วันที่ 13 กรกฎาคม 2563 ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (รมว.อว.) ประชุมหารือคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ครั้งที่ 7/2563 โดยมี นายศักรินทร์ ภูมิรัตน เป็นประธานกรรมการกล่าวรายงานการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และแจ้งให้ที่ประชุมทราบระเบียบวาระเพื่อพิจารณา 2 เรื่องได้แก่ 1)โครงสร้างสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) และวิธีการทำงานในระยะต่อไป 2)แนวคิดการจัดตั้งกองทุนอุดมศึกษา และขอให้ฝ่ายเลขานุการฯ ดำเนินการให้ผู้เข้าร่วมประชุมแสดงตนก่อนการประชุมเพื่อเป็นการยืนยันตัวตน ณ ห้องประชุมศาสตราจารย์วิจิตร ศรีสอ้าน อาคารอุดมศึกษา 1 ชั้น 5 ถนนศรีอยุธยา (สป.อว.)
1)กลุ่มภารกิจด้านการส่งเสริม พัฒนากำลังคนและทุนทางปัญญา ประกอบด้วย กองส่งเสริมและพัฒนากำลังคน (Manpower) กองส่งเสริมและพัฒนาทุนทางปัญญา (Brainpower)
2)กลุ่มภารกิจยุทธศาสตร์และสนับสนุนน อววน. ได้แก่ กองส่งเสริมและประสาน เพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
3)กลุ่มภารกิจขับเคลื่อนและยกระดับ อววน. ประกอบด้วย กองยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา กองขับเคลื่อนและพัฒนาการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจับและนวัตกรรม
4)กลุ่มภารกิจยุทธศาสตร์และสนับสนุน อววน. ประกอบด้วย กอบยุทธศาสตร์และแผนงานกองการต่างประเทศ กองระบบและบริหารข้อมูลเชิงยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กองกลาง และกองกฎหมาย กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร กลุ่มตรวจสอบภายในและศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต
ทั้งนี้ การจัดโครงสร้างแบ่งออกเป็น 10 กอง 2 กลุ่ม และ 1 ศูนย์ โดยสำนักงาน ก.พ.ร. มีข้อเสนอให้ทำงานแบบ Agile-Team ซึ่งแยกออกมาจากโครงสร้าง สป.อว. ทำหน้าที่รับผิดชอบ ส่งเสริม พัฒนากำลังคนและทุนทางปัญญา งานขับเคลื่อนและพัฒนาการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ต้องสร้างทีมงานและวัฒนธรรมองค์กร พร้อมกรอบแนวคิดที่มีความคล่องตัวไปพร้อมกัน
1) แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. 2562 เพิ่มเติมหมวดกองทุนพัฒนาระบบการอุดมศึกษา
2) จัดทำร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งกองทุนเป็นพระราชบัญญัติเฉพาะ
โดยเห็นว่า 2 แนวทาง เหมาะสำหรับการบริหารงานกองทุนเนื่องจากมีความคล่องตัว มีการกำหนดโครงสร้าง บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการบริหาร และสำนักงานกองทุนขึ้นใหม่
ความก้าวหน้าในการขับเคลื่อนการปฏิรูประบบการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ทางคณะกรรมการการปฏิรูปได้ดำเนินการ ซึ่งบางเรื่องนั้น อยู่ในการรอการประชุมของสภานโยบาย
1) แก้พระราชบัญญัติการอุดมศึกษา และใส่กองทุนเพิ่มเข้าไป
2) ออกพระราชบัญญัติในการจัดตั้งกองทุนการอุดมศึกษาใหม่
ซึ่งการแก้พระราชบัญญัติการอุดมศึกษา น่าจะเป็นแนวทางที่สามารถทำได้ง่ายกว่า
1) การ Support SME ด้วยกลไกล (SBIR/STTR) ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการปรับภารกิจของ NIA ให้สามารถที่ครอบคลุมเรื่องของการ Transform SME
2) สภาอุตสาหกรรมประเทศไทยมีแนวคิดที่เข้ามาขับเคลื่อนสนับสนุนนวัตกรรม SME ซึ่งจะมีการจัดตั้งขึ้นเป็นกองทุนนวัตกรรม และขอ Incentive จากรัฐบาลและกรมสรรพากร
ด้าน ดร.สุวิทย์ (รมว.อว.) กล่าวว่า อยากจะเห็นความคืบหน้าที่ชัดเจนของทั้ง 9 เรื่องที่นำเสนอมา
