้
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.