- Thai Bayh-Dole Act เป็นเรื่องที่มีประโยชน์อย่างมากและต้องเร่งลงมือทำ เพราะถือเป็นทิศทางหนึ่งที่จะช่วยในการขับเคลื่อนประเทศภายหลังยุคของโควิด จำเป็นจะต้อง M power ระบบของการวิจัยโดยเฉพาะที่มาจากภาคส่วนของเอกชนให้เกิดพลังมากยิ่งขึ้น ให้มีการทำงานร่วมกับทางกฤษฎีกาเลยว่าจะมีมาตรการดำเนินการยื่นเรื่องต่อมติ ครม. ได้เมื่อไหร่
- Holding Company จะต้องมีการซักซ้อมความเข้าใจกับทางมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัย เพื่อให้สามารถขับเคลื่อนการปฏิรูปในส่วนต่างๆให้เดินหน้าต่อไป
- ปลดล็อคการจัดซื้อจัดจ้างสำหรับงานวิจัยและนวัตกรรม ให้มีการผลักดันผ่านทางสภานโยบายและทางท่านนายกรัฐมนตรี ในการยื่นข้อเสนอการจัดสรรงบประมาณรูปแบบ Multiyear Block Grant ทำให้เกิดขึ้นเป็นรูปธรรมในทางปฏิบัติระยะยาวได้อย่างแท้จริง
- การวางระบบเชื่อมโยงข้อมูลของ อววน. ต้องลงลึกไปในภาพรวมของเรื่องที่ทำ เรื่องระบบ Information Infrastructure เรื่อง Data Base หรือเรือง Big Data อยากให้ตรงนี้ถือเป็นหนึ่งใน Priority ที่สำคัญ เป็น Investment ในเชิง Infrastructure ในปี 64 บางเรื่องเป็น Real Time ที่ทำ Big Data ได้อยู่แล้วอย่างเรื่องของ Geo Informatics / Hydro Informatics แต่ข้อมูลเรื่องของการบริหารการจัดการของ อว. ทั้งระบบ เป็น Priority ที่จำเป็นจะต้องให้เกิดเป็นรูปธรรม
- ประเมินประสิทธิภาพและผลการปฏิบัติราชการของ วช. ณ วันนี้สามารถที่จะ institutionalized PMU เข้าไว้ด้วยกันและอยู่ภายใต้ Supervision ของ วช. ในอนาคตเราคาดหวังให้ วช. เป็นจิ๊กซอว์ตัวสำคัญใน ววน. ในเชิง Policy มี สอวช. ในเชิง translate policy into action มี สกสว. อยากให้ทุกภาคส่วนเข้ามาร่วมมือกันทำงานเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
- การผลักดัน Culture เรื่องของ Change management ใน สป.อว. อนาคตจะต้องมีการทำงานร่วมกันกับหน่วยงานต่างๆภายใน อว. อย่างเป็นระบบ สร้าง Common Platform ที่ Integrate คณะกรรมการชุดต่างๆ มาถกแถลงเชื่อมโยงในเชิงยุทธศาสตร์ร่วมกัน งานทุกงานของ สป.อว. จะต้องเป็น Brain Base มีเรื่องของ Brain Power / Man Power ตัวการขับเคลื่อน ววน. เรื่องของการ Reinvent มหาวิทยาลัย แต่อีกอันหนึ่งที่ต้องทำให้เกิดขึ้น คือ Area Base ต้นแบบในอนาคตของหน่วยงานใน อว. จะต้องเป็น Integrate กัน
- Agile Team ในอนาคตการทำงานรูปแบบ Agenda Cross Area มากขึ้นจะถือเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ รวมถึงการทำ Multiyear Block Grant ภารกิจของ อว. ในอนาคตจะต้องเชื่อมโยงกับ Agenda Base มีระยะเวลาที่ชัดเจน และหน่วยงานที่อยู่ภายใต้ อว. ยังไม่ถูก Stream Line ยังยึดติดอยู่กับ พ.ร.บ.ของตัวเอง สิ่งที่เป็นจุด missing link คือ Enterprise Based Competitive ตรงนี้จะต้องมีการปรับบทบาทให้หน่วยงานให้ทำงานร่วมกันอย่างชัดเจน แต่ละองค์ประกอบนั้นมันจะต้องมี Division of labor ที่ทำงานภายใต้ Integrated Platform เดียวกัน
สุดท้ายนี้อยากฝากคณะกรรมการที่ดูแลเรื่องนี้ จะมีการ reinvent มหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยต่างๆ ให้มีพลังและทำงานร่วมกันแบบจตุภาคมากกว่านี้ได้อย่างไร
ข่าวโดย : นายจิรายุ รุจิพงษ์วาที
ภาพโดย : นายภูมินทร์ ปั้นเล็ก
วิดีโอโดย : นายสุเมธ บุญเอื้อ
ส่วนสื่อสารองค์กร
กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3728 - 3732 โทรสาร 0 2333 3834
Facebook : @MHESIThailand
Call Center โทร.1313
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.